กลั่นกรอง | ก. คัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ. |
ขวัญตา | น. มิ่งขวัญดวงตา, สิ่งที่เห็นเป็นที่เจริญตา. |
ขอบฟ้า | น. แนวที่เห็นเสมือนฟ้าจดกับแผ่นดินหรือทะเล, โดยปริยายหมายถึงไกลมากจนประมาณระยะทางไม่ได้. |
ควัน | (คฺวัน) น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดำหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่กำลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น |
ความเห็น | น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ. |
งาม | ว. ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม |
เงามัว | ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบบริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส. |
เงินทดรองราชการ | น. เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่าย |
ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
ดวง | น. คำเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ |
ดาว ๑ | น. สิ่งที่เห็นเป็นดวงเล็ก ๆ มีแสงในท้องฟ้าเวลามืด เช่น ดาวประจำเมือง ดาวเหนือ |
ดาวประกายพรึก | น. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด, ดาวรุ่ง ก็เรียก. |
ดาวประจำเมือง | น. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาหัวค่ำ. |
ดาวรุ่ง | น. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด, ดาวประกายพรึก ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีชื่อเสียงเด่นขึ้นมาใหม่ เช่น ดาราคนนี้เป็นดาวรุ่งของวงการบันเทิง. |
ดุลพินิจ | (ดุนละ-, ดุน-) น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้. |
ดุลยพินิจ | น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลพินิจ ก็ใช้. |
ตะคุ่ม, ตะคุ่ม ๆ | ว. ที่เห็นเป็นเงาดำ ๆ เพราะอยู่ในที่ที่แสงไม่พอหรือในระยะที่เห็นไม่ชัด. |
ตาพร่า | ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. |
ตาไว | ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น เขาตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถผ่านไปแว่บเดียวก็จำได้. |
ทรรศนะ | (ทัดสะนะ) น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทัศนะ ก็ใช้. |
ทะลุปรุโปร่ง | ว. อาการที่เห็นหรือเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งโดยตลอด. |
ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา | (ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-) น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. |
ทิฐธรรม | น. “ธรรมทันตาเห็น”, ความเป็นไปที่เห็นในชาตินี้. |
ทิฏฐานุคติ | น. แนวทางตามที่เห็นที่ยึดถือเป็นแบบอย่างได้. |
แนวป่า | น. ชายป่าที่เห็นเป็นทิวยาวไป. |
แนวเรือ | น. รอยต่อของกระดานเรือที่เห็นเป็นทางยาวไป. |
บัวบังใบ | น. หน้าอกผู้หญิงที่เห็นรำไร. |
บ้าสมบัติ | ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด |
ประกาย | น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็งบางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้นกระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยายหมายถึง แสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจากกระเบื้องหลังคาโบสถ์. |
ประกายพรึก | (ปฺระกายพฺรึก) น. ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวประกายพรึก, ดาวรุ่ง ก็เรียก, ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง. |
ประจำเมือง | น. ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. |
ปริญญา | ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กำหนดไว้, ถ้าประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. |
มติมหาชน | น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. |
เยิ้ม | โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เห็นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นัยน์ตาเยิ้ม. |
ร่า | เปิดเต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า. |
รำไร | อาการที่เห็นไม่ชัดเต็มที่เพราะอยู่ในระยะไกลหรือมีอะไรบังเป็นต้น เช่น เห็นกระท่อมรำไรอยู่ในหมู่ไม้. |
รุ่ง | น. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง, เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง, ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด, เรียกว่า ดาวรุ่ง, ดาวประกายพรึก ก็เรียก, ถ้าเห็นในเวลาหัวค่ำ เรียกว่า ดาวประจำเมือง. |
รูปเงา | น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูปที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน. |
รูปทรง | สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อนหรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด. |
รูปร่าง | สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอกเป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น. |
ลิ่ว ๒ | ว. อาการที่เห็นไกลลิบหรือสูงลิบ เช่น เรืออยู่ไกลลิ่ว ภูเขาสูงลิ่ว. |
เล็ม | ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บแต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า. |
ว็อบแว็บ, ว็อบ ๆ แว็บ ๆ | ว. อาการที่เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เช่น วันนี้โทรทัศน์ไม่ดี เห็นภาพว็อบแว็บหลายตอน. |
วิจักขณ์, วิจักษณ์ | ว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชำนาญ. |
แวม ๆ, แว็ม ๆ | ว. ลักษณะของแสงที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่เรือง ๆ ไร ๆ เช่น แสงของพรายน้ำแวม ๆ ในความมืด. |
สะดุดตา | ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตาจริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล. |
เสาร์ | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๖ ในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑, ๔๒๗ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตร ๑๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตร มีวงแหวนล้อมรอบที่เห็นได้ในกล้องโทรทรรศน์. |
หนาตา | ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ. |
อล่างฉ่าง | (อะหฺล่าง-) ว. ที่เห็นจะแจ้ง, ที่เห็นเต็มที่, ที่เห็นเด่น, ที่เปิดเผย. |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
Agnosia | อาการมองเห็นสิ่งของแต่ไม่รู้จักสิ่งของที่เห็น, แอ็กโนเสีย [การแพทย์] |
Agnosia, Visual | จำสิ่งของที่เห็นไม่ได้, มองวัตถุที่เห็นแล้วไม่รู้ว่าเป็นอะไร, แอ็กโนเสียเกี่ยวกับการเห็น [การแพทย์] |
Blood, Gross | เลือดที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า [การแพทย์] |
Constancy of Shape | การจำรูปร่างของสิ่งที่เห็นครั้งแรก [การแพทย์] |
Curvature of Field | ภาพที่เห็นโค้ง [การแพทย์] |
Descriptions, Gross | การบรรยายลักษณะของสิ่งส่งตรวจที่เห็นด้วยตาเปล่า [การแพทย์] |
Figure-Ground Relationship | ความสัมพันธ์ของรูปร่างที่เห็น [การแพทย์] |
magnifying power | กำลังขยาย, การวัดขอบเขตของอุปกรณ์ทางแสงในการขยายหรือลดขนาดของภาพ กำลังขยายของอุปกรณ์ใดหาได้จากอัตราส่วนของขนาดภาพที่เห็นต่อขนาดวัตถุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Lesions, Hill-Sach | รอยขรุขระที่เห็นในภาพรังสีที่ด้านหลังเฉียงในของ [การแพทย์] |
Light, Visible | แสงที่มองเห็นได้, แสงในเขตที่มองเห็นด้วยตา, แสงที่เห็นได้ [การแพทย์] |
Macroscopic Appearance | ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า [การแพทย์] |
Macroscropic Features | ลักษณะที่เห็นจากภายนอก [การแพทย์] |
Microscopic Characteristics | ลักษณะที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์ [การแพทย์] |
Minute Traces | เลือดที่เห็นทางกล้องจุลทรรศน์ [การแพทย์] |
Mirror Image | ภาพสะท้อนกลับในกระจกเงา, ลักษณะที่เห็นจากกระจกเงา, ภาพในกระจกเงา, เงากระจก [การแพทย์] |
Mortise View | การถ่ายภาพรังสีที่เห็นช่องข้อเท้าด้านหน้า-หลัง [การแพทย์] |
abolitionist | (n) ผู้ที่เห็นด้วยกับการเลิกทาส |
according | (adj) ที่ยอมรับร่วมกัน, See also: ที่เห็นด้วย, ที่เห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreeing |
altruist | (n) ผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง, Syn. donor, humanist, saint |
anarchism | (n) ลัทธิที่เห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรมีกฎหมายหรือรัฐบาล |
annular eclipse | (n) สุริยคราสที่เห็นเป็นวงแหวนรอบพระจันทร์ |
at first glance | (idm) แวบแรกที่เห็น, See also: ครั้งแรกที่เห็น |
careerist | (n) ผู้ที่เห็นความสำเร็จของงานเหนือสิ่งอื่นใด |
clearsighted | (adj) ที่เห็นได้ชัดเจน, Syn. keen-eyed, keen-sighted |
commonplace | (n) สิ่งที่เห็นได้บ่อยๆ, See also: สิ่งที่เห็นได้ทั่วไป |
concurrent | (adj) ที่เห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreeing, harmonious |
consensual | (adj) ที่เห็นร่วมกัน, See also: ที่ยอมรับร่วมกัน, Syn. mutual consent |
conspicuous | (adj) ที่เห็นได้ชัดเจน, Syn. obvious |
do a double take | (idm) มองดูซ้ำให้แน่ใจว่าสิ่งที่เห็นเป็นจริง (คำไม่เป็นทางการ) |
effect | (n) ความรู้สึกที่เกิดขึ้น, See also: ความรู้สึกจากสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน |
egocentric | (n) ผู้ที่เห็นแก่ตัว, See also: ผู้ที่ถือเอาประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่, Syn. egoist, egotistic |
flag | (vt) ใส่เครื่องหมาย (บนหน้ากระดาษ, การ์ด) ที่เห็นว่าสำคัญ, Syn. mark, indicate, note |
flagrant | (adj) ที่ปรากฏชัด, See also: ชัดๆ, ที่เห็นได้ชัด, Syn. obvious, glaring, blatant, Ant. obscure, latent |
hog | (n) คนที่เห็นแก่ตัว, See also: คนที่ละโมบโลภมาก |
in the light of | (idm) ตามความจริง, See also: เนื่องจากสิ่งที่เห็น |
on the face of it | (idm) อย่างผิวเผิน, See also: อย่างไม่จริงจัง, เท่าที่เห็น |
road-hog | (idm) คนขับรถที่ไม่ระมัดระวัง, See also: คนขับรถที่เห็นแก่ตัว |
marked | (adj) ชัดเจน, See also: ที่เห็นได้ชัดเจน, โดดเด่น, Syn. noticeable, Ant. ordinary |
observable | (adj) ที่สังเกตเห็นได้, See also: ที่เห็นได้, Syn. noticeable, visible, Ant. invisible |
ostensible | (adj) ที่เห็นได้ชัด, See also: แน่ชัด, Syn. apparent, obvious, Ant. vague, obscure |
presence | (n) ระยะที่เห็นหรือได้ยินได้ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง, Syn. proximity, nearness |
pro | (adj) ที่เห็นด้วย |
pro | (n) ผู้ที่เห็นด้วย |
protuberant | (adj) ที่เห็นเด่นชัด, Syn. projecting, prominent |
seem | (vi) ที่ปรากฏ, See also: ที่เห็น, ปรากฏอยู่, Syn. appear, look so, resemble |
seeming | (adj) ตามที่ปรากฏ, See also: ตามที่เห็นภายนอก, โดยผิวเผิน, ที่มองเห็น, Syn. apparent, appearing, ostensible |
seemingly | (adv) ตามที่ปรากฏ, See also: ตามที่เห็นภายนอก, Syn. apparently, to the eye, supposedly, ostensibly |
unseen | (adj) ที่เห็นได้ไม่ชัดเจน |
vision | (n) ภาพที่เห็นหรือคน (ที่สวยมาก) |
visual | (adj) ที่เห็นได้, Syn. visible |
altruism | (แอล' ทรูอิสซึม) n. หลักการปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง (philanthropy) -altruist n. |
altruistic | (แอลทูรอิส' ทิค) adj. ซึ่งยึดหลักปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง |
analog computer | (แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ |
anarchism | (แอน' นะคิสซีม) n. ลัทธิที่เห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรมีกฎหมายหรือรัฐบาล, ลัทธิไม่มีรัฐบาล, อนาธิปไตย |
api | (เอพีไอ) ย่อมาจาก application program interface หมายถึงวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น เอพีไอจะกำหนดขั้นตอนมาตรฐานให้โปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ทำงาน โดยวิธีให้ผู้ใช้เลือกจากรายการคำสั่ง (menu) หรือตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) แทนที่จะต้องจำคำสั่งอย่างแต่ก่อน การใช้ระบบวินโดว์บนเครื่องพีซีก็ดี OS/2 ก็ดี หรือระบบของแมคอินทอช ก็ดี ล้วนเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำเอพีไอมาใช้ |
bitch | (บิทชฺ) n. สุนัขตัวเมีย, แม่สุนัข, หญิงร้ายที่เห็นแก่ตัว, หญิงสำส่อน, หญิงเลว, See also: bitchy adj. ดูbitch bitchiness n. ดูbitch |
bloom | (บลูม) n. ดอกไม้, ดอกไม้ทั้งหมดที่เห็น, ดอกไม้บาน, ความแดงของแก้ม, ความเปล่งปลั่ง, การแตกเนื้อสาว vi. ออกดอก, สู่วัยหนุ่มสาว, ทำให้สดสวย, Syn. flowering, peak, Ant. wane |
compound interest | n. กระดูกหักที่เห็นกระดูกโผล่ออก., Syn. open fracture |
dithering | การรวมจุดสีหมายถึง การใช้จุดสีอื่นแทนสีบางสีที่จอภาพไม่สามารถแสดงได้ เช่น ใช้จุดสีขาวและดำผสมกันแทนสีเทาอ่อน/แก่ หรือใช้จุดสีขาวและแดงแทนสีชมพู และอาจจะใช้ประโยชน์ในการทำเส้นโค้งให้ดูเรียบขึ้น (มีส่วนที่เห็นเป็นรอยหยัก ๆ ลดลงได้) |
dotard | (โด'ทิจ) n. ความชรา, ภาวะสติปัญญาอ่อนในวัยชรา, ภาวะสติเลอะเลือน, ความหลงรักอย่างโง่ ๆ , การโอ๋จนเกินไปจุดเล็ก ๆ บนจอภาพจุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ วัดขนาดกันเป็นมิลลิเมตร โดยปกติ จะมีขนาด .41 มม. .31 ม.ม. และ .28 ม.ม. ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด ภาพที่ปรากฏบนจอภาพก็จะยิ่งคมชัดและละเอียดขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังใช้วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่เป็นคนละสีในสีเดียวกันด้วย (สีบางสีที่เห็นบนจอภาพเกิดจากการผสมกันระหว่างจุดที่มีสีต่างกัน เช่น สีเทา เกิดจากการผสมกันของสีดำ และขาว) |
finder | (ไฟ'เดอะ) n. ผู้ค้นหา, สิ่งที่ใช้ค้นหา, กล้องโทรทรรศน์, กล้องส่องทางไกล, กล้องดูภาพ, เครื่องวัด, เครื่องตรวจสอบ ตัวหาเป็นชื่อโปรแกรมที่อยู่ในระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช (ดูใน System Folder) ที่ทำหน้าที่จัดการ ในเรื่องสัญรูป (icon) การแสดงรายการต่าง ๆ ตลอดถึงการแสดงวินโดว์ การคัดลอก การย้าย และการลบแฟ้มข้อมูล หากไม่มี โปรแกรมนี้ การทำงานจะช้ากว่านี้ มาก เครื่องแมคอินทอช รุ่นใหม่ ๆ จะแสดงเป็นเมนูดัง ที่เห็นในภาพข้าง ๆ |
half-duplex | สื่อสารสองทางครึ่งอัตราหมายถึง การถ่ายข้อมูลไปได้ครั้งละทิศทางเดียวโดยผ่านทางโมเด็ม อย่างที่เห็น ในคำสั่ง ECHO OFF ในโปรแกรมประเภทการสื่อสาร ดู duplex, echo และ full duplex ประกอบ |
hard copy | สำเนาถาวรสิ่งพิมพ์ออก1. หมายถึง ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ (information) หรือผลที่ได้จากการประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์ออกมา เมื่อสั่ง ตรงข้ามกับ soft copy ซึ่งหมายถึง สารสนเทศหรือผลที่เห็นบนจอภาพ เมื่อปิดไฟก็จะหายไป ดู soft copy เปรียบเทียบ2. อีกความหมายหนึ่ง จะหมายถึงผลงานที่พิมพ์ลงกระดาษ |
hard space | (ฮาร์ดสเปซ) หมายถึงที่ว่างที่ถือเสมือนไม่ใช่ที่ว่าง ใช้เฉพาะในโปรแกรมประมวลผลคำ ในกรณีที่พิมพ์คำบางคำที่มีที่ว่างระหว่างคำ เช่น World War II หรือ พิมพ์วันที่ เช่น May 7 เช่นนี้ ถ้าบังเอิญพิมพ์คำนี้มาถึงปลายบรรทัด แต่ไม่มีที่ว่างพอจะพิมพ์ทั้งคำ คอมพิวเตอร์จะแยกนำคำหลังช่องว่างมาขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งจะเป็นการไม่ถูกต้อง เราจึงต้องกำหนดให้ที่ว่างที่เห็นนั้นเป็นฮาร์ดสเปซ เพื่อให้โปรแกรมไม่แยกเป็นคนละบรรทัด ถ้าที่ไม่พอในบรรทัดบน ก็จะนำลงมาบรรทัดใหม่ทั้งคำ |
low resolution | ความละเอียดต่ำความคมชัดต่ำใช้กับเครื่องพิมพ์หรือจอภาพที่ออกแบบให้เสนอผลค่อนข้างหยาบ แต่ก็รวดเร็ว ตัวพิมพ์ก็ดี ภาพที่เห็นบนจอก็ดี หากใช้กับหน่วยแสดงผลที่มีความละเอียดต่ำ หรือมีจำนวนจุดต่อนิ้วน้อย เช่น 74 จุดต่อนิ้ว จะทำให้ดูไม่สวยงาม ไม่เรียบร้อย ส่วนที่โค้งหรือมนจะดูขยุกขยิก หยัก ๆ ไม่มีคุณภาพ แต่ก็มีส่วนดีอยู่บ้างตรงที่ราคาถูก และทำงานได้รวดเร็วกว่าประเภทความละเอียดสูง ๆ ดู high resolution เปรียบเทียบ |
page down key | เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีอักษรย่อ Pg Dn อยู่บนแป้นทำหน้าที่ตรงข้ามกับแป้น Pg Up การกดแป้นนี้ อาจทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เลื่อนไปที่บรรทัดสุดท้ายที่เห็นอยู่บนจอภาพ หรือบรรทัดสุดท้ายของหน้าเลยก็ได้ (ขึ้นอยู่กับโปรแกรม) ดู Pg Up key เปรียบเทียบ |
perspective | (เพอสเพค'ทิฟว) n. เทคนิคการเขียนภาพให้ได้ส่วนสัด เช่นเดียวกับที่เห็นด้วยตาจริง, ภาพที่ได้จากการเขียนด้วยเทคนิคดังกล่าว, ทัศนียภาพ, ทิวทัศน์, ทัศนวิสัย, ความซึ้ง, ภาพซึ้งที่มองไปข้างหน้า. adj. เกี่ยวกับเทคนิค หรือภาพดังกล่าว, Syn. discr |
photographic | (โฟทะแกรฟ'ฟิค) adj. เกี่ยวกับการถ่ายภาพ, ซึ่งใช้หรือเกิดจากการถ่ายภาพ, เหมือนของจริง, ซึ่งสามารถจดจำสิ่งที่เห็นได้ตลอด, Syn. vivid, detailed, visual |
screen fonts | แบบอักษรที่เห็นบนจอเป็นแบบอักษรที่คอมพิวเตอร์เก็บในลักษณะของบิตแมป (bitmap) ทำให้ตัวอักษรที่มองเห็นบนจอภาพ กับที่พิมพ์ออกมาบนกระดาษมีลักษณะไม่เหมือนกัน (ปกติเครื่องพิมพ์ที่มีความละเอียดสูง จะทำให้แบบอักษรดูสวยกว่าที่เห็นบนจอภาพ |
seperator bar | เส้นคั่นแต่ละเมนูที่เห็นบนจอภาพในระบบวินโดว์ มักจะมีเส้นแบ่งหมวดหมู่ของรายการคำสั่งคั่นให้เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มองหาได้ง่าย เช่น เมนู File ของโปรแกรม Microsoft Word จะแบ่งรายการคำสั่งเป็น New, Open, Close, Save, Save as, Version ส่วนหนึ่ง Page Setup, Print Preview, Print, ส่วนหนึ่ง บางทีก็มี Exit อยู่อีกส่วนหนึ่ง (แต่ละโปรแกรม อาจมีรายการคำสั่งแตกต่างกันไปบ้าง) แต่จะมีเส้นคั่น ให้เห็นชัดเสมอ |
sequential file | แฟ้มลำดับหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จะเข้าถึงได้ไปตามลำดับ (sequential) สื่อตัวอย่างที่เห็นง่ายก็คือ แถบบันทึกเพลง (tape) กว่าจะเข้าไปถึงเพลงลำดับท้าย ๆ ก็ต้องหมุนผ่านเพลงแรก ๆ ไป ก่อน ต้องรอจนกว่าจะถึงเพลงที่ต้องการ (ตรงข้ามกับ จานเสียงหรือซีดี (CD) ที่เราสามารถเลือกฟังเพลงที่ต้องการได้ทันที) |
sight | (ไซทฺ) n. สายตา, การเห็น, กำลังสายตา, ความสามารถในการเห็น, ภาพ, ทิวทัศน์, ขอบข่ายในการเห็น, การพิจารณา, การสังเกต, สิ่งที่เห็น, สิ่งที่เห็นแล้วทำให้สะดุ้งตกใจหรือเศร้าสลด, จำนวนมาก, ปริมาณมาก, vt. เห็น, มองเห็น, สังเกต, ทอด สายตา, ปรับภาพ, เล็ง. vi. ส่อง, เล็ง, เล็งวัด |
smart card | บัตรเก่งหมายถึง บัตรที่มีข้อมูลซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถตรวจเช็ค หรือนำข้อมูลในบัตรนั้นไปประมวลผลได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ เช่น บัตรโทรศัพท์ ที่จะทำการคำนวณระยะเวลาที่พูด แล้วหักเงินแต่ละครั้งได้ บอกให้รู้ได้ว่ายังใช้ได้อีกเท่าใด ส่วนมากจะเป็นบัตรที่มีแถบแม่เหล็ก เช่น บัตรเอทีเอ็ม (ATM) ซึ่งจะมีชื่อและรหัสให้ตรวจสอบได้ เป็นต้น |
smile | (สไมล์) vi., vt. ยิ้ม, ยิ้มเยาะ, ยิ้มแย้ม, แสดงความเห็นชอบด้วยการยิ้ม, ยิ้มสรวล, ยิ้มร่าเริงn.. การยิ้ม, ลักษณะอาการที่เห็นชอบ., See also: smiler n. |
stamp | (สแทมพฺ) vt. ตอก, ตี, ประทับ, กระแทก, กระทืบ, เหยียบ, บด, กด, ขยี้, กำจัด. vi. กระทืบ, เหนียบ, ย่ำ n. ตราประทับ, ตรา, รอยด่างประทับ, ดวงตราไปรษณียากร, ลักษณะเฉพาะ, เอกลักษณ์, เครื่องหมาย, สิ่งที่เห็นได้ชัด, เครื่องประทับตรา, เครื่องบด, เครื่องขยี้, เครื่องทุบ, การกระทืบ, การย่ำ, |
teleprocessing | การประมวลผลทางไกลหมายถึง การประมวลผลที่มีการส่งข้อมูลมาจากเครื่องปลายทาง (terminal) ที่อยู่ไกลออกไป เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง การส่งข้อมูลอาจใช้ผ่านสายโทรศัพท์ สายเคเบิล ใยแก้ว ดาวเทียม ฯ ก็ได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นทั่วไป คือการเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม (ATM) แต่ละตู้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องปลายทางส่งข้อมูลเข้าไปยังศูนย์ที่สำนักงานใหญ่เพื่อทำการประมวลผล |
time sharing | การแบ่งกันใช้เวลาหมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ตัวประมวลผล เครื่องพิมพ์ และหน่วยขับจานบันทึกในเครื่องเมนเฟรม หรือเครือข่าย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ร่วมกันในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นอาจใช้หมายถึงระบบการประมวลผลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ เครื่องปลายทาง (terminal) ที่มีอยู่หลายเครื่อง สามารถแบ่งกันใช้เวลาของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ได้ หมายถึงว่า ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า เป็นสมรรถวิสัยของเครื่องที่จะสามารถรับข้อมูลจากเครื่องปลายทางได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือการถอนเงินจากตู้เงินด่วนหรือเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) ซึ่งก็คือเครื่องปลายทางแบบหนึ่งนั่นเอง หลายคนจะสามารถถอนเงินจากสาขาต่างกันได้พร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน (บางทีเขียนติดกัน เป็น timesharing ก็มี) |
truism | (ทรู'อิสซึม) n. ความจริงที่แน่ชัด, ความจริงที่เห็นได้ง่าย., See also: truistic, truistical adj., Syn. platitude, banality |
what you see is what you | what you see is what you get ได้อย่างที่เห็นใช้ตัวย่อว่า WYSIWIG (อ่านว่า วิซิวิก) เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ " ได้อย่างที่เห็น " หมดแล้ว |
wysiwyg | (วีซิวิก) ย่อมาจาก what you see is what you get แปลตามตัวว่า "ได้อย่างที่เห็น" เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อ ก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ "ได้อย่างที่เห็น" หมดแล้ว |
yes man | n. บุคคลที่เห็นด้วยกับคนอื่นเสมอ |
yesman | n. บุคคลที่เห็นด้วยกับคนอื่นเสมอ |