cyber | ไซเบอร์, ไซเบอร์ คำที่กร่อนมาจากคำว่าไซเบอร์เนติกส์ และมีความหมายว่าเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายและสังคมเครือข่ายสากลทั่วโลก เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) และยังมีการให้ความหมาย "สารสนเทศเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเอง" <p>คำเหล่านี้มีใช้มากขึ้นทุกที อาทิ <p>cyberspace</p> <p>cyberporn</p> <p>cybersex</p> [คอมพิวเตอร์] |
The Most Admired Knowledge Enterprises | องค์กรที่มีการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ที่ดีเลิศทั่วโลก [การจัดการความรู้] |
Internet | อินเทอร์เน็ต, เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายที่มีแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกมาเชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก คำๆ นี้มักจะเขียนผิดเป็น "อินเตอร์เน็ต" หรือ "อินเตอร์เน็ท" [คอมพิวเตอร์] |
globalization | โลกาภิวัตน์, การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
globalisation | โลกาภิวัตน์, การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
โลกาภิวัตน์ | การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ โลกาภิวัฒน์ [คำที่มักเขียนผิด] |
Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นคณะกรรมาธิการหลัก ซึ่งรับผิดชอบในการเสาะหามาตรการในการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งตรวจสอบและสอดส่องการดำเนินการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย ชนในประเทศต่าง ๆ ด้วย คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 53 ประเทศ มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี คณะกรรมาธิการฯ โดยจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ณ นครเจนีวา ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ สำหรับวาระ พ.ศ. 2544-2546 [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conference of Ambassadors and Consuls-General of Thailand | การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลก [การทูต] |
Forward Engagement | การทูตเชิงรุก ยุทธศาสตร์กรอบใหญ่ในนโยบายต่างประเทศของไทย ที่มีเป้าหมายที่จะขยายกรอบความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกมิติความร่วมมือกับ ต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศทั่วโลก เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืนและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสำหรับประชาคมโลก [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
Joint Commission | คณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต] |
Muslim World League (Rabita) | สันนิบาตมุสลิมโลก " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนอิสลามที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือและเผยแพร่ศาสนา อิสลาม และปกป้อง สิทธิประโยชน์ของชาวมุสลิมทั่วโลก " [การทูต] |
National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
World Intellectual Property Organization | องค์การเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า ถือกำเนิดจากอนุสัญญากรุงปารีส ปี ค.ศ. 1883 และอนุสัญญากรุงเบอร์นส์ ปี ค.ศ. 1886 ว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมอนุสัญญาจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้านี้ ได้มีการลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งของสหประชาชาติ และมีประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การแล้วรวม 155 ประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ทั่วโลกได้รับการธำรงรักษาและเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม และเอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยี รวมทั้งให้เผยแพร่งานวรรณกรรม และศิลปกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และทรัพย์สินทางลิขสิทธิ์กับสิทธิที่ใกล้เคียงองค์การมีสำนักเลขาธิการตั้ง อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตำแหน่งหัวหน้าขององค์การนี้ เรียกว่า ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งขณะนี้ได้แก่ Dr.Arpad Bogsch [การทูต] |
World Economic Forum | การประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก" นาย Klaus Schwab ได้ริเริ่มให้มีการประชุมครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2514 นาย Schwab ได้จัดตั้งเป็น European Management Forum ในลักษณะขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเปิดให้นักธุรกิจชั้นนำ รวมทั้งนักการเมืองระดับสูงเป็นสมาชิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น World Economic Forum และเปิดรับสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กิจกรรมสำคัญประจำปี ได้แก่ การประชุมประจำปีที่เมืองดาวอส (มกราคม หรือ กุมภาพันธ์) การจัดพิมพ์ World Competitiveness Report และการจัดประชุมเพื่อหารือประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในประเทศต่าง ๆ [การทูต] |
telex | เทเลกซ์, การบริการรับและส่งข่าวสารทางโทรพิมพ์ซึ่งมีข่ายงานอยู่ทั่วโลก telex ย่อมาจาก teleprinter exchange [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Hypertext Transfer Protocol( HTTP) | เอชทีทีพี, ย่อมาจาก Hyper Text Transfer Protocol เป็นโปรโตคอลสื่อสารที่ทำงานอยู่บนระบบโปรโตคอล TCP HTTP ใช้ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (www)ทำหน้าที่ในการจำหน่าย, แจกจ่าย รวมไปถึงการรับข้อมูล จากระบบสื่อกลางชั้นสูง ที่ประกอบด้วยเครื่องให้บริการที่มีอยู่มากมายทั่วโลก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
International Organization for Standardization, ISO | องค์กรระหว่างประเทศพื่อการมาตรฐาน, องค์กรที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
e-Readiness ranking | รายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์ของ ICT เพื่อการดำเนินธุรกิจ (e-Business) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก, Example: e-Readiness ranking เป็นรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์ของ ICT เพื่อการดำเนินธุรกิจ (e-Business) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รายงานนี้จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี โดย Economist Intelligence Unit การจัดอันดับชึ้นอยู่กับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมที่คำนวณจากตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและปริมาณเกือบ 100 ตัว ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาซึ่งแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีการให้น้ำหนักคะแนนต่างกันตามความสำคัญ ดังนี้<p> <ol> <li>การเชื่อมต่อเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี</li> <li>สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ</li> <li>สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม</li> <li>นโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาล</li> <li>การยอมรับและนำเทคโนโลยีมาใช้ของธุรกิจและผู้บริโภค</li> </ol> <p> [ ที่มา: Economist Intelligence Unit ] [เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ] |
broad | (adj) ทั่วโลก |
cosmopolitan | (adj) ซึ่งท่องเที่ยวไปทั่วโลก, See also: ซึ่งคุ้นเคยกับหลายประเทศหลายวัฒนธรรม |
cosmopolitan | (n) บุคคลซึ่งเดินทางไปทั่วโลก, Syn. cosmopolite |
cosmopolite | (n) บุคคลซึ่งเดินทางไปทั่วโลก, Syn. cosmopolitan |
ecumenical | (adj) ที่ช่วยส่งเสริมความสามัคคีของคริสเตียนทั่วโลก, See also: เกี่ยวกับโบสถ์คริสเตียนทั้งหมด, เกี่ยวกับนิกายคริสเตียนทั้งหมด, Syn. universal |
ecumenicity | (n) ความเชื่อและการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมความสามัคคีของคริสเตียนทั่วโลก, Syn. ecumenism |
ecumenism | (n) ความเชื่อและการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมความสามัคคีของคริสเตียนทั่วโลก, Syn. ecumenicity |
global | (adj) โดยรวม, See also: ทั่วโลก, กว้างๆ, Syn. worldwide |
globalisation | (n) โลกาภิวัตน์, See also: โลกานุวัตร, การแพร่หลายไปทั่วโลก |
globalise | (vt) ทำให้กระจายไปทั่วโลก, See also: เปลี่ยนแปลงทั่วโลก, Syn. generalize, internationalize |
