ทิศทาง | น. แนว, ทางที่มุ่งไป. |
กระดี่ ๔ | ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่. |
กลับ | (กฺลับ) ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, เปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม เช่น นึกว่าเป็นคนดี กลับเป็นคนร้าย, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับ ด่าเอา. |
เกร่ | ขออนุญาตเร่หรือหันเหทิศทางไปจากจุดเดิมโดยให้มีระยะทางเท่าเดิมหรือไกลกว่าเพื่อให้สะดวกในการเล่นบางอย่าง เช่น หยอดหลุม ทอยกอง ร่อนรูป |
ความเร็ว | น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อ ๑ หน่วยเวลา โดยระบุบ่งทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วย. |
ไซเกิล | น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่งกลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จำนวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. |
ดีเปรสชัน | น. พายุหมุนที่มีกำลังอ่อนในเขตร้อนมีต้นกำเนิดเหนือมหาสมุทร ทำให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนักเป็นบริเวณกว้าง, บริเวณความกดอากาศต่ำที่มีลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางคล้ายก้นหอยในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้. |
ดึง | ก. กิริยาที่ใช้มือหรืออุปกรณ์จับหรือผูกสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วออกแรงทำให้เคลื่อนเข้ามาหรือเคลื่อนไปตามทิศทางที่ต้องการ เช่น ดึงแขนไว้ ดึงตัวเข้ามากอด ดึงหนังสติ๊กให้ยืดออก ใช้รอกดึงของหนักขึ้นบนที่สูง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้ดีขึ้น เช่น คะแนนวิชาศิลปะดึงให้คะแนนรวมสูงขึ้น, หรือทำให้ต่ำลง เช่น คบเพื่อนไม่ดีจึงพากันดึงลงเหว |
ต้นหน | น. ผู้ควบคุมทิศทาง ตำแหน่งของเรือ การเดินเรือในร่องน้ำ ในการเดินเรือทะเลหรือเดินอากาศยาน, (โบ) คนนำทาง เช่น ต้นหนบอกตำบล แลนา ให้หยุดพลเอาทัพ แลนา (ลอ). |
ตังเก | น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อนมาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่สำหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้นกลมสำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่สำหรับโรยอวน และด้านหัวเรือมีที่สำหรับกว้านอวน. |
ตี | ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. |
เตลิด | (ตะเหฺลิด) ก. แตกหนีไปคนละทิศละทาง, หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น ฝูงวัวเตลิดไป, โดยปริยายหมายความว่า รั้งไม่อยู่ เช่น เด็กคนนี้เตลิดไปแล้ว เอาแต่เที่ยวเตร่ไม่ยอมเรียนหนังสือ. |
เตลิด | (ตะเหฺลิด) ว. อาการที่แตกหนีไปคนละทิศละทาง, อาการที่หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น พอมีเสียงตะโกนว่าไฟไหม้ ฝูงคนก็หนีเตลิดไปอย่างรวดเร็ว เด็กตกใจวิ่งเตลิดไป. |
เตลิดเปิดเปิง | ก. ไปโดยเร็วจนยั้งไม่ได้, ไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น เตลิดเปิดเปิงไปไหนแล้วก็ไม่รู้. |
ถือท้าย | ก. ทำหน้าที่บังคับเรือให้แล่นไปตามทิศทาง, ควบคุม เช่น ถือท้ายรัฐนาวา |
นายท้าย | น. ผู้ถือท้ายเรือ มีหน้าที่ควบคุมเรือให้แล่นไปตามทิศทาง โดยเฉพาะตามแม่นํ้าลำคลอง. |
บ่ายหน้า | ก. เปลี่ยนไปสู่ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง, หันหน้า, เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่งหน้า เช่น ยามเย็นชาวนาบ่ายหน้ากลับบ้าน. |
เปิดเปิง | ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง. |
ไป | ก. เคลื่อนจากตัวผู้พูด เช่น เขาไปตลาด เขาเข็นเรือไม่ไปเพราะเรือเกยตื้น, ใช้ตรงข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางออกจากตัวผู้พูด เช่น เขาเดินไปโรงเรียน, ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น ผมขอให้คุณเดินทางไปหาผมวันอาทิตย์นี้, หรือเป็นคำประกอบกริยามีความหมายว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไปกินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป. |
