ประคอง | (v) support, See also: handle gently, help, prop up, carry carefully, Syn. พยุง, ประคับประคอง, Example: เขาพยายามประคองตัวโงนเงนลุกขึ้น, Thai Definition: พยุงให้ทรงตัวอยู่ ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม |
ประคองตัว | (v) sustain oneself, See also: come through, support oneself, lift oneself up by (his) footstraps, Example: รัฐบาลพยามประคองตัวให้ผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ, Thai Definition: ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี |
ประคองตัว | (v) reinvigorate oneself, See also: support oneself, stand on one's feet, Example: เขาพยายามประคองตัวโงนเงนลุกขึ้น, Thai Definition: พยุงให้ทรงตัวอยู่ |
ประคับประคอง | (v) support, See also: foster, sustain, help, prop up, maintain, Syn. พยุง, ทะนุถนอม, จุนเจือ, ช่วยเหลือ, เกื้อหนุน, เกื้อกูล, Ant. ละเลย, ทอดทิ้ง, Example: พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จะประคับประคองรัฐบาลให้ผ่านมรสุมการเมืองที่ยุ่งยากที่สุดในรอบสองปีนี้ไปได้ |
ประคอง | ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป |
ประคอง | โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี. |
ประคับประคอง | ก. คอยระมัดระวังพยุงไว้, คอยบำรุงรักษา, ทะนุถนอมอย่างดี. |
กระแตเวียน | น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบนสอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะประคองตัวหัดเดิน. |
กรับเสภา | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน มี ๔ ด้าน ด้านหนึ่งโค้งสำหรับกระทบให้เกิดเสียง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ขยับประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ประคองไว้ในอุ้งมือข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันให้สอดคล้องกับท่วงทำนองขับ, กรับขยับ ก็ว่า. |
ชระลอ | (ชะระ-) ก. ชะลอ, พยุงให้เคลื่อนไป, ประคองไว้. |
ชะลอ | ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป, เช่น ชะลอต้นไม้ใหญ่มาปลูก, ค่อย ๆ พยุงขึ้นให้ตรง เช่น สุครีพชะลอเขาไกรลาศ |
ตกแสก | ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม) เช่น งามโศกตกแสกเมื่อยามเศร้า ปิ้มประหนึ่งจะเข้าประคองขวัญ (ขุนช้างขุนแผน). |
ตระอร | ประคับประคอง เช่น อุษากำสรดกล่าว คดีโดยดั่งสมสอง ชายหนึ่งมาลอบลอง ในราตรีตระอรอร (อนิรุทธ์), เกื้อกามตระอร (กฤษณา). |
ต่อมือ | ก. ยื่นมือขวาออกไปรับของ โดยมือซ้ายประคองแขนขวา (ใช้แก่กิริยาที่ผู้น้อยทำต่อผู้ใหญ่ หรือฆราวาสชายทำต่อภิกษุเพื่อแสดงความนอบน้อม). |
ตาลปัตรบังเพลิง | (-เพฺลิง) น. ตาลปัตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพัดยศของพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ ตรงกลางเว้นช่องว่างไว้ใส่ตะเกียงหรือโคมไฟ ปักตั้งรายรอบพระเมรุชั้นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง มีรูปเทวดานั่งคุกเข่าประคองโคนด้ามตาลปัตร, ตาลิปัตรบังเพลิง ก็เรียก. |
ถนอม | (ถะหฺนอม) ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. |
ท้วง | พยุง, ประคอง, พา, เคลื่อนไหว, เช่น ท้วงตนหนีไปได้. |
ทะนุถนอม, ทะนุกถนอม | ก. คอยระวังรักษา, คอยประคับประคอง. |
ปฐมเทศนา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมายสำคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทำท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง. |
ประคิ่น, ประคิ่นวินชา | ก. ประจง, ค่อย ๆ ทำให้เรียบร้อย, ประคอง. |
ประเคราะห์ | ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. |
ปะทะปะทัง | ก. พยุงไว้, ทานไว้, ประคองไว้. |
พยุง | (พะยุง) ก. ประคองให้ทรงตัวอยู่, ประคองให้อยู่ในสภาพปรกติ, เช่น พยุงตัวลุกขึ้น พยุงตัวไม่ให้จมน้ำ, ระวังไม่ให้ล้มไม่ให้ซวนเซเป็นต้น เช่น พยุงลุก พยุงนั่ง พยุงคนไข้ พยุงฐานะ, (ปาก) พยุพยุง ก็ว่า. |
พยุงปีก | ก. ประคองแขนพยุงไปด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งโอบรอบหลังไปสอดใต้รักแร้ของผู้ถูกพยุง. |
ฟักฟูม | ก. ทะนุถนอม, ประคับประคอง, ฟูมฟัก ก็ว่า. |
ฟูมฟัก | ก. ทะนุถนอม, ประคับประคอง, เช่น พ่อแม่ฟูมฟักลูก, ฟักฟูม ก็ว่า. |
เลี้ยง | ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ |
เลี้ยงตัว | อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการพลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด. |
เลี้ยงน้ำใจ | ก. ถนอมน้ำใจ, ประคับประคองไว้ไม่ให้เสียน้ำใจ. |
โลม ๑ | ก. ทำอาการประคองลูบให้รู้สึกว่าเอ็นดูรักใคร่เป็นต้น. |
อุ้มชู | ก. ประคับประคอง, เลี้ยงดูอย่างยกย่อง. |