กัมพุช ๑, กัมพุช- | (กำพุด, กำพุดชะ-) น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย, กัมโพช ก็ใช้. |
กัมโพช | (กำโพด) น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย, กัมพุช ก็ใช้. |
คีรีบูน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ Serinus pusillus (Pallas) ]. |
แคน | น. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็ก ๆ ซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๓ คู่ จนถึง ๙ คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ ๘ ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน. |
ชอง | น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร มีมากทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สำเร หรือ ตำเหรด, เขมรเรียกว่า ปอร์. |
ซาบะ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลาง มี ๓ ชนิด คือ ชนิด Scomber australasicus Cuvier ชนิด S. japonicas Houttuyn และชนิด S. scombrus Linn. ในวงศ์ Scombridae ลำตัวกลมยาว เรียวไปทางคอดหาง ชนิดแรกมีลวดลายสีน้ำเงินเข้มเป็นเส้นทะแยงหยักเรียงขนานชิดกันเป็นระเบียบอยู่เหนือเส้นข้างตัว ที่ต่ำลงไปจนถึงท้องลวดลายจะแตกเป็นจุดประสีเทาจางกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนชนิดที่ ๒ มีลวดลายหยิกหยักสีน้ำเงินจางกว่า และกินบริเวณเกือบถึงแนวกลางลำตัว ๒ ชนิดแรกเป็นปลาฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ชนิดที่ ๓ มีลายสีน้ำเงินเป็นริ้วขวางอยู่ครึ่งบนของลำตัว พบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน. |
ตอน ๑ | น. ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ (ใช้แก่สิ่งที่มีความยาว) เช่น ถนนวิภาวดีรังสิตตอนที่ผ่านดอนเมืองรถติดมาก โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย. |
เต่าเดือย | น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก. |
เต่าปูลู | น. ชื่อเต่าน้ำจืดชนิด Platysternon megacephalum Gray วงศ์ Platysternidae หัวโตมากและแข็งหดเข้ากระดองไม่ได้อย่างเต่าชนิดอื่น ปลายปากเป็นจะงอย กระดองหลังยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร หางยาวเท่ากับหรือยาวกว่ากระดองหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขาสูง ปีนป่ายโขดหินหรือต้นไม้เตี้ย ๆ ได้ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยอาจพบถึง ๓ ชนิดย่อย คือ ปูลูเหนือ (P. m. megacephalum Gray), ปูลูพม่า (P. m. peguens Gray) และปูลูไทย ( P. m. vogeli Wermuth) พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันตก. |
เย้า ๑ | น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้ว–เย้า. |
ละว้อ, ละว้า ๑ | น. คนชาวเขาตอนเหนือประเทศไทยพวกหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร. |
เลีย | เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด |
เวียด | น. ชนชาติเก่าแก่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ปัจจุบันคือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเวียดนาม. |
หงส์ ๒ | (หง) น. ชื่อนกจำพวกเป็ดขนาดใหญ่หลายชนิด วงศ์ย่อย Cygninae ในวงศ์ Anatidae คอยาว เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกา และตอนเหนือของทวีปเอเชีย เช่น หงส์ขาว [ Cygnus olor (Gmelin) ] หงส์ดำ [ C. atratus (Latham) ] หงส์คอดำ [ C. melanocorypha (Molina) ]. |
หางนกยูง ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ออกลูกเป็นตัว ชนิด Poecilia reticulata Peters ในวงศ์ Poeciliidae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นปลาสวยงาม ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต ตัวผู้มีขนาดโตได้ยาวเพียง ๓ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียยาวได้ถึง ๖ เซนติเมตร, กินยุง ก็เรียก. |