68 ผลลัพธ์ สำหรับ *พุทธเจ้า*
หรือค้นหา: พุทธเจ้า, -พุทธเจ้า-

Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ฌาณ(n) ฌาณ หรือ อธิจิต(supraconscious) เป็นจิตที่เป็นที่สุดของปัญญา คือความรู้ชัดธรรมชาติของมนุษย์ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(คือความรู้มรรค 8 การคิดปฏิบัติเพื่อดับทุกข์) เป็นจิตที่อยู่เหนือและสามารถ ควบคุมหรือข่ม ได้ทั้งจิตสำนึก(consious) และจิตใต้สำนึก(subconsious) ซึ่งเป็นความรู้ที่สูดของวิญญาณคือความรู้แจ้งของธรรมชาติของมนุษย์ว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข อธิจิตใช้สำหรับดับกิเลส ซึ่งสามารถทำให้เกิดนิมิตขึ้นมาได้ เพื่อดับกิเลสในเวลาที่เกิดกิเลสขึ้น พระผู้มีพระภาค(พระพุทธเจ้า)ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์๑๐. วิตักกสัณฐานสูตรว่าด้วย อาการแห่งวิตก การเรียกอธิจิตของตนเอง ถ้าไม่มีพรสวรรค์หรือบารมีที่สะสมมาแต่ปางก่อน จะเรียกไม่ได้ เพราะจิตยังไม่มั่นคงพอ จะต้องเรียนรู้และทำความเพียรที่ทนได้ยาก ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสามารถที่จะให้คนทั่วไปเรียกอธิจิตของตนเองได้ เช่นให้ผู้ป่วยเรียกอธิจิตของเขาออกมารักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและใจของเขาที่เป็นอยู่ โดยสั่งให้จิตของเขาตกอยู่ในภาวะภวังค์ ด้วยการสั่งระงับจิตหยาบที่ทำให้เขาเกิดโรคทั้งทางกายและทางใจ เพื่อเขาจะได้มีจิตที่มั่นคงถึงอธิจิตแล้วสั่งยาหรือภูมิต้านทานในตัวของเขาออกมารักษาโรค ซึ่งได้ผลดีกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือกวิธีอื่น นี่คือประโยชน์จากการเรียกหรือฝึกเรียกอธิจิตของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าสามารถเรียก Stem cell ในพระวรกายของพระองค์ออกมารักษาโรคได้นานมาแล้วหรือมากกว่า 2554 ปี ส่วนนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบวิธีใช้ Stem cell รักษาบางโรคเมื่อ 50 ปีมานี้เอง การรักษายังมีข้อบ่กพร่องและเงื่อนไขในการรักษาเพื่อจะได้ผลลัพท์จนเป็นที่น่าพอใจของแพทย์อยู่อีกมาก แต่วิธีของพระพุทธองค์ไม่มีเงื่อนไข ถ้าคนป่วยสามารถเรียกอธิจิตของตนเองได้ ข้าพเจ้าได้ใช้อธิจิตรักษา โรคปวดตามอวัยวะและโรคหวัดป่วยของข้าพเจ้าเอง และรักษาโรคปวดและอัมพาลให้กับคนป่วยแล้วหลายราย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจของข้าพเจ้าและของคนป่วย

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
พุทธเจ้า(n) Buddha, See also: Lord Buddha, Syn. พระพุทธเจ้า, พระพุทธ, Example: วัตถุทางศาสนาสร้างขึ้นเพื่อให้รำลึกถึงคุณขององค์พุทธเจ้า, Count Unit: องค์, Thai Definition: นามพระบรมศาสดาแห่งศาสนาพุทธ
พระพุทธเจ้า(n) Buddha, Example: งานปั้นหรืองานแกะสลักในพุทธศาสนามักมีรูปดอกบัวเป็นเครื่องหมายของการประสูติของพระพุทธเจ้า, Count Unit: พระองค์, Thai Definition: คำเรียกศาสดาในพระพุทธศาสนา
ข้าพระพุทธเจ้า(pron) I, Example: ด้วยบารมีพระปกเกล้าฯ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้ารอดอันตรายทุกอย่าง, Thai Definition: เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนตัวผู้พูดกราบทูลเจ้านายชั้นสูงหรือพระเจ้าแผ่นดิน
พระพุทธเจ้าหลวง(n) late King, See also: dead king, Example: กิจกรรมในเส้นทางล่องเรือ, udkiตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5, Count Unit: พระองค์, Thai Definition: คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตแล้ว, Notes: (ราชา)

