ประชาธิปไตย | (n) democracy, Syn. ระบบประชาธิปไตย, Example: การมีผู้นำแบบเลือกตั้งเป็นที่นิยมเพราะเป็นวิถีทางของประชาธิปไตย, Thai Definition: ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ |
ระบอบประชาธิปไตย | (n) democracy, See also: democratic system, Ant. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ระบอบราชาธิปไตย, Example: ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย, Thai Definition: ระบอบการปกครองที่ถือมติของประชาชนเป็นใหญ่ |
ลัทธิประชาธิปไตย | (n) democracy |
ความเป็นประชาธิปไตย | (n) democratization, Ant. คอมมิวนิสต์, เผด็จการ, Example: ประเทศไทยดำรงความเป็นประชาธิปไตยมาช้านาน |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | (n) People's Democratic Republic of Laos, See also: Laos, Syn. ประเทศลาว, ลาว, Example: คนไทยกับคนที่อยู่ในอาณาจักรล้านช้างในอดีตหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ล้วนเป็นกลุ่มคนที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน, Thai Definition: ชื่อประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน |
Democracy | ประชาธิปไตย [TU Subject Heading] |
Democratization | การพัฒนาประชาธิปไตย [TU Subject Heading] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Francophonie (International Organization of the Francophony) | องค์การระหว่างประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่าง ๆ เน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นสื่อกลาง และส่งเสริมความร่วมมือพหุพาคีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโก โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา โดมินิกา เฮติ เซนต์ลูเซีย เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน เคปเวิร์ด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส สาธารณรัฐคองโก โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ อิเควทอเรียลกินี กาบอง กินี กินีบิสเซา มาดากัสการ์ มาลี มอริเตเนีย มอริเซียส โมร็อกโก ไนเจอร์ รวันดา เซาตูเมและปรินซิปี เซเนกัล เชเชลส์ โตโก ตูนีเซีย กัมพูชา ลาว เลบานอน เวียดนาม วานูอาตู แอลเบเนีย มาซิโดเนีย สาธารณรัฐเช็ก ลิทัวเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐโลวีเนีย และโปแลนด์) และ 3 มลรัฐ [ แคนาดา-นิวบรันสวิก แคนาดา- ควิเบก และชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (French Community in Belgium) ] [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Southern African Development Community | ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 ประกอบด้วย 14 ประเทศ คือ อังโกลา บอตสวานา เลโซโธ มาลาวี มอริเชียส โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย ซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเซเชลส์ " [การทูต] |
Democracy | ประชาธิปไตย [การแพทย์] |
Democratic | แบบประชาธิปไตย [การแพทย์] |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | [Anusāwarī Prachāthippatai] (n, prop) EN: Democracy Monument |
จรรโลงประชาธิปไตย | [janlōng prachāthippatai] (v, exp) EN: promote democracy FR: promouvoir la démocratie |
การปฏิรูปประชาธิปไตย | [kān patirūp prachāthippatai] (n, exp) EN: democratic reforms FR: réformes démocratiques [ fpl ] |
เกี่ยวกับประชาธิปไตย | [kīokap prachāthippatai] (adj) EN: democratic FR: démocratique |
กลุ่มจับตาประชาธิปไตย | [klum japtā prachāthippatai] (n, exp) EN: watchdog FR: observateurs [ mpl ] |
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน | [Klum Prachāthippatai Raēng-ngān] (org) EN: Workers Democracy Group |
แนวร่วมประชาธิปไตย | [Naēoruam Prachāthippatai] (org) EN: United Front of Democracy Against Dictatorship (UDD) |
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย | [Phanthamit Prachāchon Pheūa Prachāthippatai] (org) EN: People's Alliance for Democracy (PAD) FR: Alliance du Peuple pour la Démocratie (PAD) |
ประชาธิปไตย | [prachāthippatai] (n) EN: democracy FR: démocratie [ f ] |
ประชาธิปไตยรวมศูนย์ | [prachāthippatai rūam sūn] (n, exp) EN: centralized democracy |
ประชาธิปไตยทางตรง | [prachāthippatai thāng trong] (n, exp) EN: direct democracy FR: démocratie directe [ f ] |
ประชาธิปไตยตัวแทน | [prachāthippatai tūathaēn] (n, exp) EN: representative democracy FR: démocratie représentative [ f ] |
ระบบประชาธิปไตย | [rabop prachāthippatai] (n, exp) FR: régime démocratique [ m ] ; système démocratique [ m ] |
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข | [rabøp prachāthippatai an mī phramahākasat pen pramuk] (n, exp) EN: constitutional monarchy FR: monarchie constitutionnelle [ f ] |
สนับสนุนประชาธิปไตย | [sanapsanun prachāthippatai] (v, exp) EN: stand up for democracy FR: défendre la démocratie ; soutenie la démocratie |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | [sāthāranarat prachāthippatai] (n, exp) FR: république démocratique [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | [Sāthāranarat Prachāthippatai Prachāchon Lāo] (n, prop) EN: People's Democratic Republic FR: République populaire [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย | [Sāthāranarat Prachāthippatai Prachāchon Aēljirīa] (n, prop) EN: People's Democratic Republic of Algeria FR: République algérienne démocratique et populaire [ f ] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | [Sāthāranarat Prachāthippatai Prachāchon Lāo] (n, prop) EN: People's Democratic Republic of Laos FR: République populaire démocratique du laos [ f ] |
constituent | (n) ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย |
democracy | (n) การปกครองแบบประชาธิปไตย, See also: ระบอบประชาธิปไตย, ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธปไตย, Syn. republic commonwealth |
democracy | (n) ประชาธิปไตย, See also: ความเป็นประชาธิปไตย, Syn. citizentry egalitarianism |
democrat | (n) นักประชาธิปไตย, See also: ผู้นิยมการปกครองในระบบประชาธิปไตย, Syn. independent, populist |
democratic | (adj) เกี่ยวกับประชาธิปไตย, See also: เกียวกับความเสมอภาค, Syn. egilitarian |
democratically | (adv) อย่างเป็นประชาธิปไตย, See also: อย่างเสมอภาค, Syn. equally |
democratism | (n) ความเห็นเป็นประชาธิปไตย |
democratization | (n) การทำให้เป็นประชาธิปไตย |
democratize | (vi) กลายเป็นประชาธิปไตย, Syn. equalize |
democratize | (vt) ทำให้เป็นประชาธิปไตย, Syn. equalize |
jackboot | (n) การปกครองที่โหดเหี้ยมและไม่เป็นประชาธิปไตย |
democracy | (ดิมอค'ระซี) n. ประชาธิปไตย, ความเสมอภาคของสังคม |
democrat | (เดม'มะแครท) n. ผู้นิยมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, สมาชิกพรรคเดมโมแครท |
democratic | (เดมมะแครท'ทิค, เคิล) adj. เกี่ยวกับประชาธิปไตย, เกี่ยวกับความเสมอภาคของสังคม |
democratical | (เดมมะแครท'ทิค, เคิล) adj. เกี่ยวกับประชาธิปไตย, เกี่ยวกับความเสมอภาคของสังคม |
democratise | (ดิมอค'คระไทซ) vt., vi. ทำให้กลายเป็นประชาธิปไตย., See also: democratisation n. ดูdemocratize democratization n. ดูdemocratize, Syn. self-rule |
democratize | (ดิมอค'คระไทซ) vt., vi. ทำให้กลายเป็นประชาธิปไตย., See also: democratisation n. ดูdemocratize democratization n. ดูdemocratize, Syn. self-rule |