เกาะชายผ้าเหลือง | ก. พึ่งพาผลบุญจากผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณร เช่น ถ้ามีลูกชายก็จะได้บวชให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง. |
ผ้าเหลือง | น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด. |
ผ้าเหลืองร้อน | ก. อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร). |
ร้อนผ้าเหลือง | ก. อยากสึก (ใช้แก่ภิกษุสามเณร). |
เห็นชายผ้าเหลือง | มีโอกาสได้จัดการบวชลูกหลานเป็นต้นในพระพุทธศาสนา ถือว่าได้บุญมาก. |
กาสาวพัสตร์ | น. ผ้าย้อมฝาด คือผ้าเหลืองพระ. |
จีวร, จีวร- | (จีวอน, จีวอนระ-) น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว ]. |
ฉุด | ก. ออกแรงดึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแรงให้เข้ามาหาตัว เช่น ฉุดคนที่หกล้มให้ลุกขึ้นมา ฉุดไว้ไม่ให้ไป, โดยปริยายหมายความว่า ถ่วงให้ต่ำลง เช่น คะแนนภาษาอังกฤษฉุดให้คะแนนรวมต่ำลง, หรือดึงให้สูงขึ้น เช่น ได้เกาะชายผ้าเหลืองฉุดขึ้นสวรรค์. |
เถน | น. ชายที่มีอายุ อาศัยอยู่กินที่วัด อาจถือศีลหรือไม่ก็ได้ นุ่งห่มผ้าเหลืองตามแต่จะหาได้ บางคนมีความประพฤติดี บางคนมีความประพฤติไม่เหมาะสม. |