จ้ะ | ว. คำรับ (ใช้เป็นสามัญทั่วไป). |
จ๊ะ ๑ | ว. คำต่อท้ายคำเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ. |
จ๊ะ ๒ | ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน. |
จ๊ะเอ๋ | น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งที่ผู้หนึ่งโผล่หน้าหรือเปิดหน้าแล้วพูดว่า “จ๊ะเอ๋” กับอีกผู้หนึ่งซึ่งมักเป็นเด็ก. |
จ๋ะ ๑ | ว. เสียงประกอบคำถาม. |
จ๋ะ ๒ | ว. เสียงประกอบคำเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคำ จ๋า). |
จ๊ะจ๋า | ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูดจ๊ะจ๋าแล้ว. |
จ๊ะจ๋า | ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขากำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่ อย่าไปกวนเขา. |
ค่ะ | ว. คำรับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ. |
โดย ๒ | ว. จ้ะ, ขอรับ. |
พ่ะ | ว. จ้ะ, ขอรับ. |
อักษรกลาง | (อักสอน-) น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ้ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ๊ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ๋ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ. |