ผิน | ก. เปลี่ยนจากทิศทางเดิมไปเล็กน้อย, หิน ก็ว่า. |
มะงุมมะงาหรา | อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม. |
มา ๒ | ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย เขาบอกว่าจะมาแล้วไม่มา, ตรงกันข้ามกับ ไป, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่, ใช้ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางสู่ตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น พรุ่งนี้ผมจะมาหาคุณ, ซึ่งเป็นคำประกอบกริยาแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา. |
มิติ ๑ | น. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ, ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็นมิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน กว้างหรือยาว ก็ได้. |
ไม้เขน | น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีกิ่งชี้ไปในทิศทางต่าง ๆ กัน ๓ ทาง. |
รู้หนเหนือหนใต้ | ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือหนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า. |
รู้เหนือรู้ใต้ | ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือหนใต้ ก็ว่า. |
เรดาร์ | น. ระบบการใช้ไมโครเวฟเพื่อหาตำแหน่งที่อยู่แสดงเอกลักษณ์ หรือนำทิศทางของวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น เรือ อากาศยาน ดาวเทียม จรวด. |
เรือตังเก | น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อนมาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่สำหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้นกลมสำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่สำหรับโรยอวนและด้านหัวเรือมีที่สำหรับกว้านอวน. |
เรือหางยาว | น. เรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ติดที่ท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวคล้ายหางติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัวและยกขึ้นลง โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางได้. |
ลมมรสุม | น. ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดินร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก. |
แล่นขวางลม | ก. แล่นเรือใบโดยตั้งใบเรือให้ทำมุมประมาณ ๙๐° กับทิศทางลมเพื่อให้ถึงจุดหมายซึ่งอยู่ขวางทิศทางลม. |
แล่นตามลม | ก. แล่นเรือใบไปตามทิศทางลมเพื่อให้ถึงจุดหมายซึ่งอยู่ในทิศทางเดียวกับลม. |
สันปันน้ำ | น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลำธารที่อยู่แต่ละด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน. |
สู่ | ไปยังทิศทางนั้น เช่น หันหน้าสู่ทิศเหนือ |
หัน ๑ | ก. เปลี่ยนจากทิศทางหนึ่งไปอีกทิศทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย หันขวา หันโต๊ะไปทางหน้าต่าง, อยู่ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น หันหลังให้ประตู, ผัน ก็ว่า |
หันหน้า | ก. ทำให้หน้าอยู่ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น เขานั่งหันหน้าออกทางประตู |
หันหลัง | ก. ทำให้หลังอยู่ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น ตั้งตู้หันหลังติดกำแพง |
หางยาว | น. เรียกเรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ติดท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวปลายติดใบจักรใช้แทนหางเสือไปในตัว โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยนทิศทางและยกขึ้นลงได้ ว่า เรือหางยาว. |
หิน ๓ | ก. เปลี่ยนจากทิศทางเดิมไปเล็กน้อย, ผิน ก็ว่า. |
เห | ก. เปลี่ยนทิศทางจากเดิมไปเล็กน้อย เช่น เหหัวเรือ รถยนต์วิ่งเหออกนอกทาง |
อัตราเร็ว | น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยเวลาโดยไม่คำนึงถึงทิศทางของการเคลื่อนที่. |
เอ็น | น. กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียวเห็นได้ชัด และไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย, ชาวบ้านเรียก เส้นเอ็น. |
