Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Very high radiation area | บริเวณรังสีสูงมาก, บริเวณที่มีการแผ่รังสีปริมาณสูงมากซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณนั้นที่ระยะห่าง 1 เมตร จากต้นกำเนิดรังสี หรือ พื้นผิวที่รังสีทะลุผ่านได้รับปริมาณรังสีดูดกลืนเกิน 5 เกรย์ ในเวลา 1 ชั่วโมง การรับรังสีปริมาณสูงมากมักจะวัดในหน่วยของปริมาณรังสีดูดกลืน เนื่องจากให้ค่าการวัดที่แม่นยำกว่าการวัดปริมาณรังสีสมมูล, Example: [นิวเคลียร์] |
Tenth value layer | ความหนาลดรังสีลงเหลือหนึ่งในสิบ, ความหนาของวัสดุกำบังรังสีซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านให้เหลือ 1 ใน 10 ของปริมาณรังสีเดิม [นิวเคลียร์] |
High radiation area | บริเวณรังสีสูง, บริเวณที่มีการแผ่รังสีปริมาณสูงซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณนั้นที่ระยะห่าง 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี หรือ พื้นผิวที่รังสีทะลุผ่านได้รับปริมาณรังสีสมมูลเกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต ในเวลา 1 ชั่วโมง [นิวเคลียร์] |
Half-thickness | ความหนาลดรังสีลงครึ่ง, ความหนาของวัสดุกำบังรังสีซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณ [นิวเคลียร์] |
Half value layer | ความหนาลดรังสีลงครึ่ง, ความหนาของวัสดุกำบังรังสีซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณรังสีเดิม [นิวเคลียร์] |
radiolytic products | เรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี [พลังงาน] |
choroid | โครอยด์, ชั้นของเนื้อเยื่อลูกตา อยู่ถัดชั้นสเคลอราเข้าไป (ดู eye ball ประกอบ) เป็นชั้นที่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง มีรงควัตถุกระจายอยู่มาก ช่วยป้องกันไม่ให้แสงทะลุผ่านชั้นจอตาไปยังด้านหลังของนัยน์ตาได้โดยตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
total reflection | การสะท้อนกลับหมด, ปรากฏการณ์ที่แสงผ่านจากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่า เมื่อมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต ลำแสงจะไม่ทะลุผ่านไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยกว่าแต่จะสะท้อนกลับเข้ามาในตัวกลางเดิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
filter | แผ่นกรองแสง, แผ่นวัสดุโปร่งแสงซึ่งมีสมบัติดูดกลืนแสงบางสีได้ ถ้านำแผ่นกรองแสงสีใดมากั้นทางเดินของแสงสีขาว แผ่นกรองแสงจะให้แสงสีนั้นทะลุผ่านไปได้โดยจะดูดกลืนแสงสีอื่นไว้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
beta ray [ β-ray ] | รังสีบีตา, รังสีชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี ธาตุกัมมันตรังสีบางธาตุแผ่รังสีบีตาที่เป็นอิเล็กตรอน แต่ธาตุกัมมันตรังสีบางธาตุแผ่รังสีบีตาที่เป็นโพซิตรอน มีอำนาจการทะลุผ่านสูงกว่ารังสีแอลฟา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alpha ray [ α - ray ] | รังสีแอลฟา, รังสีชนิดหนึ่งแผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก คือ เป็นนิวเคลียสของ อะตอมของธาตุฮีเลียม ประกอบด้วย 2 โปรตอน และ 2 นิวตรอน มีอำนาจทะลุผ่านน้อยมาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
opaque object | วัตถุทึบแสง, วัตถุที่ไม่ให้แสงทะลุผ่าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
transparent object | วัตถุโปร่งใส, วัตถุที่ให้แสงทะลุผ่านได้และสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่อีกข้างหนึ่งได้ชัดเจน เช่น กระจกใส กระดาษแก้ว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |