American Society for Testing and Materials | สมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งทำการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในการทดสอบคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในธุรกิจน้ำมัน [ปิโตรเลี่ยม] |
Flaring | การเผาก๊าซทิ้ง, การเผาก๊าซทิ้งซึ่งเป็นก๊าซส่วนเกินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์หรือไม่ได้นำมาซื้อขาย หรือเนื่องมาจากเหตุผลทางเทคนิค [ปิโตรเลี่ยม] |
Technical analysis | การวิเคราะห์ทางเทคนิค, Example: วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ระดับราคาหลักทรัพย์ และปริมาณการซื้อขายเป็นข้อมูลแสดงเป็นแผนภูมิ(รูป กราฟ) ชนิดต่าง ๆ ให้ทราบถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในอดีต เพื่อจะใช้กำหนด หรือคาดหมายแนวโน้มของราคาในอนาคตของหลักทรัพย์นั้น โดยทั่วไปการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะใช้วิเคราะห์ เพื่อคาดหมายแนวโน้มในระยะสั้น หรือระยะปานกลาง เพื่อใช้ตัดสินใจเลือกจังหวะเวลาในการเข้าซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ แต่ก็อาจใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อดูการเคลื่อนไหวที่เป็นวัฏจักรระยะยาว (Long-Term Cycle) ได้ด้วย การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ตรงที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ออกหุ้นมาประกอบการวิเคราะห์ [ตลาดทุน] |
Processing | กระบวนการทางเทคนิค [TU Subject Heading] |
Technical assistance | ความช่วยเหลือทางเทคนิค [TU Subject Heading] |
Technical assistance, French | ความช่วยเหลือทางเทคนิคของฝรั่งเศส [TU Subject Heading] |
Technical assistance, Japanese | ความช่วยเหลือทางเทคนิคของญี่ปุ่น [TU Subject Heading] |
Technical assistance, Thai | ความช่วยเหลือทางเทคนิคของไทย [TU Subject Heading] |
Technical Barrier to Trade | อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า, Example: การกำหนดระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใดๆ เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานของสินค้า ระบบใบรับรองด้านสุขอนามัยของสินค้านำเข้า หรือส่งออกที่ประเทศหนึ่งกำหนดขึ้น ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดอุปสรรค หรือเป็นเครื่องมือกีดกันการค้าระหว่างประเทศได้ แกตต์ ได้มีข้อตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barrier to Trade Agreement)เพื่อมิให้ประเทศภาคีใช้กฎข้อบังคับทางเทคนิคและมาตรฐานรวมถึงการ ทดสอบและการรับรองด้านสุขอนามัย ในทางที่จะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าโดยไม่จำเป็น [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Senior Officials on the Environment | เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม " ประกอบด้วยผู้แทนระดับปลัดกระทรวง มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศและองค์กรอื่น ๆ มีการประชุมปีละครั้ง แยกเป็น 1 คณะผู้เชี่ยวชาญและ 3 คณะทำงาน ซึ่งได้แก่ (1) คณะทำงานเฉพาะกิจทางเทคนิคด้านปัญหาหมอกควัน (2) คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งและทางทะเล (3) คณะทำงานอาเซียนเกี่ยวกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และ (4) คณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ " [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Single Photon Emission Computed Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายที่ต้องการตรวจ โดยการให้สารเภสัชรังสีแก่คนไข้ แล้วทำการตรวจวัดรังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากสารเภสัชรังสีนั้น ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า "กล้องถ่ายแกมมา (gamma camera)" ซึ่งมีทั้งแบบที่หมุนได้ และแบบอยู่กับที่รอบตัวคนไข้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะแปลข้อมูลที่ได้ออกมาให้เห็นเป็นภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสี โดยสร้างภาพตัดเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ทำให้สามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะได้ โดยดูการกระจายตัวของสารเภสัชรังสี แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถตรวจวัดได้ เทคนิคSPECT สามารถตรวจอวัยวะหรือระบบอวัยวะใดๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสารเภสัชรังสีที่ให้ เป็นวิธีที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของความผิดปกติ ทั้งทางกายภาพและทางสรีรวิทยาในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ซึ่งเป็นข้อดีทางเทคนิคนี้ จึงนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจ โรคลมบ้าหมู และโรคมะเร็ง ข้อได้เปรียบของเทคนิคนี้ ต่อ PET คือ ไม่ต้องใช้เครื่องไซโคลตรอนในการผลิตไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |