ทั้งปวง, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ทั้งมวล, ทั้งสิ้น, ทั้งหมด | ว. หมดด้วยกัน. |
กรรมสิทธิ์ | สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ในอันที่จะใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล ติดตามและเอาคืน รวมทั้งขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. |
กระทรวง ๑ | (-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก). |
กลม ๔ | (กฺลม) ว. ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กู ทงงกลํ (จารึกสยาม) |
คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
คอมมิวนิสต์ | น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่างเสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. |
จุฬาราชมนตรี | น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง. |
ทรัพยากร | (ซับพะยากอน) น. สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์หรือมีค่า. |
ทั้งกลม | ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) |
เทครัว | ก. อพยพครอบครัว, กวาดต้อนผู้คนพลเมืองจากถิ่นฐานเดิมไปไว้ที่อื่น, เช่น ในปีเดียวนั้นให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา (พงศ. ประเสริฐ) |
ธรรมฐิติ | น. “การตั้งอยู่แห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมธาตุ | น. “การทรงอยู่แห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมนิยาม | น.“การกำหนดแน่นอนแห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
ธรรมสถิติ | น. “การตั้งอยู่แห่งความจริงแท้”, การดำรงอยู่แห่งความจริงแท้ คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา. |
บรรดา | (บัน-) ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดามนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า. |
บรรลุนิติภาวะ | ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วยตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย. |
ปวง | ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ปวงชน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทั้ง เป็น ทั้งปวง เช่น ชนทั้งปวง. |
ผอง | ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด. |
มวล | (มวน) ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทั้งปวง, เช่น มวลชน มวลมนุษย์, ทั้งมวล ก็ว่า. |
แม่น้ำ | น. ลำนํ้าใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลำธารทั้งปวง. |
ยุทธปัจจัย | น. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย. |
ยุทโธปกรณ์ | น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ในราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภคอันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทางทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ. |
รากเหง้า | น. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง |
วิศว- | (วิดสะวะ-) ว. ทั้งหมด, ทั้งปวง. |
วิศวกรรม | (วิดสะวะกำ) น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชำนาญในการช่างทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม) |
เวไนย | น. ผู้ควรแนะนำสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้ (นันโท). |
ศาลจังหวัด | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ. |
ศาลแพ่ง | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นอื่น ศาลแพ่งมีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี แต่คดีที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาได้. |
ศาลยุติธรรม | น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร. |
ศาลสถิตยุติธรรม | น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรมทั้งปวง. |
ศาลอาญา | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นอื่น ศาลอาญา มีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานครนอกจากเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี แต่คดีที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของศาลอาญา ศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาได้. |
ศาลอาญาศึก | น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล. |
ศิษย์เอก | น. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวงหรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น. |
สกลมหาสังฆปริณายก | (สะกนมะหาสังคะปะรินายก) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง. |
สรรพ, สรรพ- | (สับ, สับพะ-) ว. ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. |
สหธรรมิก | (สะหะทำมิก) น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็นสหธรรมิกกัน. |
สักหมายหมู่ | น. การสักบอกสังกัด, การสักเลกหรือคนที่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นไพร่หลวงหรือไพร่สม ให้รู้ว่าอยู่ในหมู่ใดกรมใด เพื่อใช้ในราชการและไม่ให้ไพร่อยู่อย่างไร้สังกัด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว (สามดวง), หมายประกาศเรื่องปลอมสักหมายหมู่ (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔), สักเข้าหมู่ ก็ว่า. |
สังขารโลก | (สังขานระ-) น. ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวง. |
สัพ, สัพพะ | ว. สรรพ, ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด. |
สารพัด | (สาระพัด) ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุก, ทุกอย่าง, เช่น ร้านชำมีของขายสารพัด, เขียนเป็น สารพัตร ก็มี. |
สิงหนาท | น. พระราชดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สีหนาท ก็ว่า. |
สุรสีหนาท | น. พระดำรัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวงเหมือนเสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก. |
ห้างหุ้นส่วนสามัญ | น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด. |
โหม ๑, โหม- | การบูชายัญ, การเซ่นสรวงทั้งปวง. |
องคมนตรี | (องคะ-) น. ตำแหน่งที่มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ. |
อัยการ | องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบด้วยคณะกรรมการอัยการ อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยธุรการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งหรือคดีปกครอง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ตรวจร่างสัญญาและเอกสารทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า องค์กรอัยการ, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร. |
ถวายพระพรลา | กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular Fees and Charges | ค่าธรรมเนียมและค่าภาระทางกงสุล ตามข้อ 39 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ได้กำหนดไว้ว่า1. สถานที่ทำการทางกงสุล อาจเรียกเก็บในอาณาเขตของรัฐผู้รับ สำหรับการปฏิบัติงานทางกงสุลซึ่งค่าธรรมเนียม ค่าภาระตามที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง2. จำนวนเงินที่เก็บได้ในรูปค่าธรรมเนียมและค่าภาระตามที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ใบรับสำหรับค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระเช่นว่านั้น จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงในรัฐผู้รับ [การทูต] |
Freedom of Movement of Member of Consular Post | เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของบุคคลในสถานที่ทำการทาง กงสุล เรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ในข้อ 34 ว่า?ภายในบังคับแห่งกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตซึ่งเป็นที่หวงห้าม หรือที่ได้กำหนดระเบียบไว้ เพราะเหตุผลในทางความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน แก่บุคคลทั้งปวงในสถานที่ทำการทางกงสุล? [การทูต] |
International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] |
remain open to all states for signature and acceptance | เปิดให้รัฐทั้งปวงลงนามและให้การยอมรับ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Achievement | ประสบความสำเร็จ, ชัยชนะจากอุปสรรคทั้งปวง, ความสำเร็จ, ความสำเร็จของงาน, สัมฤทธิ์ผล, ประสิทธิผล, ความสำเร็จของงาน [การแพทย์] |