ชาน ๑ | น. กากอ้อยที่เคี้ยวหรือหีบเอาน้ำหวานออกหมดแล้ว, กากหมากพลูที่เคี้ยวกินจนจืด. |
ตาล | (ตาน) น. ชื่อปาล์มชนิด Borassus flabellifer L. ในวงศ์ Palmae ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ต้นเพศผู้ออกดอกเป็นงวง ต้นเพศเมียออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย ภายในผลมีเมล็ดเรียกว่าเต้า น้ำหวานที่ออกจากงวงของต้นเพศผู้ เรียกว่า น้ำตาลสด ใช้ทำน้ำตาลได้ ตอนหัวของผลอ่อน เรียกว่า หัวตาล ต้มแกงกินได้ เมื่อเต้ายังอ่อน เรียกว่า ลอนตาลหรือตาลเฉาะ เนื้อในนิยมกินสดหรือกินกับนํ้าเชื่อม จาวที่เกิดจากเมล็ดแก่ที่งอกแล้ว เรียกว่า จาวตาล เชื่อมกินได้, ตาลโตนด ก็เรียก |
ตีผึ้ง | ก. หาผึ้ง โดยวิธีเอาควันรมแล้วตัดคอนหรือปาดเอาหัวน้ำหวานที่คอนลงมา |
น้ำแข็งกด | น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่งแล้วเสียบไม้ ราดน้ำหวาน. |
ยุง | น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลำตัวยาว ๓-๖ มิลลิเมตร มีปีก ๑ คู่ ปีกมีส่วนคล้ายเกล็ดปกคลุมอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไปถึงหัวและลำตัวด้วย หนวดยาวลักษณะเป็นพู่ พู่ขนของเพศเมียสั้น ของเพศผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เฉพาะตัวเมียดูดกินเลือดและเป็นพาหะนำโรคสู่คนและสัตว์ เพศผู้ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ เช่น ยุงรำคาญ ในสกุล Culex ยุงลาย ในสกุล Aedesยุงก้นปล่อง ในสกุล Anopheles. |
หวานเย็น | น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิเป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. |
เหลือบ ๑ | (เหฺลือบ) น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวันแต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมีลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ปากมีอวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีด และมีอวัยวะเป็นท่อใช้ดูดของเหลวกิน เพศเมียดูดกินเลือดคนและสัตว์ เพศผู้ดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ บางชนิดเป็นพาหะนำโรคโดยเฉพาะในสัตว์ใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. |