One day, Father Khwan Khao brought Khwan Khao to leave with Grandpa. | วันหนึ่งคุณพ่อของขวัญข้าวพาขวัญข้าวมาฝากไว้กับคุณปู่ เพราะคุณพ่อต้องไปขับรถส่งผู้โดยสารที่กรุงเทพมหานคร วันนี้คุณปู่พาขวัญข้าว มาดูข้าวที่คุณปู่ได้ปลูกไว้ จนถึงเย็นฝนก็ตกลงมา ขวัญข้าวจึงพูดว่าคุณปู่ตะรีบเข้าบ้านเดี๋ยวไม่สบาย คุณปู่จึงพูดว่าฝนไม่ได้ทำให้ไม่สบายหรอก แต่ต้องไปอาบน้ำ ตอนกลางคืนฝนก็ตกหนักมาก จนขวัญข้าวนอนไม่หลับ ขวัญข้าวตื่นมาให้คุณปู่เล่านิทานให้ฟังปู่เล่านิทานให้ฟังก็ได้ปู่ตอบ มีอยู่วันหนึ่งในดินเเดนแห้งเเร้งทุกคนไม่มีน้ำดื่ม จนกระทั่งวันหนึ่งมีจอบตกลงมาจากบนท้องฟ้า ทุกคนจึงหยิบจอบมาเพื่อขุด แต่ในดินแดนก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทุกคนจึงเลิกขุด เเต่มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งขุดไปเรื่อยๆจากที่ขุด1ไร่กลายเป็น2ไร่จากที่ขุด2ไร่กลายเป็น4ไร่ จนเด็กผู้ชายคนนั้นก็ล้มลง จากนั้นฝนก็ได้ตกลงมา ทุกคนจึงมีชีวิตอยู่ พอคูณปู่เล่าเสร็จคุณปู่หันไปไหว้รูปในหลวงรัชกาลที่่9 วันต่อมาโรงเรียนของขวัญข้าวมีกิจกรรมขายของ ขวัญข้าวจึงทำวุ้นมะพร้าวจากสีธรรมชาติ จอมขายมะม่วงกวน วันต่อมาคุณพ่อของขวัญข้าวมาหาขวัญข้าว แล้วทุกคนจึงเปิดโครงการ"ของขวัญจากดิน" เพราะทุกอย่างที่นำมาขายล้วนแต่ปลูกมาจากดbo |
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (รด.), หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง, กรมการรักษาดินแดน | (n, org, uniq) Territorial Defense Command, Army Reserve Command, Territorial Defence Department |
เสรีภาพแห่งการพอเพียง | [พอเพียงเพื่อเสรีภาพ] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, pron, phrase, colloq, abbrev, name, org, uniq) เสรีภาพกระผมอย่างยกตัวอย่างที่ในหลวงร9และร10พยายามทำอยู่และส่งเสริมอย่างยิ่งมันคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานแห่งชีวิตของทุกคนไม่ว่าคุณจะอดอยากประเทศยากจนในดินแดนต่างๆทั่วโลกไทยคือครัวโลกเรายินดีแบ่งปันความรู้เศรฐกิจพอเพียงนี้ด้วยพืชและสูตรการทำอาหารของไทยที่มีมากมายใข่2ฟองก็สามารถสร้างเมนูเพื่อยังชีพได้เกิน10อย่างผัดทอดนึ่งต้ม |
กันชน | น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ว่า ประเทศกันชน หรือ รัฐกันชน. |
แคว้น | (แคฺว้น) น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ |
ฉนวน ๓ | (ฉะหฺนวน) น. ดินแดนที่มีทางออกทะเลหรือที่ทำให้ดินแดนถูกแยกออกเป็น ๒ ฟาก. |
ชมพูทวีป | น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังกลาเทศในปัจจุบัน |
ตาด ๔ | น. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวกตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไปจนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก. |
บูรณภาพ | น. ความครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น บูรณภาพแห่งดินแดน บูรณภาพแห่งอาณาเขต. |
ประเทศกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, รัฐกันชน ก็เรียก. |
ปลอดทหาร | น. เรียกดินแดนหรือเขตที่ไม่มีที่ตั้งกองทหารตามสนธิสัญญาหรือข้อตกลง ว่า เขตปลอดทหาร. |
ผนวก | (ผะหฺนวก) ก. เพิ่มเข้า, บวกเข้า, เช่น ผนวกดินแดน. |
ภูมิศาสตร์ | (พูมิ-) น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก. |
ภูมิศาสตร์ประวัติ | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก. |
มัชฌิมชนบท | น.ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ. |
รัฐกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, ประเทศกันชน ก็เรียก. |
รุกล้ำ | ก. รุกล่วงล้ำเข้าไป เช่น รุกล้ำอธิปไตย รุกล้ำดินแดน. |
สิทธิสภาพนอกอาณาเขต | น. สิทธิพิเศษที่จะใช้กฎหมายของประเทศหนึ่งบังคับแก่บุคคลที่เป็นพลเมืองของตนที่ไปอยู่ในดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง. |
สุวรรณภูมิ | (สุวันนะพูม) น. ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณครอบคลุมพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์. |
อาณัติ | การมอบหมายให้ดูแลปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. |
right of discovery | สิทธิเหนือดินแดนที่ค้นพบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
rule relating to territorial extent | กฎว่าด้วยขอบเขตแห่งดินแดน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
self-governing territory | ดินแดนที่ปกครองตนเอง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
self-governing territory | ดินแดนที่ปกครองตนเอง [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
annexation | การผนวกดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
annexation | ๑. การผนวก๒. การผนวกดินแดน (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
acquisition | การได้มาซึ่งดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Anschluss (G.) | การผนวกดินแดนโดยใช้อำนาจ, การรวมดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
jus soli (L.) | หลักกฎหมายสัญชาติโดยดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
jus soli (L.) | กฎหมายที่กำหนดสัญชาติตามดินแดน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
birth, citizenship by | การได้สัญชาติโดยการเกิดในดินแดน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
condominium | ๑. อำนาจปกครองดินแดนร่วมกัน (ของหลายรัฐ)๒. ดินแดนใต้การปกครองร่วม๓. กรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุด๔. อาคารชุด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
condominium | ๑. อำนาจปกครองดินแดนร่วมกัน (ของหลายรัฐ) (ก. ระหว่างประเทศ)๒. กรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุด (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
citizenship by birth | การได้สัญชาติโดยการเกิดในดินแดน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conquest | การพิชิตดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
conquest | การพิชิตดินแดน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dominion | ๑. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ (ก. แพ่ง)๒. การมีอธิปไตยเหนือ (ดินแดนประเทศอื่น) (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dependent territory | ดินแดนในภาวะพึ่งพิง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
discovery, right of | สิทธิเหนือดินแดนที่ค้นพบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
freedom of movement for workers | เสรีภาพของคนทำงานที่จะเข้าไปทำงาน [ ในดินแดนของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enclave | ดินแดนแทรก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
exclave | ดินแดนส่วนแยก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
integrity, territorial | บูรณภาพแห่งดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
irredentism | อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนของชนชาติเดียวกัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
territory | อาณาเขต, ดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
territory | อาณาเขต, ดินแดน [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
territory, trust; trust territory | ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
territorial extent, rule relating to | กฎว่าด้วยขอบเขตแห่งดินแดน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
territorial integrity | บูรณภาพแห่งดินแดน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
trust territory; territory, trust | ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
trust territory | ดินแดนในภาวะทรัสตี (ของสหประชาชาติ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
territorial | เกี่ยวกับดินแดน, เกี่ยวกับอาณาเขต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
non-self-governing territory | ดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
workers, freedom of movement for | เสรีภาพของคนทำงานที่จะเข้าไปทำงาน [ ในดินแดนของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Tax haven | ดินแดนปลอดภาษี [เศรษฐศาสตร์] |
continental shelf | ไหล่ทวีป ไหล่ทวีปของรัฐชายฝั่งประกอบด้วย พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตของรัฐตลอดส่วนต่อออกไปตามธรรมชาติของดินแดนทางบกของ ตนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตในกรณีที่ริมนอกของ ขอบทวีปขยายไปไม่ถึงระยะนั้น [การทูต] |
delimitation | การกำหนดเขตแดน (ทางบก) / การแบ่งเขตแดน (ทางทะเล) การกำหนด หรือการอธิบาย หรือการจำกัดความขอบเขตของดินแดนของประเทศ [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Freedom of Movement of Diplomatic Agents | เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] |
jus soli (ภาษาลาติน) | กฎหมายที่กำหนดสัญชาติตามหลักดินแดน [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
PA | Palestinian Authority หรือ Palestinian National Authority (PNA) เป็นองค์การบริหารดินแดนยึดครอง (Occupied Territories) ในเขต Gazza และเขต West Bank ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นผลจากความตกลงออสโล (Oslo Accords) ระหว่างอิสราเอลกับ Palestinian Liberation Organization (PLO) เพื่อเป็นองค์กรบริหารดินแดนยึดครองก่อนที่การเจรจา Final Statua จะประสบความสำเร็จ [การทูต] |
Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] |
Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] |
The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] |
War Crimes | อาชญากรรมสงคราม ตามกฎบัตรต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการพิจารณาลงโทษ อาชญากรสางคามที่สำคัญ ๆ ของฝ่ายอักษะยุโรป (European Axis) การกระทำต่อไปนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามคือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีของการสงคราม เช่น การฆ่า การปฏิบัติอันโหดร้าย หรือการขับคนไปทำงานเยี่ยงทาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ซึ่งกระทำต่อราษฎรพลเรือนของดินแดนที่ถูกยึดครอง การฆ่าหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเชลยศึกหรือบุคคลในท้องทะเล การฆ่าตัวประกัน การปล้นสะดมทรัพย์สินสาธารณะหรือส่วนบุคคล การทำลายล้างตัวเมืองหรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็นในแง่การทหาร [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Far East | ดินแดนตะวันออกไกล [การแพทย์] |
breadbasket | (n) ดินแดนส่วนที่ผิดอาหารจำนวนมากให้ประเทศ |
bridgehead | (n) ที่มั่นของกองทัพที่อยู่ในดินแดนข้าศึก |
brownfield | (adj) ซึ่งเป็นดินแดน |
celestial sphere | (n) สวรรค์, See also: ดินแดนในจิตนาการที่อยู่บนท้องฟ้า, Syn. empyrean, heavens |
dominion | (n) อาณาจักรปกครอง, See also: ดินแดนที่ครอบครอง, Syn. possession, empire, kingdom |
dreamland | (n) ดินแดนในฝัน |
Elysium | (n) ดินแดนสวรรค์ในเทพปกรนัมของกรีก, Syn. heaven, Elysian Fields, paradise |
enclave | (n) ประเทศหรือดินแดนเล็กๆ ที่มีวัฒนธรรมและเชื้อชาติแตกต่างจากดินแดนอื่นที่ล้อมรอบอยู่ |
Etruria | (n) ดินแดนทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมอิตาลี |
exotic | (adj) มาจากต่างประเทศ, See also: มาจากดินแดนอื่น, มาจากภูมิภาคอื่น, Syn. foreign |
faerie | (n) ดินแดนในเทพนิยาย, See also: ดินแดนเนรมิตในนิทาน, Syn. fairyland, faery, wonderland |
fairyland | (n) แดนสวรรค์, See also: ดินแดนหรรษา |
Hittite | (n) ชนชาติหนึ่งในเอเชียสมัยโบราณที่ปกครองดินแดนในเอเชียไมเนอร์และทางเหนือของซีเรีย |
independency | (n) รัฐอิสระ, See also: ดินแดนอิสระ, ดินแดนที่เป็นเอกราช |
inland | (adv) เข้าในประเทศ, See also: ภายในดินแดน, Ant. seawards |
irredentism | (n) ลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน (ในอิตาลีปีค.ศ.1878) |
kingdom | (n) ราชอาณาจักร, See also: อาณาจักร, ดินแดน, ประเทศที่ปกครองโดยพระราชาหรือพระราชินี, Syn. realm |
land | (n) อาณาจักร, See also: ขอบเขตปกครอง, ดินแดน, เขต, Syn. realm, domain |
latitude | (n) พื้นที่ใกล้เส้นรุ้ง (ใช้ในรูปพหูพจน์), See also: ดินแดน, แถบ |
mediatize | (vt) เข้ายึดดินแดนอื่น, See also: เข้ายึดประเทศอื่น, Syn. colonize, subjugate |
National Guard | (n) กองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติ (สัญลักษณ์ย่อ NG / N.G.) |
never-never land | (n) ดินแดนมหัศจรรย์ |
New England | (n) ดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา |
Palestine | (n) ดินแดนปาเลสไตน์ (มักเรียกว่าเป็น the Holy Land) |
Peter Pan | (n) ปีเตอร์แพน (เด็กหนุ่มไม่เคยแก่แห่งดินแดน Neverland) |
possession | (n) สิ่งที่ครอบครองอยู่, See also: ทรัพย์สมบัติหรือดินแดนที่ครอบครอง, Syn. personal property, real estate |
principality | (n) ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าชาย, Syn. realm, country |
protectorate | (n) ผู้อารักขา, See also: ดินแดนในปกครอง |
protectorate | (n) ดินแดนในอารักขา, Syn. colony, dominion, mandate |
realm | (n) ขอบเขต, See also: ดินแดน, บริเวณ, Syn. domain, empire, kingdom |
regional | (adj) เกี่ยวกับดินแดน, See also: เกี่ยวกับบริเวณ, เกี่ยวกับภูมิภาคนั้นๆ, Syn. countrified, provincial |
run down to | (phrv) (ดินแดน) แผ่ไปถึง, Syn. run to |
down under | (sl) ประเทศออสเตรเลีย, See also: ดินแดนในประเทศออสเตรเลีย |
manor | (sl) พื้นที่, See also: เขต, ดินแดน |
Scandinavia | (n) ดินแดนในยุโรปเหนือ, See also: กลุ่มประเทศแถบยุโรปเหนือ ประกอบด้วยประเทศนอรเวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์และ |
secessionist | (adj) ที่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน, See also: ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน, Syn. schismatic, schismatical, seceding |
secessionist | (n) ผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน, See also: ผู้สนับสนุนการถอนตัวออก, ผู้ถอนตัวออกไป, Syn. rebel, seceder, schismatic |
seizure | (n) การยึดครองดินแดนโดยใช้กำลังทหาร, See also: การครอบครองทางทหาร, Syn. occupation, usurpation |
sheikdom | (n) ดินแดนที่อยู่ใต้การปกครองของชีค, Syn. sheikhdom |
sheikhdom | (n) ดินแดนที่อยู่ใต้การปกครองของชีค, Syn. sheikdom |
Sumerian | (adj) ชาวซูมาเรียนของดินแดน Sumer |
territorial | (adj) เกี่ยวกับอาณาเขตหรือดินแดน, See also: เกี่ยวกับที่ดิน, Syn. provincial, regional, sectional |
territory | (n) ดินแดน, See also: พื้นที่ |
urban renewal | (n) การฟื้นฟูดินแดนท้องถิ่นที่เสียหายหรือเสื่อมสลายไปแล้ว, Syn. modernization, gentrification, improvement |
Utopia | (n) ดินแดนในอุดมคติ, See also: ดินแดนในฝัน, รัฐในอุดมคติ, Syn. Shangri-la |
utopia | (n) ดินแดนในอุดมคติ, See also: ดินแดนในฝัน, รัฐในอุดมคติ, Syn. Shangri-la |
utopian | (adj) เกี่ยวกับดินแดนในอุดมคติ, See also: เกี่ยวกับดินแดนที่เชื่อว่ามีความสุขสมบูรณ์ที่สุด |
western | (n) หนังหรือละครที่เกี่ยวกับดินแดนทางตะวันตกของอเมริกา |
wonderland | (n) แดนมหัศจรรย์, See also: ดินแดนที่น่าพิศวง, Syn. utopia |
azerbijan | (อาเซอะไบแจน') n. ชื้อดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย, ชื่อจังหวัดในอิหร่าน., Syn. Azerbaidzhan |
cameroons | (แคมมะรูนซฺ') n. ชื่อดินแดนในอาณัติของเยอร มันสมัยก่อน |
duchy | (ดัช'ชี) n. ดินแดนในความปกครองของท่านดยุคหรือภรรยาท่านดยุค -pl. duchies |
enclave | (เอน'เคลฟว) n. ประเทศที่มีดินแดนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยดินแดนของประเทศอื่น |
free-soil | adj. เกี่ยวกับดินแดนที่ไร้ทาส |
gaul | (กอล) n. เขตดินแดนในยุโรปตะวันตกสมัยโบราณ |
god's country | ดินแดนที่พระเจ้าชอบ |
grassland | (กราส'แลนดฺ) n. ทุ่งหญ้า, ดินแดนที่มีทุ่งหญ้ามาก, Syn. pasture land |
heartland | (ฮาร์ท'แลนด์) n. ดินแดนส่วนกลางที่ยากแก่การถูกโจมตีมักมีความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง |
inland | (อิน'เลินดฺ) adj. ภายในประเทศ, ภายในดินแดน, ท้องถิ่น. adv. ภายในประเทศ, เข้าไปในประเทศ. n. (อิน'แลนดฺ) บริเวณภายในประเทศ, Syn. domestic, internal |
land | (แลนดฺ) { landed, landing, lands } n. ที่ดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ, เขต, ดินแดนของประเทศ vt. ตั้งรกราก, นำไปสู่, ยึด, จับ, จับจอง, นำขึ้นบก. vi. ขึ้นบก, ขึ้นฝั่ง, สู่ -Phr. (the land ที่ดินเกษตรชนบทอาชีพการเกษตรและการปศุสัตว์), Syn. soil, g |
national guard | n. กองทหารรักษาดินแดนของชาติ |
protectorate | (พระเทค'เทอริท) n. ดินแดนในอาณัติ, ผู้อารักขา |
realm | (เรล์ม) n. ราชอาณาจักร, อาณาจักร, บริเวณ, แผ่นดิน, ดินแดน, ขอบเขตล ปริมณฑล |
region | (รี'เจิน) n. บริเวณ, ส่วน, แถบ, ดินแดน, แคว้น, ภูมิภาค, เขตการปกครอง, ขอบเขต, ปริมณฑล, See also: regional adj., Syn. area, place |
sabah | (ซา'บา) n. ชื่อดินแดนส่วนหนึ่งของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว |
secede | (ซีซีด') vt. ถอนตัว (อย่างเป็นทางการจากการเป็นพันธมิตร จากองค์การ จากสมาคมหรืออื่น ๆ) , แบ่งแยกดินแดน., See also: seceder n. |
secession | (ซีเซส'เชิน) n. การถอนตัวออก, การแบ่งแยกดินแดน, See also: secessionist n., adj. secessionism n., Syn. abandonment, withdrawal |
sheikdom | (ชีค'เดิม) n. ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของsheik (ดู) |
sheikhdom | (ชีค'เดิม) n. ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของsheik (ดู) |
soil | (ซอลย์) n. ดิน, พื้นดิน, ดินชนิดใดชนิดหนึ่ง, ที่ดิน, ดินแดน, ที่ทีเหมาะสำหรับเจริญเติบโต, ประเทศ, ภูมิลำเนา, ปิตุภูมิ, เกษตรกรรม, ชีวิตเกษตรกร vt., vi., n. (การ) สกปรก, ้เปื้อน, ด่างพร้อย, มีมลทิน, มัวหมอง., รอยเปื้อน, รอยสกปรก, ด่างพร้อย, มลทิน, ความสกปรก, ความโสโครก, ปุ๋ย. |
southeast asia | n. เอเซียอาคเนย์, ประเทศและดินแดนในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย (ได้แก่บรูไน, พม่า, เขมร, อินโดนีเซีย, ลาว, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ตีมอร์, สิงคโปร, เวียดนาม) . -Sountheast Asian |
territorial | (เทริทอ'เรียล) adj. เกี่ยวกับอาณาเขตหรือดินแดน, เกี่ยวกับบริเวณหนึ่งเฉพาะ, เกี่ยวกับภาคพื้นดิน. n. ทหารภาคพื้นดิน. |
territory | (เท'ริทอ'รี) n. อาณาเขต, ดินแดน, เขต, ดินแดนในแผนที่, ดินแดนในอาณัติ, แนวการปฎิบัติ, แนวความคิด, ขอบข่าย, อาณาจักร |
trusteeship | (ทรัส'ทีชิพ) n. ตำแหน่ง หน้าที่และการดูแลของผู้พิทักษ์, ดินแดนในอารักขา, ดินแดนในอาณัติ |
utopia | (ยูโท'เพีย) n. ดินแดนที่มีสภาพทางการเมือง และสังคมที่สมบูรณ์, ระบบการเมืองหรือสังคมสมบูรณ, Syn. Eden, salvation, bliss -Utopian n., adj. -Utopianism n. |
wonderland | (วัน'เดอะแลนดฺ) n. แดนมหัศจรรย์, ดินแดนที่น่าพิศวง, ประเทศที่น่าพิศวง, สวรรค์ |
zion | (ไซ'เอิน) n. ชาวยิว, ดินแดนปาเลสไตน์อันเป็นดินแดนบ้านเกิดเมืองนอนของชาวยิวและเป็นสัญลักษณ์ของศาสนายิว, สวรรค์., Syn. Sion |
colony | (n) อาณานิคม, ดินแดน, ประเทศอาณานิคม, หมู่คณะ |
dreamland | (n) ดินแดนในความฝัน, โลกแห่งความฝัน |
realm | (n) แผ่นดิน, อาณาจักร, ขอบเขต, ปริมณฑล, ดินแดน, บริเวณ |
region | (n) บริเวณ, ขอบเขต, แถบ, ภาค, แคว้น, ดินแดน |
secede | (vi) แบ่งแยกดินแดน, ปลีกตัวออก, แยกตัวออก |
secession | (n) การแบ่งแยกดินแดน, การปลีกตัวออก, การแยกตัวออก |
territorial | (adj) เกี่ยวกับดินแดน, เกี่ยวกับภาคพื้นดิน |
territory | (n) ดินแดน, ขอบข่าย, อาณาเขต, แนวความคิด, แนวทางปฎิบัติ |