ปลัด | (n) deputy, See also: administrative assistant, deputy chief, Example: ลูกชายของปลัดวินัย สอบเข้าได้เป็นนายร้อยคนใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้มีตำแหน่งหน้าที่รองจากผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่เหนือตนโดยตรง |
ปลัดขิก | (n) small wooden image of penis, Syn. อ้ายขิก, ขุนเพ็ด, Example: พวกแม่ค้าเชื่อกันว่าถ้าเอาปลัดขิกมาวางไว้ในร้าน จะทำให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะๆ, Count Unit: อัน, Thai Definition: รูปแกะจำลองอวัยวะเพศชาย มักทำด้วยไม้ ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง |
ปลัดอำเภอ | (n) assistant district officer, Example: ปลัดอำเภอที่ดีควรจะทำตัวเข้ากับชาวบ้านได้ง่าย และมีความยุติธรรม ซื่อตรง, Count Unit: คน, Thai Definition: ตำแหน่งทางราชการฝ่ายปกครอง สนับสนุนการทำงานของนายอำเภอ |
ปลัดกระทรวง | (n) permanent secretary, See also: under-secretary of a ministry, under-secretary of state, Example: มีคำสั่งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวงแทนคนที่เกษียนไป, Count Unit: คน, ท่าน |
ปลัดกระทรวง | (n) permanent secretary, See also: under-secretary of a ministry, under-secretary of state, Example: มีคำสั่งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวงแทนคนที่เกษียนไป, Count Unit: คน, ท่าน |
สำนักงานปลัดกระทรวง | (n) Office of the Permanent Secretary |
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี | (n) Office of the Permanent Secretary; Prime Minister Office, Example: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางในการเร่งรัดติดตามส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจกรณีเจ้าหน้าที่ทุจริตในทางการเงิน |
ปลัด | (ปะหฺลัด) น. ผู้มีตำแหน่งหน้าที่รองจากผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่เหนือตนโดยตรง เช่น ปลัดกระทรวง ปลัดจังหวัด |
ปลัด | ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือสมุห์. |
ปลัดขิก | (ปะหฺลัด-) น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ขุนเพ็ด ทองระอา หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กรมการในทำเนียบ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข. |
กรมการอำเภอ | น. คณะพนักงานปกครองซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอ มีหน้าที่ร่วมกันในการดำเนินการให้การปกครองอำเภอเรียบร้อย ในปัจจุบันอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอถูกโอนไปเป็นของนายอำเภอ. |
กิ่งอำเภอ | น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง. |
ขุนศาล | น. ข้าราชการฝ่ายยุติธรรมตำแหน่งปลัดนั่งศาลหรือราชปลัดนั่งศาลต่าง ๆ ในราชธานี อาทิ กรมกลาโหมมีขุนประชาเสพราชปลัดนั่งศาลอาชญานอก กรมวังมีขุนอินอาญาปลัดนั่งศาลอาชญาวัง, ใช้เป็นสำนวนว่า ขุนโรงขุนศาล เช่น กฎให้แก่ขุนโรงขุนศาลผู้พิจารณาเนื้อความทุกหมู่ทุกกรมในกรุงนอกกรุงจงทั่ว (สามดวง), ขุนสาน หรือ ขุนสาร ก็ว่า. |
ขุนเพ็ด | น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ปลัดขิก ทองระอา หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน. |
เครื่องคาด | น. เครื่องรางบางชนิด เช่น ตะกรุด ลูกสะกด ปลัดขิก ใช้ร้อยเชือกสำหรับคาดเอว. |
เค้าสนามหลวง | น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า. |
เจ้ากระทรวง | น. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง. |
ฐานานุกรม | น. ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นสามัญ พระครูปลัด พระครูสมุห์ พระครูใบฎีกา เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป. |
ดอกไม้เจ้า | น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ขุนเพ็ด ทองระอา หรือ ปลัดขิก ก็เรียก. |
ทองระอา | น. ไม้เหลาอย่างรูปของลับชายขนาดต่าง ๆ ใช้เป็นของแก้บนตามศาลเจ้าแม่, ขุนเพ็ด ปลัดขิก หรือ ดอกไม้เจ้า ก็เรียก. |
ปรัศว์ | เรียกอาคาร ๒ หลังที่อยู่ขนานกัน ซึ่งอยู่ต่อท้ายพระที่นั่งที่เป็นประธาน ว่า พระปรัศว์ เช่น ในหมู่พระมหามณเฑียร มีพระที่นั่งเทพสถานพิลาสเป็นพระปรัศว์ขวา พระที่นั่งเทพอาศน์พิไลเป็นพระปรัศว์ซ้าย, โบราณเขียนว่า พระปลัด ก็มี. |
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ | น. ข้าราชการฝ่ายปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งระดับสูงในกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอขึ้นไปถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจที่มียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. |
อง | น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกายชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. |
Permanent Secretary | ปลัดกระทรวง [ ดู Under Secretary of State ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Secretary, Permanent | ปลัดกระทรวง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
sanitary district clerk | ปลัดสุขาภิบาล (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
officer, assistance district | ปลัดอำเภอ (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
assistant district officer | ปลัดอำเภอ (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
municipal clerk | ปลัดเทศบาล (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
manager, city | ผู้จัดการนคร, ปลัดเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
city clerk; clerk, city | ปลัดเทศบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
city manager | ผู้จัดการนคร, ปลัดเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
clerk, county; county clerk | ปลัดเทศมณฑล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
clerk, municipal | ปลัดเทศบาล (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
clerk, sanitary district | ปลัดสุขาภิบาล (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
clerk, city; city clerk | ปลัดเทศบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
county clerk; clerk, county | ปลัดเทศมณฑล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
town clerk | ปลัดเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Under Secretary of State | ปลัดกระทรวง (อังกฤษ) [ ดู Permanent Secretary ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ASEAN-Australia Forum | การประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกๆ 18 - 24 เดือน โดยหัวหน้าคณะ ผู้แทนของออสเตรเลียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ อาวุโส (ปลัดกระทรวงฯ) และเป็นประธานร่วมของการประชุม เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน [การทูต] |
ASEAN-Japan Forum | การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น " เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน " [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
ASEAN Senior Officials on the Environment | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต] |
ASEAN Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อติดตามและเสนอนโยบายด้านการเมือง ความมั่นคง และเรื่องอื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน [การทูต] |
ASEAN-EU Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนกับ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จัดขึ้นทุก 12-18 เดือน เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [การทูต] |
ASEAN-US Dialogue | การประชุมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา " เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ปลัดกระทรวงต่างประเทศ) จัดขึ้นทุก 18 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ " [การทูต] |
ASEAN Senior Officials on Drugs Matter | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวงฯ ที่รับผิดชอบงานด้าน ยาเสพติดของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมปีละครั้ง " [การทูต] |
retreat | การประชุมหารืออย่างเป็นกันเอง ปัจจุบันมีทั้งในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และระดับปลัดกระทรวง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการหารือเป็นการเฉพาะระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ติดตามและไม่มีระเบียบวาระที่แน่นอน แต่จะเปิดกว้างให้มีการหารือได้ในทุก ๆ ประเด็น [การทูต] |
Senior Economic Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้นปีละ 5-6 ครั้ง เพื่อหารือทบทวน และพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน [การทูต] |
Senior Officials Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสระดับปลัดกระทรวง [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |