กลางเดือน | น. วันเพ็ญหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือนทางจันทรคติหรือวันที่ ๑๕ ของเดือนทางจันทรคติ เช่น กลางเดือน ๖. |
เกี๋ยง ๑ | น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย. |
จันทรคติ | น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึงเดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. |
เจียง | น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย. |
เดือนขาด | น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๒๙ วัน คือเดือนคี่ วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่า, คู่กับ เดือนเต็ม. |
เดือนเต็ม ๑ | น. เดือนทางจันทรคติที่มี ๓๐ วัน คือเดือนคู่ วันสิ้นเดือนตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า, คู่กับ เดือนขาด, โบราณใช้ว่า เดือนถ้วน. |
บรรพมูล | น. วันขึ้น ๑ คํ่า และวันกลางเดือนทางจันทรคติ. |
ยี่ ๑ | ว. สอง ในคำว่า ยี่สิบ, ที่สอง เช่น เดือนยี่ (คือ เดือนที่ ๒ นับทางจันทรคติ), โบราณใช้ว่า ญี่ ก็มี. |
เรียงหมอน | น. ชื่อดิถีเนื่องในพิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าหอ กำหนดตามวันทางจันทรคติ. |
วันจม | น. วันเคราะห์ร้ายในเดือนทางจันทรคติ เป็นวันห้ามทำกิจการใด ๆ ทั้งสิ้น, คู่กับ วันฟู หรือ วันลอย. |
วันดับ, วันเดือนดับ | น. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่าในเดือนขาดหรือแรม ๑๕ คํ่าในเดือนเต็ม. |
วันฟู, วันลอย | น. วันที่ถือว่าเป็นมงคลในเดือนทางจันทรคติสำหรับเริ่มกิจการต่าง ๆ, คู่กับ วันจม. |
วัสสานฤดู | (วัดสานะรึดู) น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. |
สอง | เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม. |
สิบ ๑ | เรียกเดือนที่ ๑๐ ทางจันทรคติ ว่า เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน. |
สี่ | เรียกเดือนที่ ๔ ทางจันทรคติว่า เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม. |
ฮิจเราะห์ | น. ชื่อศักราชในศาสนาอิสลาม นับตั้งแต่ปีที่ศาสดามุฮัมหมัดออกจากเมืองมักกะฮ์ (เมกกะ) ไปเมืองมะดีนะฮ์ (เมดินา) เริ่มแต่ พ.ศ. ๑๑๖๕ เป็นปีทางจันทรคติซึ่งมี ๓๕๔ หรือ ๓๕๕ วัน. |