กระเบียน | ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Ceriscoides turgida (Roxb). Tirveng ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก. |
กราด ๔ | (กฺราด) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dipterocarpus intricatus Dyer ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าเต็งรัง ต้นมียางเหนียว เจาะเอานํ้ามันยางได้, ยางกราด เหียงกราด ตะแบง หรือ สะแบง ก็เรียก. |
การบูรป่า | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Adenosma indiana (Lour.) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า ดอกเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลายยอด, กระต่ายจาม ข้าวคำ หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก. |
เป้ง ๑ | น. ชื่อปาล์ม ๓ ชนิดในสกุล Phoenix วงศ์ Palmae ก้านใบมีหนาม คือ เป้งทะเล ( P. paludosa Roxb.) ขึ้นตามชายทะเล, เป้งดอย ( P. loureiroiKunth) ขึ้นตามป่าดอน, และ เป้งบก ปุ่มเป้ง หรือ ปุ้มเป้ง ( P. acaulis Roxb.) ขึ้นในป่าเต็งรัง. |
รกฟ้า | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Terminalia alata Heyne ex Roth ในวงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง เปลือกให้นํ้าฝาดสีแดงใช้ย้อมสี ใช้ทำยาได้, กอง ก็เรียก. |
pine-dipterocarp forest | ป่าเต็งรังผสมสนเขา [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
deciduous dipterocarp forest | ป่าเต็งรัง, ป่าแดง [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
Deciduous Dipterocarp Forest | ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง, Example: ป่าผลัดใบประเภทหนึ่ง พบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปทั้งที่ราบและที่เขาสูง ดินมักเป็นทราย และลูกรังซึ่งมีสีค่อนข้างแดง บางแห่งจึงเรียกว่าป่าแดง ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มักขึ้นอยู่ในที่ เป็นลูกเนินที่เรียกกันว่าโคก มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นปะปนกัน แต่ไม่แน่นทึบ เพราะดินในป่าชนิดนี้มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมาก พันธุ์ไม้ในป่าจึงเป็นพวกที่ทนทานความแห้งแล้งได้ดี โดยมีลักษณะพิเศษ คือ เนื้อไม้จะแข็งและเปลือกจะหนามาก พันธุ์ไม้ในป่าจึงเป็นพวกที่ทนทานต่อไฟป่าซึ่งเกิดขึ้นทุกปี ธรรมชาติจึงออกแบบให้พันธุไม้ในป่าชนิดนี้มีกำลังแตกหน่อสูง โดยการให้ถูกไฟไหม้เสียก่อน เพราะเมล็ดพันธุ์ไม้จำพวก Dipterocarp จะมีน้ำมันปนอยู่ เมื่อทิ้งไว้นาน น้ำมันในเมล็ดจะทำให้อัตราการงอกต่ำ พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง กราด เป็นต้น ส่วนพื้นล่างของป่าจะไม่รกทึบมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป ดดยเฉพาะหย้าเพ็ด และไผ่ชนิดต่างๆ [สิ่งแวดล้อม] |
ป่าเต็งรัง | [pā tengrang] (n, exp) EN: dry dipterocarp forest |