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้าพระพุทธเจ้า(ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
พระพุทธเจ้าน. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมน. คำขานรับพระมหากษัตริย์.
พระพุทธเจ้าหลวงน. คำเรียกพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตแล้ว, คำเต็มว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง.
พระพุทธเจ้าอยู่หัวน. คำเรียกพระมหากษัตริย์.
กฐิน, กฐิน-(กะถิน, กะถินนะ-) น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร
กรรแสง ๓(กัน-) ก. ร้องไห้ เช่น สมเด็จพระบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔).
กันแสง ๑ก. ร้องไห้, ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง, โบราณเขียนเป็น กรรแสง ก็มี เช่น สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔).
เกตุมาลาน. พระรัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า.
เกศธาตุน. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า.
เขี้ยวแก้วน. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว
ครรภธาตุมณฑลน. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สำแดงให้ปรากฏ.
คันธกุฎีน. ชื่อกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระคันธกุฎี.
จริยาปิฎกน. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก.
จอมไตรน. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ).
จุฑามณีมวยผมของพระพุทธเจ้า
จุฑามณีชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า.
จุฬามณีมวยผมของพระพุทธเจ้า
จุฬามณีชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า.
เจ้า ๑มักใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า
ชักพระน. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
ชาดก(ชา-ดก) น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในพระชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๙ ส่วนของคัมภีร์นวังคสัตถุ-ศาสน์. (ป., ส. ชาตก). (ดู นวังคสัตถุศาสน์ ประกอบ).
ชิน- ๔(ชินะ-, ชินนะ-) น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับคำอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า.
ดับขันธ์ก. ตาย (ใช้แก่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์).
ดำรัส(-หฺรัด) น. คำพูดของพระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธดำรัส, คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส.
ตถาคต(ตะถาคด) น. คำเรียกพระพุทธเจ้า, คำที่พระพุทธเจ้าใช้แทนพระองค์เอง.
ตรัสรู้(ตฺรัดสะ-) ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า)
ตรีกายน. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).
ตรีปิฎกน. ไตรปิฎก, พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก.
ตรีภพนาถน. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี.
ตรีโลกนาถ(-โลกกะนาด) น. ที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายถึง พระพุทธเจ้า.
ตื่นรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในคำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นแล้ว
ไตรปิฎก(-ปิดก) น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ใช้ว่า ตรีปิฎก ก็ได้.
ไตรรัตน์น. แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ, รัตนตรัย ก็เรียก.
ถึง ๑รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ถูปารหบุคคล(-ระหะ-) น. บุคคลที่คู่ควรแก่การนำกระดูกของเขาบรรจุในสถูปไว้บูชา มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
เถรวาท(เถระวาด) น. ลัทธิที่ถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอรหันตเถระรวม ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมไว้ในคราวปฐมสังคายนา, ชื่อนิกายพระพุทธ-ศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า.
ทรมานทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลงด้วยการแผ่เมตตาเป็นต้น เช่น พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคิรี.
ทศชาติน. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
ทศพลน. ผู้มีกำลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า.
ทัสนานุตริยะ(ทัดสะนานุดตะริยะ) น. การเห็นอันประเสริฐยิ่ง เช่น การเห็นพระพุทธเจ้าเป็นทัสนานุตริยะ.
เทววาจิกสรณคมน์(ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้.
ธรรม ๑, ธรรม-, ธรรมะคำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า
ธรรมกายพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า.
ธรรมจักรน. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูปน. คำสอนที่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า, เรียกเต็มว่า สัทธรรมปฏิรูป.
ธรรมราชาน. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, ชื่อหนึ่งของพญายม.
ธรรมสามิสร(-สามิด) น. ผู้เป็นใหญ่ด้วยความเป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า.
ธรรมสามีน. ผู้เป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า.
ธรรมาทิตย์(ทำมา-) น. อาทิตย์แห่งธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า.

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
พระธรรมเทศนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า [ศัพท์พระราชพิธี]
Gautama Buddhaพระพุทธเจ้า [TU Subject Heading]
Little buddha (Motion picture)พระพุทธเจ้ามหาศาสดา--โลกลืมไม่ได้ (ภาพยนตร์) [TU Subject Heading]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กราบพระพุทธเจ้า[krāp Phra Phuttha Jao] (v, exp) EN: prostrate oneself to worship Buddha  FR: se prosterner devant le Bouddha
พระพุทธเจ้า[Phraphutthajao] (n, prop) EN: Lord Buddha  FR: le Bouddha

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Buddha(n) พระพุทธเจ้า, See also: พระพุทธ, ผู้ตรัสรู้, พระพุทธองค์, พระโพธิสัตว์, พระพุทธคุณ, ธรรมาทิตย์, พระศาสดา, ภควันต์

Hope Dictionary
buddha(บูด'ดะ) พระพุทธเจ้า.
butsu(บุท'ชุ) n. พระพุทธเจ้า
gautaman. พระพุทธเจ้า, Syn. Buddha
gautama buddhan. พระพุทธเจ้า, Syn. Buddha
gotaman. พระพุทธเจ้า, Syn. Buddha

Nontri Dictionary
Buddha(n) พระพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระพุทธองค์

Longdo Approved DE-TH
Buddha(n) |der, nur Sg.| พระพุทธเจ้า

Time: 1.4588 secondsLongdo Dict -- https://dict.longdo.com/