ทศพิธราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ตบะ | การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบางหรือการข่มกิเลส, ธรรมข้อที่ ๖ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). |
ทาน ๑, ทาน- | สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในสังคหวัตถุและทศพิธราชธรรม. (ดู สังคหวัตถุและทศพิธราชธรรม). |
บริจาค | (บอริจาก) น. การสละ, การให้, การแจก, ความเสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). |
มัททวะ | น. ความอ่อนโยน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธ-ราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). |
ราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง เรียกว่า ทศพิธราชธรรม มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ศีล | (สีน) น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม (ดู ทศพิธราชธรรม) |
อวิโรธน์, อวิโรธนะ | (อะวิโรด, อะวิโรทะนะ) น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). |
อวิหิงสา | น. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). |
อักโกธะ | น. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธ-ราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). |
อาชวะ | (อาดชะวะ) น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). |