globalization | (n) โลกาภิวัตน์, See also: โลกานุวัตร, การแพร่หลายไปทั่วโลก |
globalize | (vt) ทำให้กระจายไปทั่วโลก, See also: เปลี่ยนแปลงทั่วโลก, Syn. generalize, internationalize |
universally | (adv) อย่างเป็นสากล, See also: ทั่วโลก, Syn. internationally, globally, terrestrially, Ant. there, here, occasionally |
worldwide | (adj) ทั่วโลก, See also: แพร่หลายทั่วโลก, Syn. global, universal |
cosmopolitan | (คอซมะพอล'ลิเทิน) adj. เกี่ยวกับโลกทั้งหมด, เกี่ยวกับสากลนิยม, ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกหรือทุกหนทุกแห่ง, ซึ่งประกอบด้วยหลายชาติหลายภาษา, ซึ่งไม่มีชาติหรือภาษาเป็นเครื่องผูกมัด, เกี่ยวกับพลเมืองโลก n. ผู้ที่ไม่มีชาติหรือภาษาเป็นเครื่องผูกมัด, See also: cosmopo |
global | (โกล'เบิล) adj. ทั่วโลก, ทั้งโลก, ทั้งหมด, เป็นรูปโลก., Syn. universal, worldwide |
globular | adj. เป็นรูปทรงกลม, ทั่วโลก., See also: globularity, globularness n. |
internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล |
intranet | (อิน' เทอเนท) n. ระบบเครือข่ายระบบหนึ่งที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เป็นประโยชน์ที่ให้บริการแก่คนทั่วไป ข้อมูลข่าวสารนั้น มีหลากหลายตั้งแต่สาระบันเทิงจนถึงข้อมูลความรู้ระดับสถาบันทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์การแพทย์ และหน่วยราชการต่าง ๆ |
panentheism | (แพนเนน'ธิอิสซึม) n. ลัทธิหรือความเชื่อที่ว่ามีพระเจ้าอยู่ทั่วโลก ทั่วโลกและทั่วจักรวาล |
web | (เวบ) n. ใยแมงมุม, ใย, พังผืดที่อยู่ระหว่างนิ้วเท้าของกบ ค้างคาวและสัตว์อื่น ๆ บางชนิด, ม้วนกรดาษขนาดใหญ่, ชุด, ร่างแห, ข่ายงาน vt. vi. คลุมด้วยสิ่งดังกล่าว, ทำให้เป็นสิ่งดังกล่าว เว็บเป็นคำเรียกสั้น ๆ ของเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งหมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลกดู internet, HTML ประกอบ, See also: weblike adj., Syn. trap, network |
world wide web | เวิลด์ไวด์เว็บนิยมใช้ตัวย่อ WWW (อ่านว่าดับบลิวดับบลิวดับบลิว) หมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลกดู internet, HTML ประกอบ |
www | (ดับบลิวดับบลิวดับบลิว, เวิรลด์ไวลด์เว็บ) ย่อมาจาก world wide web อ่านว่า เวิรลด์ไวด์เว็บ หมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลกดู internet, HTML, ประกอบ |
diaspora | [ไดอัซพอ'ระ] (n) การพลัดถิ่น การกระจัดกระจายของชาวยิวจากอิสราเอลไปยังบาบิโลเนีย และจากบาบิโลเนียไปทั่วโลก ในคริสตศตวรรษที่ 6, See also: body, dispersion, distribution, scattering |
global town square | (n) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social media) นำมาเปรียบเทียบเป็นเสมือนจัตุรัสแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่สามารถเข้าถึงได้จากทั่วโลก แทนที่จะจำกัดแค่คนในพื้นที่ตามความหมายของคำว่า town square เดิม |
iPod | [ไอ พอด] (name) เครื่องเล่น MP3 Player ที่ขายดีที่สุดในโลก ผู้ผลิดคือบริษัท Apple, inc ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก |
Labanotation | [ลาบานโนเทชั่น] (n) ระบบการจดบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างด้วยสัญลักษณ์ รู้จักในนาม "โน้ตนาฏศิลป์ระบบลาบาน" โดยเป็นระบบที่รู้จักและแพร่หลายทั่วโลกว่ามีคุณสมบัติในการบันทึกท่าเต้นรำได้ละเอียดลออที่สุด เป็นระบบที่คิดค้นโดย Rudolf Laban ชาวฮังกาเรียน |
Pharmacopoeia | [ฟามาโคเปีย] (n, pharm) หนังสือตำรายาฉบับสากล ยอมรับและใช้กันทั่วโลก บอกข้อมูลเกี่ยวกับยาและวิธีการตรวจสอบยาในหัวข้อต่างๆ หัวข้อใน pharmacopoeia เช่น Description, Purity rubric, Identification, Assay เป็นต้น Pharmacopoeia ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น USP(pharmacopoeia ของUSA), BP(pharmacopoeia ของBritish) JP(pharmacopoeia ของ Japan) ปัจจุบันประเทศไทยมี pharmacopoeia เป็นของตัวเองแล้ว โดยใช้อักษรย่อว่า TP จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ |
worldwide slump in prices | (phrase) ราคาสินค้าตกต่ำไปทั่วโลก |