เฮลิคอปเตอร์ | น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ไม่มีปีก มีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว ใบพัดหมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวและบังคับให้บินไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและบินขึ้นลงในแนวยืนได้. |
Annihilation | ประลัย, ปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคกับปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้นๆ แล้วอนุภาคทั้งสองหายไปกลายเป็นรังสีแกมมาพลังงานเท่ากันเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่นการรวมตัวของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอน ได้รังสีแกมมาพลังงานรวม 1.02 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (ดู Antimatter ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Directional couplers | ตัวเชื่อมต่อแบบมีทิศทาง [TU Subject Heading] |
emerging markets | ตลาดเกิดใหม่ มี 2 ความหมาย ความหมายที่ 1 คือ ตลาดที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เริ่มเติบโตขึ้นและซับซ้อน มากขึ้น ส่วนความหมายที่ 2 คือ ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Intergovernmental Conference | การประชุมระหว่างรัฐบาลของสหภาพยุโรป " เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางและ โครงสร้างของสหภาพฯ ตามสนธิสัญญาหลัก ๆ ที่สหภาพฯ มี " [การทูต] |
Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] |
omni - directional foreign policy | นโยบายต่างประเทศรอบทิศทาง เป็นนโยบายต่างประเทศของไทยในช่วง ปี พ.ศ. 2523 - 2533 [การทูต] |
Team Thailand | ทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต] |
United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] |
Orientation | แนวทิศทางการวางตัว การหันทิศทางอาคาร [พลังงาน] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Crazing | ลักษณะการเสื่อมสภาพของยางเมื่ออยู่ภายใต้สภาพอากาศทั่วไปนานๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกขนาดเล็กต่อเนื่องกันแบบไร้ทิศทางที่แน่นอนบนพื้นผิว ของผลิตภัณฑ์ รอยแตกเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายผิวส้มที่เหี่ยวหรือผิวหนังช้าง [เทคโนโลยียาง] |
Antiparallel | ทิศทางตรงกันข้าม, แอนตี้พาราเลล [การแพทย์] |
Beam Direction, Use Full | การเลือกทิศทางของรังสี [การแพทย์] |
Bidirectional | เคลื่อนที่ไปในสองทิศทาง [การแพทย์] |
Centrifugally | ทิศทางออกนอก [การแพทย์] |
Creaming Test, Direction of | ทิศทางของการเกิดการแยกชั้นเป็นครีม [การแพทย์] |
Deflection, Downward | คลื่นที่บันทึกได้มีทิศทางลงล่าง [การแพทย์] |
Depolarization | ดีโพลาไรเซชัน, การกระตุ้น, ดีโปลาไรเซซั่น, การลดความต่างศักย์, ทิศทางการกระจายของคลื่นไฟฟ้า [การแพทย์] |
Direction | ทิศทาง, แนว [การแพทย์] |
Direction, Bond | ทิศทางของบอนด์ [การแพทย์] |
Direction, Future | ทิศทางในอนาคต [การแพทย์] |
Directionality | ทิศทาง [การแพทย์] |
Distraction | ข้อต่อเคลื่อนไหวในทิศทางเคลื่อนแยกห่าง, การเบี่ยงเบนความสนใจ [การแพทย์] |
Downstream | ตามทิศทางการไหล, ปลายทาง [การแพทย์] |
Eye Movements, Disjugate | การกรอกตาทั้งสองในทิศทางตรงกันข้ามกัน [การแพทย์] |
Wind direction | ทิศทางลม [อุตุนิยมวิทยา] |
Prevailling wind | ลมแน่ทิศ หรือทิศทางลมแน่ทิศ [อุตุนิยมวิทยา] |
Direction of movement of the waves | ทิศทางการเคลื่อนที่ ของคลื่น [อุตุนิยมวิทยา] |
Direction and speed of movement of cloud | ทิศทางและความเร็ว ของการเคลื่อนตัวของเมฆ [อุตุนิยมวิทยา] |
Radiogoniometry | วิชาการหาทิศทาง คลื่นวิทยุ [อุตุนิยมวิทยา] |
Radiodirection finder | เครื่องหาทิศทาง คลื่นวิทยุ [อุตุนิยมวิทยา] |
Radiogoniograph | เรดิโอโกนิออกราฟ หรือเครื่องบันทึกทิศทางคลื่นวิทยุ [อุตุนิยมวิทยา] |
Luminous intensity | ความเข้มของการส่อง สว่าง (ในทิศทางใดทางหนึ่ง) [อุตุนิยมวิทยา] |
Radiance - Radiant intensity per unit area | ความเข้มของการแผ่ รังสีต่อหนึ่งหน่วยเนื้อที่ (ที่จุดหนึ่งจุดใดบนพื้นที่ผิวพื้นในทิศทางที่กำหนด) [อุตุนิยมวิทยา] |
triaxial compression test | triaxial compression test, การทดสอบแรงกด 3 ทิศทาง [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
nastic movement | แนสติกมูฟเมนต์, การเคลื่อนไหวแบบนาสติก, การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโตของพืชไม่ถูกกำหนดโดยทิศทางของปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้น เช่น การหุบหรือบานของดอกไม้ต้องอาศัยแสงสว่าง อุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kinesis | ไคนีซิส, พฤติกรรมการเคลื่อนที่ที่ไม่มีทิศทางแน่นอนของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเพื่อตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น ตัวกุ้งเต้น ปกติอาศัยอยู่ในที่ชื้น ถ้ามาอยู่ในที่แห้งจะกระโดดไปมาอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
taxis | แทกซิส, พฤติกรรมการเคลื่อนที่เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ มีทิศทางการเคลื่อนที่อย่างแน่นอนที่จะเข้าหา หรือหนีสิ่งเร้านั้น ๆ เช่น การเข้าหาแสงสว่างของพลานาเรีย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nerve net | ร่างแหประสาท, ระบบประสาทในสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย มีลักษณะเป็นเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกันทั่วตัวเป็นร่างแห เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่จุดใดจุดหนึ่ง การตอบสนองจะเป็นไปทุกทิศทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnitude of a vector | ขนาดของเวกเตอร์, ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่มีทิศทางแทนเวกเตอร์นั้น โดยวัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดปลายของเวกเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vector quantity | ปริมาณเวกเตอร์, ปริมาณที่บอกทั้งขนาด และทิศทาง เช่น ความเร็ว ความเร่ง ปริมาณเวกเตอร์อาจแทนได้ด้วยส่วนของเส้นตรงที่ระบุทิศทาง โดยใช้ความยาวของส่วนของเส้นตรงแทนขนาดและใช้หัวลูกศรเพื่อบอกทิศทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
scalar quantity | ปริมาณสเกลาร์, ปริมาณที่มีแต่ขนาด ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา อุณหภูมิ อาจแทนปริมาณสเกลาร์ได้ด้วยความยาวของส่วนของเส้นตรง หรือระยะระหว่างจุดสองจุดบนเส้นตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sine function | ฟังก์ชันไซน์, ฟังก์ชันตรีโกณมิติชนิดหนึ่ง อาจนิยามโดยอาศัยวงกลมหนึ่งหน่วยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ sine q = y โดยที่ q เป็นจำนวนจริงที่แทนด้วยความยาวของส่วนโค้งที่วัดจากจุด (1, 0) บนวงกลมหนึ่งหน่วย ไปตามส่วนโค้งของวงกลม(โดยคิดทิศทาง) และมี (x, y) เป็นจุดปลายของส่วนโค้งที่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
angle of inclination | มุมเอียง, มุมที่เส้นตรงทำกับแกน X เมื่อวัดจากแกน X ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาเส้นตรง และมีขนาดน้อยกว่า 180° จากรูป คือ มุมเอียง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
unit vector | เวกเตอร์หนึ่งหน่วย, เวกเตอร์ที่มีขนาดหนึ่งหน่วยไม่ว่าเวกเตอร์นั้นจะมีทิศทางใดก็ตาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
network structure | โครงผลึกร่างตาข่าย, โครงผลึกของธาตุหรือสารประกอบที่มีการจัดอะตอมในผลึกคล้ายตาข่าย คือทุกอะตอมจะสร้างพันธะกันในทุกทิศทางแบบสามมิติ ดังนั้นทุกอะตอมจึงถูกยึดไว้แน่น เคลื่อนที่ไม่ได้ สารที่มีโครงผลึกแบบนี้จึงมีความแข็งเป็นพิเศษ เช่น ผลึกของเพชร ผลึกซิลิคอนคาร์ไบด์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mass spectrometer | แมสสเปกโทรมิเตอร์, อุปกรณ์ที่ใช้วิเคราะห์มวลของอะตอมหรือโมเลกุล โดยทำให้อะตอมหรือโมเลกุลเกิดเป็นไอออน แล้วส่งผ่านเข้าไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ทำให้ทิศทางของไอออนเหล่านั้นหักเหไปตามมวลของไอออนที่แตกต่างกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
direct current (DC) | กระแสตรง (ดีซี), กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้าในทิศทางเดียวตลอดเวลา ใช้อักษรย่อ DC [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
transverse wave | คลื่นตามขวาง, คลื่นซึ่งมีทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือตัวกลางตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
about | (adv) ในทิศทางตรงข้าม |
anemograph | (n) เครื่องวัดที่บันทึกอัตราความเร็วและทิศทางของลม |
arrow | (n) ลูกศร, See also: ลูกศรชี้ทิศทาง, สัญลักษณ์รูปลูกศร |
away | (adv) ในทิศทางอื่น |
backhanded | (adj) พลิกมือกลับ, See also: กลับทิศทาง |
bearing | (n) ทิศทางที่แน่นอน |
beyond | (prep) อยู่ทางนั้น, See also: เลยออกไป, ถัดออกไป, ไกลออกไป ใช้แสดงตำแหน่งหรือทิศทาง |
blindside | (vt) โจมตีจากทิศทางที่มองไม่เห็น |
be on | (phrv) อยู่ในเส้นทาง, See also: อยู่ในทิศทาง, Syn. keep on, remain on, stay on |
be upon | (phrv) อยู่ในเส้นทาง, See also: อยู่ในทิศทาง, Syn. keep on, remain on, stay on |
bear up | (phrv) แล่นเรือออกจากทิศทางลม |
break back | (phrv) เปลี่ยนทิศทางกะทันหัน (กีฬารักบี้) |
bring about | (phrv) ทำให้เปลี่ยนทิศทาง (เรือ), See also: ทำให้เปลี่ยนเส้นทาง, Syn. bring around, bring round, come about, go about, pull round, put about |
bring round | (phrv) เบี่ยงเบน, See also: เปลี่ยนทิศทาง, Syn. fetch round |
bring to | (phrv) พาไปในทิศทางของ |
commutate | (vt) เปลี่ยนทิศทาง (ของกระแสไฟฟ้า) |
change round | (phrv) เปลี่ยนทิศทาง |
chop around | (phrv) เปลี่ยนทิศทาง |
chop round | (phrv) เปลี่ยนทิศทาง, Syn. chop around |
chop round | (phrv) เปลี่ยนทิศทาง |
come about | (phrv) (เรือหรือลม) เปลี่ยนทิศทางไปในทางตรงข้าม, Syn. bring about |
cut back | (phrv) เปลี่ยนทิศทางทันทีขณะวิ่ง |
diverge from | (phrv) เปลี่ยนทิศทางจาก, See also: เบี่ยงเบนจาก |
fetch round | (phrv) เปลี่ยนทิศทางของ, See also: เปลี่ยนแนวทางของ, Syn. bring round |
flap about | (phrv) ส่ายไปมาอย่างไร้ทิศทาง, See also: แกว่งไปมาอย่างไร้ทิศทาง, Syn. flap around |
flap around | (phrv) ส่ายไปมาอย่างไร้ทิศทาง, See also: แกว่งไปมาอย่างไร้ทิศทาง, Syn. flap about |
flare back | (phrv) (แก๊ส) พัดย้อนมา, See also: พัดกลับมา, พัดไปผิดทิศทาง, Syn. blow back |
flash about | (phrv) ฉายไฟไปทั่ว (หลายทิศทาง), Syn. flash around |
flash around | (phrv) ฉายไฟไปทั่ว (หลายทิศทาง), Syn. flash about |
flow to | (phrv) (ของเหลว) ไหลไปยัง (ทิศทางหรือสถานที่) |
fly about | (phrv) บินไปแบบไร้ทิศทาง |
deflection | (n) การหันเหทิศทาง, See also: การเปลี่ยนแปลงทิศทาง, การเบี่ยงเบน, Syn. alienation |
direction | (n) ทิศทาง, See also: แนวโน้ม, Syn. bias, bent, trend |
directional | (adj) เกี่ยวกับทิศทาง |
disorient | (vt) ทำให้สับสน, See also: ทำให้หลงทาง, ทำให้ผิดทิศทาง, Syn. displace, disturb |
eastward | (n) จุดที่อยู่ในทิศตะวันออก, See also: ทิศทางที่ไปทางตะวันออก |
echolocation | (n) การหาตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุโดยคิดจากเวลาและทิศทางของการสะท้อนกลับ เช่น เรดาร์และโซนาร์ |
flyback | (n) การกลับทิศทางมาที่จุดเริ่มต้นของลำแสงอิเล็กตรอน |
freeway | (n) ถนนที่ไม่จำกัดความเร็ว และมีหลายช่องถนนในแต่ละทิศทาง, Syn. expressway, throughway |
guide | (vt) แนะนำ, See also: แนะแนว, กำหนดทิศทาง, นำทาง, บอกทาง, นำไป, ชี้ทาง, Syn. conduct, escort, show the way |
hit and miss | (idm) อย่างไม่ระมัดระวัง, See also: อย่างไร้ทิศทาง, อย่างไร้แผนการ, Syn. hit or miss, Ant. hit or miss |
hit or miss | (idm) อย่างไม่ระมัดระวัง, See also: อย่างไร้ทิศทาง, อย่างไร้แผนการ, Syn. hit and miss, Ant. hit and miss |
hit-and-miss | (idm) ไม่ระมัดระวัง, See also: ไร้ทิศทาง, Syn. hit-or-miss, Ant. hit-or-miss |
hit-or-miss | (idm) ไม่ระมัดระวัง, See also: ไร้ทิศทาง, Syn. hit-and-miss, Ant. hit-and-miss |
kick about | (phrv) เตะสะเปะสะปะ, See also: เตะไปมา, เตะแบบไร้ทิศทาง, Syn. knock about |
kick around | (phrv) เตะสะเปะสะปะ, See also: เตะไปมา, เตะแบบไร้ทิศทาง, Syn. knock about |
knock about | (phrv) เตะสะเปะสะปะ, See also: เตะไปมา, เตะแบบไร้ทิศทาง, Syn. kick about, knock around |
knock around | (phrv) เตะสะเปะสะปะ, See also: เตะไปมา, เตะแบบไร้ทิศทาง, Syn. kick about, knock about |
jibe | (n) การเปลี่ยนทิศทางเรือด้วยการเปลี่ยนใบเรือไปอีกทางหนึ่ง, Syn. gybe, gibe |
jibe | (vi) เปลี่ยนทิศทางเรือด้วยการเปลี่ยนใบเรือไปอีกทางหนึ่ง, Syn. gybe |
adverse | (แอดเวอส', แอด' เวอส) adj. ตรงกันข้าม, เป็นปฏิปักษ์, เป็นผลร้าย, เสียเปรียบ, หันไปทางแกน, ในทิศทางตรงข้าม. -adverseness n., Syn. opposing, damaging |
airt | (แอร์' อาร์ท) n. ทิศทาง-vt. นำทาง, ชี้ทาง., Syn. airth |
anaclinal | (แอนนะไคล' นัล) adj. ซึ่งลาดลงในทิศทางตรงข้ามทางลาดของชั้นที่ล้อมรอบ |
anaphase | (แอน' นะเฟส) n.เป็นระยะที่สี่ของการแบ่งตัวแบบ miptosis เป็นระยะที่ chromatid ถูกดึงแยกออกจากกันเป็นสองส่วนแล้วเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามและไปหยุดที่ขั้วทั้งสองของเซลล์ ทำให้ spindle fibre ที่อยู่ระหว่างโครมาติดยาวมากขึ้น chromatid ที่แยกออกจากกันนี้แล้ว จะเป็นโครโมโซมที่สมบูรณ์ |
arrow | (แอร์'โร) n. ลูกธนู, ลูกศร, เกาทัณฑ์, สิ่งที่คล้ายลูกศร, ลูกศรชี้. -vt. ชี้ทิศทางด้วยลูกศร, Syn. projectile, missile |
arrow keys | แป้นลูกศรเป็นแป้นพิมพ์พิเศษที่ใช้เพื่อการเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ให้ขึ้นลง หรือขยับไปทางซ้ายหรือ ขวาได้ แป้นลูกศรนี้มีอยู่ 4 แป้นและจะมีลูกศรเล็ก ๆ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกทิศทางของการ เลี่อน (ซ้าย, ขวา, บน, ล่าง) |
aspect | (แอส'เพคทฺ) n. ลักษณะ, รูปร่างหน้าตา, รูปการ, ด้าน (ปัญหา) , หลักเกณฑ์, ด้านข้างหรือผิวหน้าด้านที่กำลังมอง, ทิศทาง, ที่ตั้ง, Syn. expression, look, air, visage |
astatic | (เอสแทท'ทิค) adj. ไม่แน่นอน, ไม่มั่นคง, ไม่มีทิศทางที่แน่นอน. -astaticism n. |
autocad | (ออโตแคด) เป็นชื่อโปรแกรมสำเร็จที่ใช้ในการออกแบบที่โด่งดังมากที่สุดในยุคนี้ ได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่าสิบปีแล้ว สามารถสร้างแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ สร้างแบบจำลอง (model) ได้โดยทำให้เหมือนจริง หมุนดูทิศทางต่าง ๆ ได้ นิยมใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ฯ เมื่อจะแสดงผลในกระดาษ ต้องใช้กับเครื่องวาด (plotter) ดู CAD ประกอบ |
azimuth | (แอซ'ซิมัธ) n. เส้นวางราบ, ทิศทางของดวงดาวที่วัดบนพื้นโลก, มุมตำแหน่ง |
backslash | \ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C: |
bearing | (แบ'ริง) n. ความอดทน, ที่รองรับ, ตำแหน่ง, ทิศทาง, การออกผล, การอ้างอิง, ความสัมพันธ์, ความสามารถ, การให้ผล, ผล, ผลผลิต, Syn. endurance, yield |
bent | (เบนทฺ) adj. งอ, โค้ง, ตกลงใจ, ตั้งใจแล้ว n. ทิศทาง, ความสนใจ, การเบี่ยงเบน, ความโค้ง, Syn. tendency |
bezier curve | รูปโค้งเบซิเอร์หมายถึง รูปเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์รูปหนึ่ง เป็นโค้งที่ไม่มีรูปลักษณ์ที่มีกฏเกณฑ์เป็นสูตรกำหนด การสร้างเส้นโค้งในโปรแกรมบางโปรแกรม จะต้องเริ่มด้วยการลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งก่อน แล้วสร้างจุดสองจุดบนเส้นตรงนั้น ใช้เมาส์ดึงแต่ละจุดขึ้นไป ในทิศทางที่ต่างกัน ก็จะได้โค้งแบบเบซีเอร์ ขึ้นมา |
