กลอนตลาด | น. คำกลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน. |
กลอนลิลิต | น. คำกลอนที่แต่งอย่างร่าย. |
ค่าว | น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรำพันความรักหรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจำปาสี่ต้น หมายถึง คำกลอนเรื่องจำปาสี่ต้น. |
คำ ๒ | พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน |
คำ ๒ | ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอน ว่า คำหนึ่ง. |
โคราช | น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทำนองตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คำ ๓ คำกลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัสในการเล่นคำเล่นความให้สละสลวย บาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง. |
ดอกสร้อย ๒ | น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน วรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ และจบบทด้วยคำว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย, บทดอกสร้อย ก็ว่า. |
บทดอกสร้อย | น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน วรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ และจบบทด้วยคำว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย, ดอกสร้อย ก็ว่า. |
ละครพูด | น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา. |
สักวา | (สักกะวา) น. ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน. |
เอย ๒, เอ่ย ๑ | คำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย (บทดอกสร้อย). |
เอ๋ย | คำที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคำกลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ยกาดำ รถเอ๋ยรถทรง. |