กลด ๑ | (กฺลด) น. เครื่องกั้นกันแดดหรือฝน ลักษณะคล้ายร่มขนาดใหญ่ ขอบมีระบาย คันยาว ใช้ถือกั้นเจ้านาย, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบ ว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. |
กำเนิด | (กำเหฺนิด) ก. เกิด, มีขึ้น, เป็นขึ้น, เช่น โลกกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์. |
ครีษมายัน | (คฺรีดสะ-) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก. |
ค่ำ | ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว. |
คู่ | ว. ลักษณะของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย |
เคราะห์ ๒ | (เคฺราะ) น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า ดาวเคราะห์ มี ๘ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune). |
โคจร, โคจร- | (-จอน, -จะระ-) ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คำนี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. |
เงามัว | ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบบริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส. |
เงามืด | ส่วนที่มืดมิดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เวลามีคราส. |
จักรราศี | น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจำของดวงอาทิตย์ซึ่งดูเสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้ ๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทางโหราศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. |
จันทรุปราคา | (จันทฺรุปะราคา, จันทะรุบปะราคา) น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้เงาของโลกตกลงบนดวงจันทร์บางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) จันทรคราส. |
จับ | กินหรือกลืน ในความว่า คราสจับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ |
ชินโต | น. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคำสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า. |
ซัด ๒ | วิถีดวงอาทิตย์จากเหนือไปใต้ เช่น พระอาทิตย์ซัดไปซัดมา (ศริพจน์) |
ดาวเคราะห์ | น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๘ ดวง คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) มองจากโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์. |
ตกดิน | ก. อาการที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป. |
ตระวัน | (ตฺระ-) น. ตะวัน, ดวงอาทิตย์. |
ตะวัน | น. ดวงอาทิตย์. |
ตะวันขึ้น | ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก. |
ตะวันตก | ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก |
ตะวันตก | เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก |
ตะวันยอแสง | ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสีแดงเข้ม. |
ตะวันออก | ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า ว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันตก |
ตะวันอ้อมข้าว | น. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว, ที่เรียกเช่นนั้น เพราะเชื่อว่าตะวันเลี่ยงไม่ให้ความร้อนเผารวงข้าวที่กำลังสุก และเวลาเก็บเกี่ยวก็ไม่ร้อนมากนัก. |
เถลิงศก | น. เรียกวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา ว่า วันเถลิงศก, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่. |
ทรงกลด | ว. มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์. |
ทักษิณายัน | จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. |
น้ำเกิด | น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่า ถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า. |
เนปจูน | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะอยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔, ๕๒๙ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘, ๔๐๐ กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗, ๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. |
ปี | น. เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ๓๖๕ วัน |
ปีสุริยคติ | น. ช่วงเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ ๑ รอบ, เท่ากับ ๓๖๕ วัน ๕ ชั่วโมง ๕๑ นาที ๔๐.๕ วินาที แบ่งเป็น ๑๒ เดือน. |
พฤหัสบดี | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒, ๘๐๐ กิโลเมตร |
พฤหัสบดีจักร | น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, มหาจักร ก็ว่า. |
พลูโต | (พฺลู-) น. ชื่อดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕, ๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒, ๕๘๐ ถึง ๓, ๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงจรของดาวเนปจูน, ดาวยม ก็เรียก. |
พุธ | น. ชื่อดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔, ๘๗๕ กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบรรยากาศและมีพื้นผิวคล้ายดวงจันทร์ของโลก |
มณฑล | (มนทน) น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ |
มฤตยู | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒, ๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐, ๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวยูเรนัส ก็เรียก. |
มหาจักร ๒ | น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, พฤหัสบดีจักร ก็ว่า. |
มะตาหะรี | น. ดวงอาทิตย์. |
ยม ๒, ยม- | ชื่อดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕, ๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒, ๕๘๐ ถึง ๓, ๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงโคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. |
ยอแสง | ว. ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสีแดงเข้ม, มักใช้ว่า ตะวันยอแสง. |
ยูเรนัส | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒, ๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐, ๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวมฤตยู ก็เรียก. |
ระบบสุริยะ | น. ระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแรงดึงดูด รวมทั้งดาวเคราะห์ใหญ่น้อยและบริวารของดาวเคราะห์ ดาวเหล่านี้หมุนอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรอยู่ในแนวระนาบใกล้เคียงกัน. |
ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ | น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตำราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์ มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า |
วสันตวิษุวัต | น. จุดราตรีเสมอภาค ที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๑ มีนาคม, คู่กับ ศารทวิษุวัต. |
วันเถลิงศก | น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่. |
วิษุวัต | น. จุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง โลกจะมีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน มี ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต และ ศารทวิษุวัต. |
ศารทวิษุวัต | (สาระทะ-) น. จุดราตรีเสมอภาค ที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๔ กันยายน (autumnal equinox), คู่กับ วสันตวิษุวัต. |
ศุกร-, ศุกร์ | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒, ๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. |
สวัสติกะ | (สะหฺวัดติกะ) น. สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา. |
พระกลด | [ กฺลด ] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส). [ศัพท์พระราชพิธี] |
Solar radiation | การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Sunspot | จุดในดวงอาทิตย์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Neutrino | นิวทริโน, อนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และมีปฏิสัมพันธ์กับสสารน้อย ทำให้ตรวจหาได้ยาก พบได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์หลายชนิด เช่น การสลายแบบให้อนุภาคบีตา รวมทั้งอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลก, Example: [นิวเคลียร์] |
Sunspot | จุดในดวงอาทิตย์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Sun | ดวงอาทิตย์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Architecture and solar radiation | สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ [TU Subject Heading] |
Solar radiation | การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ [TU Subject Heading] |
Sun | ดวงอาทิตย์ [TU Subject Heading] |
Solarimeter | โซลาริมิเตอร์ หรือเครื่องวัดรังสีจากดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
Net pyranometer | ไพรานอมิเตอร์รวม หรือเครื่องวัดรังสีสุทธิจากดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
Spherical pyranometer | ไพรานอมิเตอร์ที่ใช้วัดบนพื้นที่ทรงกลม หรือเครื่องวัดรังสีจากดวงอาทิตย์บนพื้นที่ทรงกลม [อุตุนิยมวิทยา] |
Pyrheliometer | ไพร์ฮีลิออมิเตอร์ หรือเครื่องวัดความเข้มของรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
Direct solar radiation | การแผ่รังสีโดยตรง จากดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
Insolation | รังสีดวงอาทิตย์บน พื้นโลก หรือพลังงานการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
Net solar radiation | การแผ่รังสีสุทธิ ของดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
Reflected solar radiation | รังสีสะท้อนของ รังสีดวงอาทิตย์ [อุตุนิยมวิทยา] |
chromospher | โครโมสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ อยู่เหนือชั้นโฟโตสเฟียร์ หนาประมาณ 10, 000 กิโลเมตร อุณหภูมิประมาณ 4, 000 K ถึง 50, 000 K ประกอบด้วยลำแก๊สร้อนในลักษณะไอ พ่นขึ้นสู่ระดับสูงและเคลื่อนที่เป็นทางโค้ง แก๊สร้อนในระดับนี้ประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