block diagram | แผนภาพบล็อก <คำแปล>หมายถึงแผนภาพที่แสดงบล็อกรูปต่าง ๆ ที่มีการโยงด้วยเส้นหรือลูกศรให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ หรือการไหล (flow) หรือทิศทางเดินของข้อมูล |
chop | (ชอพ) v.ตัด, ผ่า, สับ, โค่น, ฟัน, ถาง, ฟัน, ตัดขาด, เปลี่ยนทิศทางอย่างฉับพลัน, โต้เถียง -n. การตัด, การผ่า, ชิ้นที่ตัดออก, ชิ้นเนื้อ, การสับเปลี่ยน -Phr. (chop chop adv., interj. เร็ว !.เร็วเข้า !) |
choppy | adj. เป็นคลื่นที่แตกชัดสาด, ไม่แน่นอน, ซึ่งมักเปลี่ยนทิศทาง, See also: choppiness n. |
commutate | (คอม'มิวเทท) vt. เปลี่ยนแปลงทิศทาง, เปลี่ยนเป็นกระแสตรง, เปลี่ยนแทน, สับเปลี่ยน, Syn. substitute, replace |
commutator | (คอม'ยะเทเทอะ) n. เครื่องเปลี่ยนทิศทางของกระแสไฟฟ้า, เครื่อง สับเปลี่ยน, เครื่องแลกเปลี่ยน |
countercurrent | (เคาเทอเคอ'เรินทฺ) n. กระแสทวน, กระแสย้อนทิศทาง |
cowlick | (คาว'ลิค) n. ปอยผมที่ยื่นออกทางทิศทางต่างจากผมส่วนอื่น |
cursor key | แป้นควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหมายถึง แป้นพิมพ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวชี้ตำแหน่งไปในทิศทางที่ต้องการ เช่นแป้นลูกศร, แป้น PageUp, PageDn เป็นต้น บางทีเรียก arrow keys หรือ cursor movement keys |
deasil | (ดี'เซิล) adv. ไปทางเข็มนาฬิกา, ตามทิศทางเข็มนาฬิกา |
direction | (ดิเรค'เชิน, ไดเรค'เชิน) n.การชี้ทาง, ทิศทาง, การบัญชา, การควบคุม, การเล็ง, การจ่าหน้าซอง, การมุ่งหมาย, ชื่อและตำบลที่อยู่ของผู้รับ, Syn. way, aim |
directional | adj. เกี่ยวกับทิศทาง, ซึ่งปรับสำหรับทิศทางการรับและส่งสัญญาณวิทยุ |
downstream | adv. ตามทิศทางของกระแสน้ำ, ตามน้ำ, ตามกระแสน้ำ |
drift | (ดริฟทฺ) vi., vt., n. (การ) ล่องลอย, เลื่อนลอย, ลอยไปทับกันเป็นกอง, พเนจร, ระเหเร่ร่อน, เบี่ยงเบนจากทิศทางเดิมการพเนจร, สิ่งที่ล่องลอย, ความโน้มน้าว, ความหมาย, เจตนา, , See also: driftingly adv. ดูdrift, Syn. float, mound, wander |
eye | (อาย) n. ตา, นัยน์ตา, จักษุ, สายตา, การดู, การจ้อง, ความตั้งใจ, ความคิด, ข้อคิด, ทัศนะ, ช่อง, รู, ทิศทางลม, ตาของหน่อพืช, จุดของแสง, หลอดไฟที่มีแสง, สิ่งที่มีรูปคล้ายตา. -Phr. (keep an eye on เฝ้าดู, ดูแล, เพ่งเล็ง) -pl. eyes, eyen, Syn. observe, wa |
fleet | (ฟลีท) n. กองเรือรบ, กองทัพเรือ, กองเรือ, กองบิน, ขบวนรถยนต์ adj. รวดเร็ว vi. เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว, บิน, บินผ่านไปอย่างรวดเร็ว, บินหายไป, เปลี่ยนทิศทาง, เปลี่ยนตำแหน่ง, หายวับไป, ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว, ปล่อยเชือก. vt. ทำให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว, เปลี่ยนทิศทาง, เปลี่ |
half-duplex | สื่อสารสองทางครึ่งอัตราหมายถึง การถ่ายข้อมูลไปได้ครั้งละทิศทางเดียวโดยผ่านทางโมเด็ม อย่างที่เห็น ในคำสั่ง ECHO OFF ในโปรแกรมประเภทการสื่อสาร ดู duplex, echo และ full duplex ประกอบ |
heading | (เฮด'ดิง) n. ส่วนหน้า, หัวข้อ, หัวเรื่อง, หัวจดหมาย, หัวข่าว, ทิศทางการเดินเรือหรือการบิน, Syn. caption, title |
headway | n. การก้าวไปข้างหน้า, ความเจริญก้าวหน้า, ช่วงระยะเวลาระหว่างรถไฟสองขบวนที่วิ่งไปในทิศทางเดียวกันบนรางเดียวกัน |
jibe | (เจบ) { jibed, jibing, jibes } v., n. (การ) เคลื่อนไปข้างหนึ่ง, เปลี่ยนทิศทาง. |
joystick | ก้านควบคุม <คำแปล>หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีสายเสียบต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง (terminal) มีคันโยก ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ หมุนได้เป็นวงรอบ ใช้ควบคุมการเคลื่อนตัวไปในทิศทางต่าง ๆ ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ไปสู่จุดต่าง ๆ บนจอภาพ นำมาใช้กับการเล่นเกมเท่านั้น |
