Compton scattering | การกระเจิงแบบคอมป์ตัน, ปรากฏการณ์เมื่อโฟตอนวิ่งชนอิเล็กตรอนของอะตอม แล้วเกิดการกระเจิง โฟตอนที่กระเจิงออกไปจะมีพลังงานลดลงจากเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมของการกระเจิงและมวลของอนุภาคที่ถูกชน ปรากฏการณ์นี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ คือ อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2470 [นิวเคลียร์] |
curie, Ci | คูรี, หน่วยเดิมที่ใช้วัดกัมมันตภาพ 1 คูรี หมายถึง การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 3.7 x 10<sup>10</sup> ครั้งต่อวินาที ซึ่งมาจากอัตราการสลายโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม หน่วยคูรีตั้งขึ้นตามชื่อของแมรี และปีแอร์ คูรี ผู้ค้นพบธาตุเรเดียม เมื่อ พ.ศ. 2441 ปัจจุบันใช้หน่วยเป็น เบ็กเคอเรล แทน โดย 1 คูรี เท่ากับ 3.7 x 10<sup>10</sup> เบ็กเคอเรล [นิวเคลียร์] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Radiocarbon dating | การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี, การหาอายุของวัตถุโบราณโดยหาปริมาณของคาร์บอน-14 เทียบกับคาร์บอนทั้งหมดที่มีอยู่ในวัตถุนั้น วิธีนี้เหมาะสำหรับหาอายุของวัตถุโบราณที่มีอายุสูงสุดประมาณ 100, 000 ปี ดร. ดับเบิลยู. เอฟ. ลิบบี (Dr. W. F. Libby) เป็นผู้ค้นพบวิธีการนี้ <br>(ดู carbon-14 ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
curie | คือ หน่วยเดิมที่วัดอัตราการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 คูรีหมายถึงการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี3.7x1010 ครั้งต่อวินาที หน่วยคูรีนี้มาจากการสลายตัวโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม ปัจจุบันใช้หน่วยเป็นเบ็กเคอเรล โดย 1 คูรี = 3.7x1010เบเคอเรล หน่วยคูรีนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่มารีคูรี ซึ่งเป็นผู้ค้นพบธาตุเรเดียมในปี พ.ศ. 2441 [พลังงาน] |