กรรม ๒, กรรม- ๒ | (กำ, กำมะ-) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน. |
กับ ๒ | เป็นคำที่เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หรือมีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน โดยเน้นกิริยานั้นให้ชัดเจนขึ้น เป็นต้นว่า คำหนึ่งบอกเครื่องมือที่กระทำ เช่น ได้ยินมากับหู หรือบอกสถานที่ เช่น นั่งกับพื้น หรือเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น เขาร้ายกับฉัน. |
ข่มขืนกระทำชำเรา | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ชำเราบุคคลอื่น ไม่ว่าผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำจะเป็นชายหรือหญิง และจะเป็นคู่สมรสของตนหรือไม่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น. |
คุณ ๒ | น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทำร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัวหรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทำคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า. |
คุณไสย | น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทำร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัวหรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทำคุณไสย, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณไสย, คุณ ก็ว่า |
ซึ่ง | บ. คำสำหรับนำหน้านามที่เป็นผู้ถูกกระทำ เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม. |
บุคคลที่สาม | ในทางอาญา หมายถึง บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำความผิด แต่บุคคลอื่นนั้นเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบความผิด. |
สกรรมกริยา | (สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล. |