leeway | (ลี'เว) n. การลอยของเรือหรือเรือบิน เนื่องจากลมที่เบนห่างจากทิศทางที่กำหนดไว้, มุมเบี่ยงเบนของการลอยดังกล่าว, เวลาเพิ่มเติม, สิ่งเพิ่มเติม, เวลาที่ล้าหลัง, ระยะที่ล้าหลัง, Syn. scope |
monoclinal | (มอนคะไคล'นัล) adj. เกี่ยวกับหรือประกอบด้วยชั้นที่เอียงลาดไปในทิศทางเดียว เท่านั้น. |
mouse | (เมาซฺ) n. หนู (pl. mice) อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ |
orientation | (โอริเอนเท'เชิน) n. การปรับตัว, ทำให้เข้าใจ, การกำหนดทิศทางหรือตำแหน่ง, See also: orientative adj., Syn. bearings, stance |
packet switching | การสลับกลุ่มข้อมูลในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับไปรวมกันเองดู circuit switching เปรียบเทียบ |
packet switching network | ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูลใช้ตัวย่อว่า PSN (อ่านว่า พีเอสเอ็น) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง |
paddle | (แพค'เดิล) n., vt., vi. พาย, แกว่ง, กวน, แกว่งน้ำ, เดินเตาะแตะ, เขี่ยด้วยมือ แพดเดิล <คำอ่าน>หมายถึง อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลอีกตัวหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับก้านควบคุม (joystick) ผิดกันแต่ว่า ที่จับของแพดเดิลนี้จะมีลักษณะเป็นปุ่มกลม ๆ แทนที่จะเป็นแท่งยาวแบบก้านควบคุม ปุ่มดังกล่าว จะใช้มือบิดหมุนไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ มักใช้ในการเล่นเกมส์เท่านั้น, See also: paddler n. |
parallelogram of forces | n. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีเส้นทแยงที่เป็นผลรวมของแรงต่างทิศทางกัน |
point | (พอยทฺ) n. จุด, จุดประสงค์, จุดเครื่องหมาย, จุดทศนิยม, สิ่งที่มีปลายแหลม, สถานที่, ตำแหน่ง, ทิศทาง, ขั้น, ตอน, สิ่งที่สำคัญที่เข้าใจ, ประเด็น, จุดสำคัญ, เอกลักษณ์, ข้อแนะ, ข้อคำขำ, หน่วย, หน่วยวัด, ขีด, คะแนน, การชี้, vt., vi. ชี้, เล็ง, แจ้ง, ทำให้แหลม, เสริม, ใส่จุดทศนิยม -Phr. (inpoint เข้าประเด็น ทำได้, เกี่ยวข้อง) |
portrait orientation | พิมพ์แนวตั้งหมายถึง ทิศทางของการวางกระดาษพิมพ์ หรือทิศทางที่จะให้ภาพพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ในแนวตั้ง หมายความว่า ความกว้างน้อยกว่าความยาว ตรงข้ามกับ "แนวนอน"ดู landscape orientation เปรียบเทียบ |
psn | (พีเอสเอ็น) ย่อมาจาก packet switching network (ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูล) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง |
reversion | (รีเวอ'เชิน) n. การกลับกัน, การพลิกกลับ, การกลับสู่สภาพเดิม, การกลับหัวกลับหาง, การกลับทิศทาง, การสวนทิศทาง, การคืนทรัพย์สิน, มรดกตกทอด, See also: reversionally adv., Syn. return |
revert | (รีเวิร์ท') vi. กลับสู่สภาพเดิม, คืนสู่, คืนกลับ vt. ทำให้กลับกัน, กลับคำพิพากษา, หมุนกลับ, กลับทิศทาง, See also: revertibility n. revertible adj. revertive adj., Syn. regress, return |
run | (รัน) { ran, run, running, runs } vi., vt. วิ่ง, เข้าแข่ง, รีบ, ขับ, แล่น, เดินเครื่อง, ดำเนินการ, ปฏิบัติการ, (เวลา) ผ่านไป, เป็นจำนวน, เป็นดังต่อไปนี้, เป็นหนี้, มีอายุ, ผ่านไปอย่างรวดเร็ว, เคลื่อนไปตาม, วิ่งไปตาม, กระทำ n. การวิ่ง, ระยะทางที่ไป, เส้นทาง, ทางน้ำไหล, เที่ยวเรือ, เที่ยวรถ, ความต่อเนื่อง, ก้าวหน้า, ทิศทาง, ดำเนินงานหมายถึง การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นไปตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมในภาษาเบสิก (BASIC) ใช้เป็นคำสั่งให้เริ่มกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม |
saltire | (แซล'ไทเออะ) n. กากบาททแยงมุม, กากบาทไขว้, กางเขนไขว้, -Phr. (in saltire เป็นรูปกากบาทไขว้) -Phr. (per saltire ไขว้กันสองทิศทาง), Syn. saltier |
seaward | (ซี'เวิร์ด) adv. สู่ทะเล, ไปยังทะเล adj. หันไปทางทะเล, มุ่งไปทางทะเล, มาจากทะเล. n. ทิศทางสู่ทะเล, ทิศทางจากแผ่นดิน |