asteroid | ดาวเคราะห์น้อย, กลุ่มดาวจำนวนมากที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
corona | คอโรนา, บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์อยู่ถัดจากชั้นโครโมสเฟียร์ออกไปมีลักษณะเป็นเส้นสายแผ่กระจายออกจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางประมาณ10 ล้านกิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 5 แสนถึง 2 ล้านเคลวิน ประกอบด้วยอิเล็กตรอนอุณหภูมิสูง อนุภาคฝุ่นผงและไอออนที่ร้อนจัด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
earth | โลก, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ระหว่างดาวศุกร์และดาวอังคาร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ12, 755 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eclipse of the moon[ lunar eclipse ] | จันทรุปราคา, ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยที่โลกจะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ จึงบังแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดเงามืดบนดวงจันทร์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eclipse of the sun [ solar eclipse ] | สุริยุปราคา, ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกันโดยที่ดวงจันทร์จะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก จึงบังแสงอาทิตย์ไว้ทำให้เกิดเงามืดบนพื้นโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inner planet | ดาวเคราะห์วงใน, ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Jupiter | ดาวพฤหัส, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ถัดจากดาวอังคารออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 778 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 139, 500 กิโลเมตรเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด มีดาวบริวาร 17 ดวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Mars | ดาวอังคาร, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ถัดจากโลกออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 228 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6, 648 กิโลเมตรมีดาวบริวาร 2 ดวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Mercury | ดาวพุธ, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 58 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4, 680 กิโลเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Neptune | ดาวเนปจูน, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ถัดจากดาวยูเรนัสออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 4, 498 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 44, 800 กิโลเมตรมีดาวบริวาร 2 ดวง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวเกตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
outer planet | ดาวเคราะห์วงนอก, ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photosphere | โฟโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวของดวงอาทิตย์ มีความหนาประมาณ 400 กิโลเมตรอุณหภูมิส่วนที่ติดผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 10, 000 K ส่วนที่ติดกับชั้นโครโมสเฟียร์ประมาณ 4, 200 K แก๊สที่อยู่ในชั้นนี้จะแผ่รังสีออกสู่อวกาศ ได้แก่ รังสีเอกซ์รังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่าง และคลื่นควา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
planet | ดาวเคราะห์, ดาวที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Pluto | ดาวพลูโต, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ถัดจากดาวเนปจูนออกไปและอยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5, 900 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6, 000 กิโลเมตร ไม่มีดวงจันทร์บริวาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
solar flares | การระเบิดจ้าบนดวงอาทิตย์, การปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคอย่างรุนแรงและรวดเร็วใกล้บริเวณจุดดับบนดวงอาทิตย์ จึงทำให้บริเวณนั้นสว่างจ้าและทำให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กโลกและคลื่นวิทยุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
solar system | ระบบสุริยะ, ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีดาวเคราะห์ใหญ่น้อย รวมทั้งบริวารโคจรอยู่รอบๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
