กระหมวด ๒ | น. จอมประสาทหัวช้าง เป็นอวัยวะสำคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา. |
ไขว่คว้า | ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า. |
คว้าไขว่ | (-ไขฺว่) ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, ไขว่คว้า ก็ว่า. |
คุณนาม | (คุนนะ-) น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช |
โคไซน์ | น. โคเซแคนต์ของมุมใดคือ อัตราส่วน ในเมื่อถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก(ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. |
จันทรคติ | น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึงเดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. |
ชิงทรัพย์ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม. |
ไซน์ | น. ไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน ในเมื่อถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. |
ดอกผลธรรมดา | น. สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปรกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ น้ำนม ขน และลูกของสัตว์. |
ดอกผลนิตินัย | น. ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า เงินปันผล. |
เดือนจันทรคติ | (-จันทฺระคะติ) น. เดือนที่กำหนดโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันขึ้น ๑ ค่ำไปถึงวันเดือนดับถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที เรียกชื่อตามลำดับจากเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เรื่อยไปจนถึงเดือนสิบสอง. |
ตกว่า | ว. คือ, คือว่า, รวมความว่า, ลงความว่า, ถือเอาว่า, บางทีใช้ว่า ตก ก็มี เช่น ตกมีฤทธิไกรกว่าพี่ยา (อิเหนา). |
ตะเข็บ ๑ | น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับกิ้งกือ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวน้อยกว่า ๕-๖ เซนติเมตร ลำตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๒ คู่ และขายาวกว่าปล้องลำตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Orthomorpha ในวงศ์ Paradoxsomatidae ไม่มีตา, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก. |
ถือศักดินา | ก. มีศักดิ์โดยถือเอานาเป็นหลักในการกำหนดอำนาจและปรับไหม. |
ถือสา | ก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่น เรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา. |
ทรัพย์นอกพาณิชย์ | น. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย. |
ทรัพย์สิน | น. วัตถุที่มีรูปร่าง รวมทั้งวัตถุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร กระแสไฟฟ้าที่ส่งตามสาย เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง. |
ทึกทัก | ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. |
เทอก, เทิก | ก. ถือเอา, พาไป, เช่น อินทรท่านเทอกโฉมเอา สู่ฟ้า (กำสรวล). |
ธรรมปฏิสัมภิทา | น. ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้, เป็นธรรมข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. |
นับ | ถือเอาว่า เช่น มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่. |
บริคณห์ | ความกำหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. |
บุกรุก | ยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เพื่อถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม |
ปฏิญญา | (ปะตินยา) น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. |
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | น. ข้อผูกพันที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้. |
มาตรฐาน | (มาดตฺระ-) น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ยังไม่เข้ามาตรฐาน. |
ยึด | ก. จับไว้ให้แน่น เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, ถือเอาไว้ เช่น ยึดธรรมะเป็นที่พึ่ง, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น เพื่อนยึดตัวไว้ เลยมาไม่ทัน |
แย่งชิง | ก. ยึดถือเอาทรัพย์หรือประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น. |
รับ | ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร |
ฤดู | (รึ-) น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กำหนดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดูถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์ |
ลง | ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย |
ศก ๒ | น. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก |
สมมต, สมมติ, สมมติ-, สมมุติ, สมมุติ- | (สมมด, สมมด, สมมดติ-, สมมุด, สมมุดติ-) สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. |
สมาทาน | (สะมา-) ก. รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล. |
สิทธิเก็บกิน | น. สิทธิ์เหนืออสังหาริมทรัพย์ อันเป็นเหตุให้ผู้ทรงสิทธินั้นมีสิทธิ์ครอบครองใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งอสังหา-ริมทรัพย์นั้น. |
หยุมหยิม | ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องสำคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก. |
หลังคาเรือน | น. เรือนหรืออาคารที่ถือเอาทะเบียนบ้านเป็นหลักในการนับ เช่น หมู่บ้านนี้มี ๓๐ หลังคาเรือน. |
หาร ๒ | การนำไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น บริหาร อวหาร. |
หาริน, หารี | ว. ถือเอา, นำไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้. |
อทินนาทาน | (อะทิน-) น. การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แก่ตน, การลักทรัพย์. |
อทินนาทายี | น. ผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, ขโมย. |
อ้าง | ถือเอา เช่น อ้างสิทธิ. |
อาทาตา | น. ผู้ถือเอา, ผู้รับ. |
อาทาน | น. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น อุปาทาน สมาทาน. |
อาหระ | การถือเอา. |
อุดรพยาน | น. กลพยานประเภทหนึ่ง เป็นพยานที่พอถือเอาเป็นมูลความได้ เช่น นายหัวพันหัวปากภูดาษ พะทำมะรง จ่าเสมียนนักการ พ่อค้าแม่ค้า คนทำไร่ไถนา (สามดวง). |
อุบ ๒ | ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปากไว้แล้ว อุบละนะ. |
เอาจริง ๑, เอาจริงเอาจัง | ว. ตั้งใจทำอย่างจริงจัง, ถือเอาเป็นแน่นอน. |
attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น |
materialist | (มะเทีย'เรียลลิสทฺ) n. ผู้ยึดถือเอาวัตถุเป็นสำคัญ, ผู้ยึดถือลัทธิ'materialism, See also: marterialistic adj. maeterialistically adv. |
seize | (ซีซ) vt., vi. จับ, จับกุม, จับตัว, ยึด, ฉวย, ถือเอา, ยึดครอง, ยึดถือ, ชิง, ครอบงำ, ครอบครอง, เข้าใจ, ถือโอกาส., See also: seizable adj. seizer n. seizor n., Syn. take, grasp, apprehend |
self-centered | (เซลฟฺ'เซนเทิร์ด) adj. คำนึงถึงตัวเอง, มุ่งแต่ตัวเอง, เห็นแก่ตัว, ถือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง, Syn. self-important, selfish, conceited |
self-centred | (เซลฟฺ'เซนเทิร์ด) adj. คำนึงถึงตัวเอง, มุ่งแต่ตัวเอง, เห็นแก่ตัว, ถือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง, Syn. self-important, selfish, conceited |