กรรุณา | (กฺระรุ-, กันรุ-) น. กรุณา เช่น ถ้าทรงพระกรรุณา (สามดวง), แม้นทรงธรรม์กรรุณาประชาราษฎร์ (อภัย). |
กระสัน | กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร (คาวี) |
กะหลาป๋า ๑ | บางทีเขียนเป็น กาหลาป๋า เช่น มีพระคลังพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศ เครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม) |
ใช้บน | ก. แก้บน เช่น ดีใจที่จะได้จรจรัล ตามเสด็จทรงธรรม์ไปใช้บน (อิเหนา). |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์ |
ทิพพยาน | (ทิบพะยาน) น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ในสามดวงเขียนเป็น ทิพญาณ หรือ ทิพพญาณ, ทิพยพยาน ก็ว่า. |
ทิพยพยาน | น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่เชื่อถือได้ เช่น ภิกษุผู้ทรงธรรม พราหมณาจารย์ผู้ทรงศีลพรต นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ทรงธรรม ขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์, ทิพพยาน ก็ว่า. |
ธรรมธาดา | น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
ธรรมราชา | น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, ชื่อหนึ่งของพญายม. |
ธรรมิก, ธรรมิก- | (ทำมิก, ทำมิกกะ-) ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. |