star | ดาวฤกษ์, ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเองเป็นกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่และร้อนจัด เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวเหนือ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Uranus | ดาวยูเรนัส, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ อยู่ถัดจากดาวเสาร์ออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2, 869 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 47, 500กิโลเมตร มีดาวบริวาร 5 ดวง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดาวมฤตยู [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Venus | ดาวศุกร์, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ถัดจากดาวพุธออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 108 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12, 200 กิโลเมตรไม่มีดาวบริวาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Saturn | ดาวเสาร์, ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะอยู่ถัดจากดาวพฤหัสออกไป ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 1, 427 ล้านกิโลเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 116, 340 กิโลเมตร มีดาวบริวาร 23 ดวง และมีวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดาวเสาร์ในลักษณะของบริวาร เห็นเป็นวงแหวนล้อมรอบบริเวณเส้นศู [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
astronomical unit (AU) | หน่วยดาราศาสตร์, หน่วยวัดระยะทางที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์มีสัญลักษณ์ AU โดยกำหนดให้ระยะเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์มีค่าเป็น 1 AU 1 AU = 1.49 x 1011 เมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cirrostratus | ซีร์โรสเตรตัส, แผ่นเมฆบาง ๆ มีสีขาวหรือสีน้ำเงินจาง บางครั้งปกคลุมทั่วท้องฟ้าเหมือนม่าน อาจมีวงแสงรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งบาง ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radiation heat transfer | การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสี, การถ่ายโอนความร้อนชนิดหนึ่ง โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น รังสีจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alpha centauri | ชื่อดาวขนาดใหญ่ในกลุ่มดาว Centaurus เป็นดาวที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด |
astronomical unit | หน่วยความยาวที่เท่ากับระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ยาวประมาณ 93 ล้านไมล์ ใช้อักษรว่า AU |
corona | (คะโร'นะ) n. ทรงกลด (ของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์) , มาลา, มงกุฎ, สิ่งที่เหมือนมาลา, โคมระย้าช่อกลม, See also: coronal adj. ดูcorona, pl. coronas, coronae |
equinox | (อี'ควะนอคซฺ) n. เวลาที่ดวงอาทิตย์โคจรรอบเส้นศูนย์สูตรทำให้มีกลางวันเท่ากับกลางคืน/เกิดขึ้นในราววันที่ 21 มีนาคม (vernal equinox) กับวันที่22กันยายน (autumnal equinox) |
heli | (o) - abbr. 'ดวงอาทิตย์' |
heliac | (ฮิไล'อะคัล) adj. เกี่ยวกับหรือเกิดขึ้นใกล้ดวงอาทิตย์., See also: heliacally adv. |
heliacal | (ฮิไล'อะคัล) adj. เกี่ยวกับหรือเกิดขึ้นใกล้ดวงอาทิตย์., See also: heliacally adv. |
heliograph | (ฮี'ลีอะกราฟ) n. เครื่องมือถ่ายภาพดวงอาทิตย์ v, See also: heliographer n. heliographic adj. heliography n. |
heliolatry | n. การบูชาดวงอาทิตย์., See also: heliolater n. heliolatrous adj. |
helioscope | n. กล้องส่องทางไกลสำหรับดูดวงอาทิตย์ |
interplanetary | (อินเทอแพลน'นิเทอรี) adj. ระหว่างดาวนพเคราะห์, ระหว่างดาวนพเคราะห์กับดวงอาทิตย์ |
parhelion | (พาร์ฮี'เลียน) n. วงแสงสว่างบนวงกลดดวงอาทิตย์, ดวงอาทิตย์เทียม, See also: parheliacal adj. parhelic adj. pl. parhelia |
scorch | (สคอร์ช) vt. ทำให้เกรียม, ทำให้ไหม้เกรียม, ทำให้ไหม้เล็กน้อย, กล่าวโจมตีอย่างรุนแรง. vi. ไหม้เกรียม, ไหม้เล็กน้อย, (ดวงอาทิตย์) แผดจ้า. n. แผลไหม้เกรียม, แผลไหม้เล็กน้อย, การขับด้วยความเร็วมากเกินไป, Syn. shrivel, wither |
solar | (โซ'ลาร์) adj. เกี่ยวกับดวงอาทิตย์, ตามสุริยคติ |
solstice | (ซอล'สทิส) n. ระยะเวลาของปีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด (ในราววันที่ 21 มิถุนายน และ 22 ธันวาคม), จุดที่ถึง, จุดสุดยอด, จุดที่สุด, Syn. furthiest, point |
sun | (ซัน) n. ดวงอาทิตย์ vt., vi. ตากแดด, ผึ่งแดด., Syn. hub, center |
sunny | (ซัน'นี) adj. แดดกล้า, เกี่ยวกับแสงอาทิตย์, คล้ายดวงอาทิตย์, ร่าเริง, สบายใจ., See also: sunnily adv. sunniness n., Syn. light, bright |
sunrise | (ซัน'ไรสฺ) n. ดวงอาทิตย์ขึ้น, Syn. sunup, dawn |
sunshine | (ซัน'ไชนฺ) n. การส่องสว่างของดวงอาทิตย์, แสงอาทิตย์, ความร่าเริง, ความสุขสบาย, แหล่งความสุข, แหล่งความร่าเริง, อากาศที่ปลอดโปร่ง, ความผ่องใส., See also: sunshiny adj. |
sunspot | (ซัน'สพอท) n. จุดบอดบนดวงอาทิตย์ |
umbra | (อัม'บระ) n. ร่มเงา, เงา, เงามืด, จุดบอดของดวงอาทิตย์, เงาดวงจันทร์, เงาโลก, ภูติผีปีศาจ, See also: umbral adj., pl. umbrae, Syn. shade |