กระเทียม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม. |
กระวาน ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี ๓ พู มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยา. |
กะทือ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกสีเหลือง ผลกลมสีแดง เหง้าสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ เมื่ออ่อนใช้ปรุงอาหาร ช่อดอกอ่อนใช้เป็นผัก. |
กะปิ | น. ของเค็มทำด้วยเคยกับเกลือโขลกและหมักไว้ ใช้ปรุงอาหาร, เยื่อเคย ก็ว่า. |
กะเพรา | (-เพฺรา) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทำยาได้. |
เกลือแกง | น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายนํ้าได้ มีมากในนํ้าทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในนํ้ากลั่น เรียกว่า นํ้าเกลือ สำหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. |
เกลือจืด | น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทำนาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือเกลือที่ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก. |
ขมิ้น ๑ | (ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น. |
ขมิ้นอ้อย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma zedoaria (Berg.) Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง บางส่วนโผล่พ้นดินขึ้นมา ใช้ปรุงอาหารและทำยา, ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตุมู. |
ข่า ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Willd. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลำต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้. |
เครื่องเทศ | น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจากต่างประเทศสำหรับใช้ทำยาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า. |
เครื่องปรุง | น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้. |
งบ ๒ | น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น แล้วปิ้งไฟ. ก. ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น. |
ซอส | น. เครื่องปรุงรส มีลักษณะเหลวหรือค่อนข้างข้น ใช้จิ้มหรือปรุงอาหารเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น. |
ตะไคร้ | (-ไคฺร้) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ กลิ่นหอม ใช้ปรุงอาหาร. |
เต้าเจี้ยว | น. ถั่วเหลืองที่หมักเกลือ ใช้ปรุงอาหาร. |
ถั่วเน่า | น. ถั่วเหลืองต้มแล้วหมักให้ขึ้นราเล็กน้อย ตำให้ละเอียด ทำเป็นแผ่นบาง ตากแห้ง ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียกว่า ถั่วเน่าแข็บ. |
ทำปลา | ก. ทำปลาให้สะอาดด้วยการขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้พุงออกเป็นต้นให้เหมาะแก่การปรุงอาหาร. |
เทพทารู, เทพทาโร | (เทบพะ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae ใบ เปลือก และราก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, จวง หรือ จวงหอม ก็เรียก. |
น้ำเคย | น. นํ้าที่ได้จากเยื่อเคยหมักทำเป็นกะปิ มีรสเค็ม ใช้ปรุงอาหาร. |
น้ำปลา | น. นํ้าสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาเป็นต้นหมักกับเกลือ. |
น้ำมันมะกอก | น. น้ำมันที่ได้จากผลมะกอก ใช้ปรุงอาหารเป็นต้น. |
น้ำสต๊อก | น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผักต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น. |
น้ำส้มสายชู | น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก. |
ประณีต | ว. ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทำอย่างประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอันประณีต. |
ฝีมือ | น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมีศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์ |
พริกไทย | น. ชื่อไม้เลื้อยชนิด Piper nigrum L. ในวงศ์ Piperaceae ผลมีรสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร และทำยา, ถ้ามีเปลือกหุ้มอยู่เรียกว่า พริกไทยดำ, ถ้าเอาเปลือกออก เรียกว่า พริกไทยล่อน หรือ พริกไทยขาว. |
มะกอก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata (L.f.) Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้, มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก. |
มะขาม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tamarindus indica L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน. |
มะขามเปียก | น. เนื้อมะขามเปรี้ยวที่แก่เกราะ นำมาปั้นเป็นก้อนเก็บไว้ใช้ปรุงอาหาร. |
มะนาว | น. ชื่อไม้พุ่มชนิดCitrus aurantifolia (Christm.) Swingle ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก ๆ รสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร. |
แมงแงว | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Streptocephalidae ขนาดยาว ๑.๘ เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายไรน้ำเค็ม ลำตัวใส มีถุงไข่ที่ท้อง ๑ ถุง ไข่จม กินสาหร่าย พบตามแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนเขตภูเขาในจังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู หนองคาย นำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงอ่อมหรือห่อหมก ตามธรรมชาติเป็นอาหารของสัตว์น้ำ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont. ซึ่งมีหางสีแดงเข้ม, แมงหางแดง แมงอ่อนช้อย หรือ ไรน้ำจืด ก็เรียก. |
ส้มมะขาม | น. เนื้อในมะขามเปรี้ยวที่แก่จัด ซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยว, ถ้าปั้นเป็นก้อนเรียก มะขามเปียก. |
สายชู | น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร เรียกว่า นํ้าส้มสายชู, นํ้าส้ม ก็เรียก. |
เสน่ห์ปลายจวัก | น. เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส. |
หอม ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอม หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียก หอมแดง. |
เหม็น ๒ | น. ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น. |
alec | (แอล' ลิค) n. ปลา herring, เครื่องปรุงอาหารที่ผสมปลา herring |
cook | (คุค) { cooked, cooking, cooks } vt. ปรุงอาหาร, หุงต้ม, ทำอาหาร, ทำกับข้าว, ปรุงอาหาร, ทำเท็จ, ปลอม vi. ทำหรือปรุงอาหารด้วยความร้อน, เกิดขึ้น, บังเกิดขึ้น -Phr. (cook up กุเรื่อง) n. คนครัว, คนที่ปรุงอาหารเก่ง |
cookbook | (คุค'บุค) n. ตำรากับข้าว, ตำราปรุงอาหาร, Syn. cookery book |
cookery | (คุด'เคอรี) n. ศิลปะหรือวิธีการปรุงอาหาร |
cookhouse | (คุด'เฮ้าซฺ) ห้องครัว, ห้องปรุงอาหาร, ห้องครัวในเรือ |
recipe | (เรส'ซะพี) n. ตำรับ, ตำรับยา, ใบสั่งแพทย์, วิธีปรุงอาหารหรือปรุงยา, วิธีการบรรลุเป้าหมาย, เคล็ดลับ, วิธีการ |
casserole | (n) หม้อปรุงอาหาร, หม้ออบ, หม้อตุ๋น |
cook | (vi, vt) ทำอาหาร, ทำกับข้าว, ปรุงอาหาร, ประกอบอาหาร |
cookery | (n) การปรุงอาหาร, การทำกับข้าว, การหุงต้ม, วิธีการปรุงอาหาร |
cooking | (n) การปรุงอาหาร, การทำกับข้าว, การหุงต้ม, การประกอบอาหาร |
cuisine | (n) ครัว, ห้องครัว, การปรุงอาหาร, การทำอาหาร, การทำกับข้าว, การครัว |
culinary | (adj) เกี่ยวกับการปรุงอาหาร, เกี่ยวกับการทำอาหาร, เกี่ยวกับการครัว |