ทุด | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจ ติเตียน หรือดูถูก. |
กายทุจริต | (กายยะทุดจะหฺริด, กายทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑. |
ทุจริต | (ทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. |
ทุจริต | (ทุดจะหฺริด) ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. |
ทุจริต | (ทุดจะหฺริด) ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. |
ทุษฐ- | (ทุดถะ-) ก. ประทุษร้าย. |
ทุษฐจิต | (ทุดถะจิด) น. จิตที่คิดประทุษร้าย. |
ทุส-, ทุสสะ | (ทุดสะ-) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. |
ทุสสีล | (ทุดสีน) ว. ทุศีล. |
ธุช | (ทุด) น. ธง. |
ธุดงควัตร | (ทุดงคะวัด) น. กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทำ. |
ธุดงคสมาทาน | (ทุดงคะสะมาทาน) น. การถือธุดงค์. |
ธุตตะ | (ทุด-) น. นักเลง. |
ประทุฐจิต | (ปฺระทุดถะจิด) น. จิตร้าย, จิตโกรธ. |
ประทุษร้าย | (ปฺระทุดสะ-) ก. ทำให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทำให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน. |
ประทุษฏจิต, ประทุษฐจิต | (ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด) น. จิตร้าย, จิตโกรธ. |
มโนทุจริต | (มะโนทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ๑. |
วจีทุจริต | (วะจีทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑. |