ก่อกรรมทำเข็ญ | ก. ก่อความเดือดร้อนให้. |
ข่มเหง | (-เหง) ก. ใช้กำลังรังแกแกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น. |
คู่เวรคู่กรรม | น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมาแต่ชาติก่อน. |
เจ้ากรรม | ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้นกลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. |
ชักซุงตามขวาง | ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน. |
ซื้อควายหน้านาซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว | ก. ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน. |
ทรราช | น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้น ว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. |
ปุงลิงค์, ปุงลึงค์ | น. เพศของคำในภาษาบาลีสันสกฤต ที่ไม่จัดเป็นอิตถีลิงค์และนปุงสกลิงค์ เช่น กิมิ (หนอน, แมลง) ตาป (ความเดือดร้อน, ความรำคาญ), ปุลลิงค์ หรือ ปุลลึงค์ ก็ว่า. |
โปรด | (โปฺรด) ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความเมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรดข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. |
ผงเข้าตาตัวเอง | น. เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้ แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้. |
พิษ, พิษ- | (พิดสะ-, พิด-) น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความเดือดร้อนแก่จิตใจ |
ไฟ | ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึง ความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ. |
ภาษาธรรม | น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น. |
ยุคเข็ญ | น. คราวที่มีความเดือดร้อนลำเค็ญอย่างใหญ่หลวง. |
ร่มเย็น | ว. มีความสุขสบาย, ไม่มีความเดือดร้อน. |
ร้อนตัว | ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว. |
รังแก | ก. แกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก. |
ลูกเวรลูกกรรม | น. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับความเดือดร้อน. |
เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ | ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาลจะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง. |
วิปฏิสาร, วิประติสาร | (วิบปะติสาน, วิปฺระ-) น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทำผิด หรือเนื่องด้วยการกระทำผิด). |
โศก ๑, โศก- | (โสกะ-, โสกกะ-) น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน (อภัย). |
สงสาร ๒ | (สงสาน) ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร. |
เสี้ยนหนาม | น. ข้าศึกศัตรูที่ก่อความเดือดร้อนให้. |
หนังหน้าไฟ ๑ | น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิดมา พ่อแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ. |
หนีร้อนมาพึ่งเย็น | ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่มีความสงบสุข. |
หมาถูกน้ำร้อน | น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่านไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่านไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย. |
หยิกเล็บเจ็บเนื้อ | เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้องกันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ. |
อยู่ดีไม่ว่าดี | ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง. |
mean | (มีน) vt. มุ่งหมาย, มีเจตนา, ตั้งใจ, หมายถึง, ทำให้เกิดขึ้น, นำมาซึ่ง, มีความหมายต่อ, มีความสำคัญต่อ. vi. ตั้งใจ, มุ่งหมาย adj. ต่ำต้อย, ชั้นต่ำ, ไม่สำคัญ, ถ่อย, สกปรก, เลว, ใจแคบ, ขี้เหนียว, เห็นแก่ตัว, สร้างความเดือดร้อน, ร้าย, เชี่ยวชาญ, ประทับใจ, ระหว่างกลาง, โดยเฉลี่ย n. ค่าเฉลี่ย |
stricken | (สทริค'เคิน) adj. กริยาช่อง 2 ของ strike, ได้รับความเดือดร้อน, เป็นโรค, เสียใจ, ถูกตี, ถูกต่อย, ได้รับผลกระทบ, บาดเจ็บ, Syn. hurt, crippled, impaired |
affliction | (n) ความเดือดร้อน, ความลำบาก, ความเสียใจ, ความทุกข์, โรคภัย |
distress | (n) ความเดือดร้อน, ความทุกข์ทรมาน, ความทุกข์ยาก, ภัยพิบัติ, ความลำบาก |
trouble | (n) ความเดือดร้อน, การรบกวน, ความยุ่งยาก |
vexation | (n) การรบกวน, ความรำคาญ, ความเดือดร้อน |
worry | (n) ความกลุ้มใจ, ความกังวล, ความเดือดร้อน, ความลำบาก |