61 ผลลัพธ์ สำหรับ *นารายณ์*
หรือค้นหา: นารายณ์, -นารายณ์-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
พระนารายณ์(n) Narayana, See also: Hindu god Vishnu, Example: การเกิดครั้งนี้เป็นการแสดงอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์, Count Unit: องค์, Thai Definition: ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
นารายณ์น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์.
นารายณ์ทรงเครื่องน. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ โดยให้ ๒ จังหวะแรกใช้พยัญชนะเสียงซ้ำ ๒ ตัว และ ๒ จังหวะหลังใช้พยัญชนะเสียงอื่นซ้ำกัน ๒ ตัวในลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาดลอย (ศิริวิบุลกิตติ์).
นารายณ์ประลองศิลป์น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๙ คำ แบ่งเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ แต่ละจังหวะให้ขึ้นต้นด้วยการซ้ำคำเดิม และ ๒ คำหลังให้สัมผัสเสียงพยัญชนะกันทั้ง ๓ จังหวะ ส่วน ๒ คำหลังของ ๒ จังหวะแรกให้ใช้เสียงสระเดียวกันเฉพาะแต่ละจังหวะ เช่น ระรื่นชื่นระรวยชวยระเริงฉาว จนข่าวหนาวจนเคืองเนื่องจนเขาหนี ทำซื่อดื้อทำสู้ดูทำสิ้นดี อารีชีอารอบชอบอารมณ์ชาย (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ).
นารายณ์หัตถ์น. ไม้เกาหลัง, ฉลองได หรือ สนองได ก็เรียก.
ศรนารายณ์น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Agave sisalana Perrine ในวงศ์ Agavaceae ใบใหญ่หนาและแข็ง ปลายเป็นหนามแหลม ใบให้ใยใช้ทำสิ่งทอได้, สับปะรดเทศ ก็เรียก.
กมเลศพระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
กสานติ์(กะ-) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องนํ้าใจกสานติ์ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้.
กูรมาวตาร(-วะตาน) น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์.
เกศพ, เกศวะ(-สบ, เกสะวะ) ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์.
เกษียรสมุทรน. ทะเลนํ้านม, ที่ประทับของพระนารายณ์.
ไกพัล(ไกพัน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ครุฑ(คฺรุด) น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ.
จตุรภุช(-พุด) ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
จักร, จักร-(จัก, จักกฺระ-) น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียกเครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุน ว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า
จักรปาณิ, จักรปาณีน. ผู้มีจักรในมือ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์.
จักริน, จักรี(จักกฺริน, จักกฺรี) น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชา ตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร.
จัตุรภุชว. จตุรภุช, “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
จินดามณีชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์.
ฉลองไดน. ไม้เกาหลัง, นารายณ์หัตถ์ หรือ สนองได ก็เรียก.
ฉ่า ๑เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ชปโยค(ชะปะโยก) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
ตรีมูรติน. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย).
ตรีปวาย(ตฺรีปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่.
ทรงถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม
ธงครุฑพ่าห์(-คฺรุดพ่า) น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่(-คฺรุดพ่า) น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
ธราธร, ธราธารน. ผู้ทรงไว้ซึ่งแผ่นดิน คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์.
นรสิงห์(นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ มีหน้าเป็นสิงห์ตัวเป็นมนุษย์.
เบิกหน้าพระก. ทำพิธีบูชาเทพยดา ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระครูฤๅษีก่อนแสดงหนังใหญ่.
แบ่งภาคก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลายร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็นคำเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่งภาคไปทำได้.
ปาง ๑น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง
ผสาย(ผะ-) ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
พระใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ
มหิธรชื่อหนึ่งของพระนารายณ์
เมฆฉาย(เมก-) น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี (ขุนช้างขุนแผน)
ไม้เกาหลังน. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได สนองได หรือ นารายณ์หัตถ์.
ยกเมฆก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา (ขุนช้างขุนแผน)
ยุคทองน. ช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรือง เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยยุคหนึ่ง.
ลักษมีชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์.
วามนาวตาร(วามะนาวะ-) น. อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์.
วาสุเทพ ๑น. ชื่อพระนารายณ์ปางพระกฤษณะ.
วิษณุ(วิดสะนุ) น. พระนารายณ์.
วิษณุมนตร์น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุเวท ก็ว่า.
วิษณุโลกน. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า.
วิษณุเวทน. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุมนตร์ ก็ว่า.
ไวกูณฐ์น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์ (มัทนะ). (ส.)
ไวกูณฐ์พระนารายณ์ที่แบ่งภาคลงมา เช่น ซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ไวษณพ(ไวสะนบ) น. ชื่อนิกายหนึ่งในศาสนาฮินดู นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์ว่าเป็นใหญ่กว่าเทพใด ๆ ในกลุ่มตรีมูรติ.
สนองไดน. ไม้เกาหลัง, นารายณ์หัตถ์ หรือ ฉลองได ก็เรียก.
สังขกร(สังขะกอน) น. ผู้มีสังข์อยู่ในมือคือ พระนารายณ์.

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Narayana (Hindu deity)พระนารายณ์ [TU Subject Heading]
Narayana (Hindu deity) in literatureพระนารายณ์ในวรรณกรรม [TU Subject Heading]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์(มหาราช)[nai ratchasamai Somdēt Phra Nārāi (Mahārāt)] (xp) EN: during the reign of King Narai ; during King Narai's reign
นารายณ์[Nārāi] (n, prop) EN: Narayana ; Rama
งูศรนารายณ์[ngū sønnārāi] (n, exp) EN: Blue Long-glanded Coral Snake ; Blue Malaysian Coral Snake
พระนารายณ์[Phra Nārāi] (n, prop) EN: Narayana ; Narayan
โรงแรมนารายณ์[rōngraēm Nārāi] (tm) EN: Narai Hotel  FR: hôtel Narai [ m ]
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช[Somdēt Phra Nārāi Mahārāt] (n, prop) EN: King Narai  FR: roi Narai [ m ]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Vishnu(n) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (ศาสนาฮินดู)

Hope Dictionary
vishnu(วิ?'นู) n. (ศาสนาฮินดู) พระวิษณุหรือพระนารายณ์. -Vishnuism n.

Time: 0.0228 seconds, cache age: 1.463 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/