กระดี่ ๔ | ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่. |
เข้ารหัส | ก. เปลี่ยนสารธรรมดาให้เป็นสารลับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทนซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้กุญแจรหัสเท่านั้น. |
คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า | ไม่พอใจภาวะที่เป็นอยู่ ขณะที่คนอื่นต้องการจะมาอยู่ในภาวะนั้น. |
คาย ๑ | ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย |
ซอกแซก | ก. ไปทั่วทุกแห่งทุกที่ที่ต้องการจะไปหรือที่คนอื่นไม่คิดจะไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ในความว่า ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามในเรื่องที่ต้องการจะรู้หรือเรื่องที่คนอื่นไม่คิดจะถามด้วยความอยากรู้อยากเห็น ในความว่า ซอกแซกถาม. |
ติดตา ๑ | น. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ด้วยการแซะตาของต้นที่ต้องการขยายพันธุ์ไปติดที่ต้นหรือกิ่งของอีกต้นหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยกรีดเปลือกตรงที่ต้องการจะนำตาไปติดให้เผยออก สอดตาให้แนบกับเนื้อไม้ ใช้แถบพลาสติกพันให้แน่นเว้นเฉพาะส่วนที่เป็นตา. |
รหัส | (-หัด) น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้, ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. |
สละ ๔ | ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส. |
สัมภาษณ์ | น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ |
Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
Dipsomania | บ้าดื่มสุรา, ความต้องการจะดื่มสุราอยู่ตลอดเวลา [การแพทย์] |
controlled experiment | การทดลองที่มีการควบคุม, การทดลองที่มีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ยกเว้นตัวแปรที่ต้องการจะทดลองเพื่อให้สามารถสังเกตผลจากตัวแปร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sketch | ภาพร่าง, ภาพที่แสดงรายละเอียดของแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เกิดจากการลำดับความคิดหรือจินตนาการในสิ่งที่เราต้องการจะอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ภาพร่าง 2 มิติ ภาพร่าง 3 มิติ และภาพฉาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Kleptomania | บ้าหยิบฉวยสมบัติของผู้อื่น, เคล็ปโตแมเนีย, ความต้องการจะขโมยโดยไม่สามารถบังคับใจได้ [การแพทย์] |
binary search | การค้นหาแบบทวิภาคหมายถึง วิธีการค้นหาโดยใช้ระบบแบ่งครึ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นสองส่วน การค้นหาตัวที่ต้องการจะต้องเลือกหาจากข้อมูลทีละส่วน โดยใช้วิธีเดิมคือแบ่งเป็นสองส่วนย่อย หากพบในส่วนที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาหาในอีกส่วนหนึ่งอีกต่อไป |
disk drive | หน่วยจานบันทึกหน่วยขับจานบันทึกหน่วยขับแผ่นบันทึกหมายถึง กลไกส่วนที่ใช้หมุนจานบันทึกให้ผ่านหัวอ่านหรือหัวบันทึก (read/write head) ทำให้ สามารถนำข้อมูลที่บันทึกอยู่ในจานบันทึกมาประมวลผลได้ หากต้องการจะบันทึกข้อมูลใหม่ลงไป ก็ สามารถบันทึกได้เช่นเดียวกัน |
fatbits | แฟตบิตส์เมื่อต้องการจะนำภาพมาขยายบนจอภาพเพื่อให้มองเห็น ส่วนละเอียดได้ดียิ่งขึ้น วิธีทำก็คือ ขยายขนาดของจุดซึ่งเป็น องค์ประกอบ สำคัญของภาพให้ใหญ่หรือให้อ้วน ขึ้นตามชื่อ ที่ใช้เรียกเพื่อจะได้แก้ไขได้ง่าย จุดที่นำมาขยายขนาดนี้ ที่ เรียกว่า "แฟตบิตส์" |
file conversion | การแปลงสภาพแฟ้มหมายถึง การแปลงรูปแบบ (format) การเก็บข้อมูลจาก แบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้นำไปใช้กับโปรแกรม ต่างชนิดกันได้ เช่น ถ้าต้องการจะใช้โปรแกรม Word Perfect เรียกแฟ้มข้อมูลที่พิมพ์เก็บไว้โดยใช้โปรแกรม WordStar มาดูบนจอภาพ ก็จะต้องมีการแปลงสภาพแฟ้มจากแฟ้ม ข้อมูลของ Word Perfect เป็น WordStar ก่อน ดู import ประกอบ |
insertion pointer | ตัวชี้การแทรกหมายถึง ตัวชี้ตำแหน่งที่มีลักษณะคล้าย I (เรียกว่า I Beam) ถ้าต้องการจะพิมพ์แทรกลงไปที่ตรงไหน ให้นำตัวนี้ไปวางไว้ตรงนั้น อักขระที่พิมพ์ใหม่ก็จะแทรกลงไปตรงนั้น |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
program window | หมายถึง วินโดว์ที่มองเห็นบนจอภาพหลังจากที่กดเมาส์สั่งเริ่มโปรแกรม ถ้าหากต้องการจะใช้โปรแกรมนั้น ต้องใช้คำสั่ง FILE...new หรือ open จะทำให้เห็นวินโดว์ใหม่เรียกว่า วินโดว์เอกสาร (document window) แล้วจึงจะเริ่มทำงานได้มีความหมายเหมือน application windowดู document window เปรียบเทียบ |
rem | ย่อมาจากคำว่า remark เป็นคำสั่งหนึ่งในโปรแกรมที่ทำให้สามารถเพิ่มข้อความเข้าไปในโปรแกรมได้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยที่จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อโปรแกรมเลย (คอมพิวเตอร์ไม่นำไปประมวลผล) ส่วนมากจะใช้ในการบันทึก หรือทำหมายเหตุ หรือใช้บรรยายความที่ต้องการจะให้มีเก็บไว้ในโปรแกรมด้วย เพื่อกันลืม หรือเพื่อให้ผู้ใช้อื่นเข้าใจ) |
shift+drag | กดแป้น Shift พร้อมกับลากเมาส์หมายถึงการกดแป้นShift แช่ไว้ แล้วใช้เมาส์ดึงจุดที่มุมของภาพเข้าหรืออก ใช้เมื่อต้องการจะหดหรือขยายภาพ จะทำให้ภาพหดหรือขยายอย่างได้สัดส่วน |