กรมพระคลัง | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก |
กรมพระคลัง | เสนาบดีตำแหน่งตามทำเนียบเดิม คือ เจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาโกษาธิบดีฯ หรือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชฯ, ตราประจำตำแหน่ง คือ ตราบัวแก้ว. |
ท้องพระคลัง | น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์. |
กรม ๓ | แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็นกระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). |
กรมท่า ๑ | (กฺรม-) น. กรมพระคลังส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ ต่อมาเพิ่มหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก. (ดู กรมพระคลัง ประกอบ). |
กรมท่ากลาง | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ที่ตั้งขึ้นภายหลังกรมท่าซ้าย กรมท่าขวา ทำหน้าที่รวมงานการติดต่อกับชาติตะวันตกเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา. |
กรมท่าขวา | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย เช่น อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กรมท่าซ้าย | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศกับชาติที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือทางตะวันออกของอ่าวไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กะหลาป๋า ๑ | บางทีเขียนเป็น กาหลาป๋า เช่น มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศ เครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม) |
คลัง ๓ | ดู กรมพระคลัง. |
มนตรีหก | น. ตำแหน่งเจ้ากรมใหญ่จำนวน ๖ กรม ได้แก่ กรมล้อมพระราชวัง กรมพระสุรัสวดี กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมสังฆการีธรรมการ กรมพระอาลักษณ์ และกรมพระภูษามาลา. |
สำนวน | ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม |