กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
กักขัง | น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษไว้ในสถานที่ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ มิใช่สถานีตำรวจ และมิใช่สถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน. |
เกาะ ๑ | ละเมาะ โดยปริยายใช้เรียกพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นขึ้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. |
ขนอน ๑ | (ขะหฺนอน) น. สถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเข้าออกเมืองหรือเขตแดน เพื่อตรวจคนเข้าออก ผู้ลักลอบผ่านด่าน สิ่งของหรือสินค้าต้องห้าม และเรียกเก็บภาษีอากรสินค้า, ที่คอยเหตุและคนแปลกปลอม. |
ขัง | ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้ เช่น ขังนํ้า |
ขึ้นซัง | ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า. |
เขื่อง ๒ | น. ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่. |
คลังสินค้าทัณฑ์บน | น. สถานที่ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติและกำหนดให้เป็นสถานที่ตรวจและเก็บของซึ่งมีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังไม่ต้องชำระอากรขาเข้า. |
ค่ายเยาวชน | น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ โดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย. |
เคหสถาน | ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และหมายความรวมถึงบริเวณของที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม. |
ฐาน ๔ | น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖ x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒). |
ดง ๑ | น. ป่าลึกที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ดงพญาเย็น, ที่ซึ่งมีต้นไม้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นหนาแน่น เช่น ดงกล้วย, โดยปริยายเรียกย่านที่มีคนหรือสัตว์ประเภทเดียวกันรวมอยู่ด้วยกันมาก ๆ (มักใช้แก่คนไม่ดีหรือสัตว์ที่ดุร้าย) เช่น ดงผู้ร้าย ดงเสือ. |
ไดเรกตริกซ์ | น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กำหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, ปัจจุบันใช้ว่า เส้นบังคับ. |
ตรีบถ | น. ที่ซึ่งทางทั้ง ๓ มาจดกัน, ทางสามแพร่ง. |
ตลาด | สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด. |
ท่ามกลาง | น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. |
ทำเนียบ ๒ | น. การลำดับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบสมณศักดิ์ ทำเนียบข้าราชการ. |
ที่ธรณีสงฆ์ | น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด. |
ที่วัด | น. ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัด. |
ทุราจาร | น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. |
เทวสถาน | น. สถานที่ซึ่งถือว่าเป็นที่ประทับหรือสิงสถิตของเทพเจ้าหรือเทวดา, ที่ประดิษฐานเทวรูป. |
เทวาลัย, เทวาวาส | น. ที่ซึ่งสมมุติว่าเป็นที่อยู่ของเทวดา. |
เที่ยว ๑ | น. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว. |
เทือก | น. ที่ดินที่ไถและคราดแล้วทำให้เป็นโคลนเป็นตมเพื่อตกกล้า เช่น ทำเทือกตกกล้า, ขี้เทือก ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงที่ซึ่งเปรอะเลอะเทอะเพราะยํ่ากันไปมา เช่น ยํ่าเป็นเทือก |
ธรณีสงฆ์ | น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด. |
นั่งซัง | เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทำอันตรายได้แล้ว, ขึ้นซัง ก็ว่า. |
นาฟางลอย | น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร, นาเมือง ก็เรียก. |
นาสวน | น. นาข้าวที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีระดับน้ำลึกตั้งแต่ ๑ เมตรลงมา |
น้ำซับ | น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าซึมซาบอยู่ใต้ดิน ว่า ที่นํ้าซับ, ทางภาคอีสานเรียกว่า ซำ. |
น้ำซึม | น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าไหลซึมอยู่ตลอดเวลา ว่า ที่นํ้าซึม. |
นิติบุคคล | น. บุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา โดยมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ. |
บน ๑ | บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ. |
บ่มผิว | ก. ทำให้ผิวงามด้วยการอยู่ในที่ซึ่งไม่ถูกแดดถูกลมจนเกินไป. |
เบาะแส | น. ร่องรอย, ลาดเลา, เค้าเงื่อน, ตำแหน่งแห่งที่ซึ่งทราบมาอย่างเลา ๆ พอเป็นเค้า. |
ป้อมบังคับการ | น. ที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม. |
ป่าช้า | น. ป่าหรือที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ฝังหรือเผาศพ. |
ผู้ตรวจสอบภายใน | น. เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการเป็นการภายในขององค์กร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงาน การใช้จ่าย การปฏิบัติตามคำสั่ง. |
ผู้นำจับ | น. บุคคลผู้มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด. |
พิหาร | วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. |
โฟกัส | จุดที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับเส้นไดเรกตริกซ์ ใช้กำหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย. |
มัสยิด | (มัดสะหฺยิด, มัดสะยิด) น. สถานที่ซึ่งชาวมุสลิมใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ, สุเหร่า ก็เรียก. (อา.) |
มีเทน | น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. |
ล้วง | ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วงกระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิดที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ. |
ลับ ๒ | ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา. |
วงเวียน | ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา. |
ศูนย์เยาวชน | น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชนไทย–ญี่ปุ่น ดินแดง. |
สถานประกอบการ | น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย. |
สวน ๑ | น. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวนยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู. |
สำแดง ๓ | คำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์. |
สำนักงานวางทรัพย์ | น. สถานที่ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เอาเงินหรือทรัพย์ไปวางไว้เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้. |
acoustics | (n) สภาพของสถานที่ซึ่งมีผลต่อการรับฟังเสียง |
bazaar | (n) ตลาดที่ขายของหลากหลายชนิด, See also: ตลาดขายของ, ที่ซึ่งมีร้านขายของรวมกันมากๆ, Syn. arcade |
biased | (adj) ที่ซึ่งลำเอียง, Syn. prejudiced, Ant. unbiased, unprejudiced |
coefficient | (n) ค่าสัมประสิทธิ์, See also: จำนวนจริงที่มีค่าคงที่ซึ่งคูณอยู่กับตัวแปร |
depository | (n) สถานที่ซึ่งใช้เก็บสิ่งต่างๆ อย่างปลอดภัย, Syn. depositary, depot warehouse |
muezzin | (n) เจ้าหน้าที่ซึ่งประกาศเรียกชาวมุสลิมทำพิธีละหมาดในสุเหร่า, Syn. fumble, miscarry |
no man's land | (n) บริเวณที่ยังไม่มีใครจับจอง, See also: สถานที่ซึ่งยังไม่ถูกควบคุมโดยผู้ใด |
quagmire | (n) พื้นที่ซึ่งเป็นเลนตม, Syn. bog, marsh |
slot | (n) เวลาและสถานที่ซึ่งกำหนดในตาราง |
stakeout | (n) สถานที่ซึ่งตำรวจตรวจตราเป็นพิเศษ |
where | (conj) ในที่ซึ่ง |
whereat | (conj) ที่ซึ่ง (คำโบราณ), Syn. at which, whereupon |
wherefrom | (adv) จากที่ซึ่ง (คำโบราณ), See also: จากแหล่งซึ่ง, Syn. whence |
whereinto | (conj) ในที่ซึ่ง (คำโบราณ), See also: ในสิ่งซึ่ง, Syn. into which |
whereon | (adv) บนที่ซึ่ง (คำทางการหรือคำโบราณ), Syn. where |
whereto | (adv) ไปที่ซึ่ง (คำโบราณทางการ), Syn. to which |
whereunto | (adv) ไปที่ซึ่ง (คำโบราณทางการ), Syn. whereto |
wherewith | (pron) ที่ซึ่ง, See also: ซึ่ง, ที่ |
wherewithal | (adv) โดย, See also: ซึ่ง, ที่ซึ่ง |
anacoustic | (แอนนะคุศ' ทิค) adj. เกี่ยวกับบริเวณเหนือบรรยากาศโลกขึ้นไป ที่ซึ่งคลื่นเสียงไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เนื่องจากสื่อที่จะเป็นตัวนำ |
card hopper | ที่พักบัตรหมายถึง ส่วนหนึ่งของเครื่องอ่านบัตรหรือเครื่องเจาะบัตร (keypunch) เป็นที่ซึ่งบัตรที่เจาะข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว มาหยุดรอให้คอมพิวเตอร์เรียกไปอ่าน หรือบัตรที่ยังไม่ได้เจาะ มารอเรียกไปเจาะบางทีใช้ hopper คำเดียวสั้น ๆ ก็ได้ ดู card reader และ keypunch ประกอบ |
data field | เขตข้อมูลหมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละเรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" (record) |
field | (ฟีลดฺ) { fielded, fielding, fields } n. ทุ่ง, ทุ่งนา, ทุ่งกว้าง, เขตเหมืองแร่, สนาม, อาณาจักร, ขอบเขต, พื้น, ลาน vt. เก็บได้ลูก (บอล) , จับลูกได้ vi. เป็นคนรับลูกในการเล่น (บาสเก็ตบอล, คริคเก๊ต), Syn. area หมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละ เรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้ หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" record |
host | (โฮสทฺ) n. เจ้าบ้าน, เจ้าภาพ, เจ้าของบ้าน, ผู้จัดการ, สัตว์หรือพืชที่ซึ่งปรสิตอาศัยกินอยู่. vt. ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านหรือเจ้าภาพ, Syn. publican, landlord |
recycled bin | ถังขยะเป็นศัพท์ที่ใช้ในระบบวินโดว์ 95 ของพีซี (แมคอินทอชใช้ trash) หมายถึง ที่ซึ่งจัดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับลากแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการทิ้งลงไป สัญรูปก็มีลักษณะเหมือนถังขยะ ใช้เป็นที่ทิ้งสิ่งที่ไม่ต้องการใช้อีกแล้ว (ถ้าเก็บต่อไป จะทำให้เปลืองที่ อย่างน้อยก็ทำให้มีที่ว่างมากขึ้น) มีความหมายคล้ายคำสั่ง delete ในดอสนั่นเอง เมื่อต้องการกำจัดของในถังขยะให้หมดไป ก็ใช้คำสั่ง "empty recycled bin " แต่ถ้าเปลี่ยนใจไม่ลบทิ้ง ก็สามารถเปิดถัง (กดเมาส์ที่ถัง 2 ที) ลากแฟ้มข้อมูลนั้นกลับคืนออกมาได้ |
where're | (แวร์'เออะ) conj. บนอะไร, ที่ไหน, ที่ซึ่ง, adv. ด้วยอะไร |
whereat | (แวร์'แอท') adv., conj. ที่ซึ่ง, แหล่งซึ่ง, ที่มา, Syn. at which, whereupon |
wherefrom | (แวร์ฟรัม') conj., adv. จากที่ซึ่ง, จากที่ไหน |
whereof | (แวร์อัฟ') adv., conj. ด้วยอะไร, ที่ซึ่ง, เกี่ยวกับเรื่องนั้น |
whereon | (แวร์'ออน) conj. บนอะไร, อยู่บนอะไร, ที่ซึ่ง, ด้วยอะไร, adv. ด้วยอะไร, ที่ซึ่ง |
whereupon | (แวร์อะพอน') conj. ที่ซึ่ง, ดั้งนั้นด้วยเหตุนี้, อยู่ที่ใคร |
wherewith | (-วิธ) adv. ด้วยซึ่ง, ด้วย, เนื่องจาก pron. ที่ซึ่ง, ซึ่ง, ที่, n. =wherewithal |
wherewithal | (แวร์วิธ'เธิล) n. วิถีทาง, หนทาง, ขุมทรัพย์, วิธีการ, เงินทอง, adv. โดย, ซึ่ง, ที่ซึ่ง |
which | (วิชฺ) pron. อันไหน, อันซึ่ง, ส่วนไหน, ที่ซึ่ง, adj. อันไหน, ส่วนไหน, ที่กล่าวถึงมาก่อน |