กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
ขานกยาง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tol (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้าง เรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉียบ แต่พอ ๆ กับปลาสีเสียด ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากไม่กว้างนัก ท้ายขากรรไกรบนอยู่ในแนวใต้จุดศูนย์กลางของตา เกล็ดเล็กและยาวมากคล้ายเข็มฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกเป็นหนามแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวสีเงินเทา มีจุดสีเทาดำอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๔๓ เซนติเมตร. |
แขยง ๑ | (ขะแหฺยง) น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน ( Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [ Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan) ] แขยงธงหรือแขยงหมู ( M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู ( Bagrichthys obscures Bleeker). |
เฉลียบ ๑ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tala (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างและกว้างใกล้เคียงกับปลาสละ แต่มากกว่าปลาสีเสียดและปลาขานกยางซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากกว้าง ท้ายขากรรไกรบนยาวเลยแนวขอบหลังของตาเพียงเล็กน้อย เกล็ดเล็กยาวคล้ายเสี้ยนฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวด้านบนสีเงินเทา ด้านข้างสีเงิน มีแต้มรูปไข่ยาวรีเรียงขวางอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๔-๘ แต้ม ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เสลียบ ก็เรียก. |
ดัก ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร. |
ดุกทะเล | น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Plotosus lineatus (Thunberg) และ P. canius (Hamilton) ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วนครีบหลังตอนที่ ๒ ต่อเนื่องกับครีบก้นและครีบหางยาว, สามแก้ว ปิ่นแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก. |
ต้น ๒ | น. ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือน ต้นปี ต้นความ |
ต้นมือ | น. ตอนแรก ๆ เช่น ต้องสอนเด็กให้มีสัมมาคารวะเสียแต่ต้นมือ ถ้าโตแล้วจะสอนลำบาก. |
ต้นร้ายปลายดี | น. ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง. |
ตบหัวลูบหลัง | ก. ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้วกลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง. |
ทู ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma (Bleeker) ในวงศ์ Scombridae หัวท้ายเรียว ลำตัวแบนข้าง เกล็ดเล็กบาง ด้านหลังสีน้ำเงินอมเขียว ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้ามกับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดำ ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน คอดหางแคบ อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. |
anaphora | (อะแนฟ' เฟอระ) n. การเขียนซ้ำคำในตอนแรกเริ่มของโคลงหรืออนุประโยคหรือประโยค |
opening | (โอ'พะนิง) n. การเปิด, การเปิดเผย, ที่โล่ง, กลางแจ้ง, รูเปิด, ช่อง, การเริ่ม, ตอนแรก, การฉลองการเปิดปฐมฤกษ์, ตำแหน่งงานที่ว่าง, โอกาส, การเปิดเกม, Syn. hole, gap, start |
port | (พอร์ท) n. ท่าเรือ, เมืองท่า, ท่า, ท่าอากาศยาน, ท่าด่าน , ช่องทางเข้า/ออกช่องทาง1. หมายถึง ช่องสำหรับเสียบสายเคเบิลที่อยู่ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ถ้าไม่เป็นแบบอนุกรม (serial) ก็จะเป็นแบบขนาน (pararell) 2. การที่ทำให้โปรแกรมที่ใช้ระบบปฏิบัติการหนึ่ง ไปใช้กับอีกระบบปฏิบัติการหนึ่ง ได้ ทั้ง ๆ ที่ในตอนแรก ผู้เขียนโปรแกรมไม่ได้ตั้งใจให้ใช้กับระบบปฏิบัติการนั้น, Syn. harbour |