thread sewing | เย็บกี่, การทำเล่มหนังสือโดยการเย็บด้ายวิธีหนึ่ง มักใช้สำหรับหนังสือที่มีความหนามากและต้องการความทนทานเป็นพิเศษ เช่น หนังสืออ้างอิงต่างๆ, Example: <p>เย็บกี่ <p>เป็นการเย็บอกของยกพิมพ์แต่ละยกด้วยเชือกเส้นเดียวกัน เย็บจากยกพิมพ์หนึ่งไปอีกยกพิมพ์หนึ่งติดต่อกันไปจนจบเล่ม การเย็บกี่นี้สามารถเย็บหนังสือที่เป็นเล่มหนาๆ มีหน้ามากให้เป็นเล่มเดียวกันได้ และสามารถเปิดเล่มหนังสือทุกหน้าให้กางออกได้เต็มที่ หนังสือเย็บกี่นี้จะต้องมีการปิดปกคือนำปกมาผนึกยึดติดกับสันหนังสือเช่นเดียวกับหนังสือเย็บสัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Drought tolerance | ความทนทานต่อสภาพแล้ง [TU Subject Heading] |
Glucose tolerance test | การทดสอบความทนน้ำตาลกลูโคส [TU Subject Heading] |
Threshold Limit Values, TLVs | ค่าจำกัดความทนทาน, Example: ความเข้มข้นของสารในอากาศและสภาพที่เชื่อว่าคน งานเกือบทั้งหมด อาจได้รับสารเคมีซ้ำๆ กันทุกวัน โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคนเรามีความไว (susceptibility) ต่อสารเคมีต่างกัน คนงานบางคน (จำนวนน้อย) อาจจะรู้สึกไม่สบาย (discomfort) จากสารเคมีความเข้มข้นเท่ากับค่า TLVs หรือต่ำกว่า ซึ่งคนดังกล่าวอาจได้รับอันตรายรุนแรงหรือเกิดโรคจากการทำงานได้ [สิ่งแวดล้อม] |
Acrylic rubber or Polyacrylate rubber (ACM) | ยาง ACM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ของอะ ไครเลต (acrylic ester) และมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคงรูป (cure site monomer) มีหลายเกรดขึ้นกับชนิดของอะไครเลตที่ใช้ในการสังเคราะห์ สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้สูงเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อ เติมสารเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ยางชนิดนี้ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน โอโซน และความร้อนได้เป็นอย่างดี ทนต่อน้ำมันส่วนใหญ่ได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ทนต่อน้ำและสารเคมีต่างๆ ยางชนิดนี้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทั้งความทนทานต่อความร้อนและ น้ำมัน โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางโอริง ปะเก็นท่อน้ำมัน วาวล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Butadiene rubber or Polybutadiene | ยางบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากบิวทาไดอีนมอนอเมอร์ มีความยืดหยุ่นและสมบัติการกระเด้งกระดอนสูง มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการสึกกร่อนสูงมาก นอกจากนี้ยังมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดี ความร้อนสะสมขณะใช้งานต่ำจึงนิยมใช้ผสมกับยางธรรมชาติหรือยางเอสบีอาร์ในการ ผลิตดอกยางรถยนต์หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ต้องการความทนต่อการสึกกร่อนสูง เช่น ยางพื้นรองเท้า ยางกันกระแทก เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Carbon black | ผงเขม่าดำได้จากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคปฐมภูมิอยู่ในช่วง 1-10 นาโนเมตร นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนต่อการสึกหรอให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง [เทคโนโลยียาง] |
Chloroprene rubber | ยาง CR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน มีทั้งประเภทที่ใช้งานทั่วไปและประเภทใช้งานพิเศษ เช่น ทำกาวยาง ยางใช้เคลือบ และวัสดุอุดรอยรั่ว เป็นต้น เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR สามารถจัดเรียงตัวได้อย่างเป็นระเบียบภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ยางชนิดนี้จึงสามารถตกผลึกได้เช่นเดียวกับยางธรรมชาติ มีค่าความทนต่อแรงดึงสูง มีค่าความทนต่อการฉีกขาดและความต้านทานต่อการขัดถูสูง ยาง CR มีสมบัติทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี และทนต่อความร้อน แสงแดด และโอโซนได้ค่อนข้างดี และยังมีสมบัติการหน่วงไฟ จึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานภายนอกอาคาร เช่น ยางขอบหน้าต่าง ยางรองคอสะพาน ยางปลอกสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Copper content | ปริมาณของธาตุทองแดงที่อยู่ในส่วนที่ไม่ใช่ยางในน้ำยาง มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยางนั้น เนื่องจากทองแดงเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene vinyl acetate rubber | ยางเอทิลีนไวนิลแอซิเทตเป็นโคพอลิเมอร์ของเอทิลีนและไวนิลแอซิเทต มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาความร้อน โอโซน และสภาพอากาศได้ดี มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี มีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดี ส่วนใหญ่ยางชนิดนี้จะใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายเคเบิลเฉพาะในกรณีที่ต้องการ สมบัติพิเศษด้านความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน สภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมันเท่านั้น [เทคโนโลยียาง] |
Fluorocarbon rubber | ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Halobutyl rubber | ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Hydrogenated acrylonitrile-butadiene rubber | ยางไฮโดรจิเนตอะไครโลไนไทรล์บิวทาไดอีน หรือยาง HNBR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (Hydrogenation) ของยาง NBR สมบัติของยาง HNBR มีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน รังสีที่มีพลังงานสูง และโอโซนสูงมาก ใกล้เคียงกับยาง EPDM และเนื่องจากมี CN อยู่ในโมเลกุลทำให้ยางชนิดนี้ทนต่อน้ำมันได้ดี ยาง HNBR มีสมบัติทั่วไปอยู่ระหว่างยาง NBR และยางฟลูออโรคาร์บอน เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูง จึงนิยมใช้ยาง HNBR แทนยาง NBR เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้งานในสภาวะที่รุนแรงหรือที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีข้อดีเหนือกว่ายางฟลูออโรคาร์บอน คือ มีความทนทานต่อสารตัวเติมที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารประกอบเอมีน ได้ดี จึงนิยมใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยางที่ใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมัน [เทคโนโลยียาง] |
Isoprene rubber or Polyisoprene | ยางพอลิไอโซพรีนหรือยาง IR เป็นยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกับยางธรรมชาติ จึงมีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกับยางธรรมชาติมาก และสามารถใช้แทนยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติแล้ว ยาง IR มีสมบัติเชิงกล เช่น ความทนต่อแรงดึง และความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายางธรรมชาติเล็กน้อย เนื่องจากยาง IR มีสัดส่วนของโครงสร้างแบบ cis- ที่ต่ำกว่ายางธรรมชาติจึงมีแนวโน้มที่จะตกผลึกได้น้อยกว่า แต่มีข้อดีคือ ยางมีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ายางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และมีสีขาวสวย [เทคโนโลยียาง] |
Manganese content | ปริมาณของธาตุแมงกานีสในน้ำยางธรรมชาติ มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยาง เนื่องจากแมงกานีสเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเสื่อมสภาพได้ [เทคโนโลยียาง] |
Polyurethane rubber | ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Reinforcement | ความสามารถของสารตัวเติมในการเพิ่มประสิทธิภาพสมบัติเชิงกลเช่น มอดุลัส ความทนต่อแรงดึง ของยางให้สูงขึ้น โดยสารตัวเติมที่เติมลงไปนี้ไม่มีส่วนเข้าไปทำปฏิกิริยาในกระบวนการวัลคาไน ซ์ [เทคโนโลยียาง] |
Reinforcing agent or reinforcing filler | สารตัวเติมเสริมแรง คือ สารตัวเติมที่เติมลงไปในยางแล้วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมบัติเชิงกล เช่น มอดุลัส ความทนต่อแรงดึง ของยางให้สูงขึ้น ตัวอย่างสารตัวเติมเสริมแรง ได้แก่ เขม่าดำ และซิลิกา [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Styrene-butadiene rubber | ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน [เทคโนโลยียาง] |
Tensile tester | เป็นเครื่องมือวัดสมบัติความทนต่อแรงดึงของยางคงรูป ซึ่งสมบัติความทนต่อแรงดึงเป็นสมบัติเชิงกลพื้นฐานที่โรงงานอุตสาหกรรมยาง ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นตัวกำหนดคุณภาพหรือสเปคของผลิตภัณฑ์ วิธีการวัด คือ จะให้แรงดึงกับชิ้นงานตัวอย่างจนกระทั่งชิ้นงานขาด วัดความทนต่อแรงดึงสูงสุด ณ จุดขาด (tensile strength) และสามารถระบุได้ว่าชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยยืดไปกี่ เปอร์เซ็นต์ (elongation at break) วิธีการวัดและชิ้นงานที่ใช้จะต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ISO 37 หรือ ASTM D412 [เทคโนโลยียาง] |
Drug Tolerance | ความทนยา, การยอมรับต่อยาตัวหนึ่ง, ยา, ความทน [การแพทย์] |
Endurance Test | แบบทดสอบความทนทาน [การแพทย์] |
Exercise, Endurance | การออกกำลังกายชนิดยาวนาน, การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานในการทำงาน [การแพทย์] |
reinforced material | วัสดุเสริมกำลัง, วัสดุที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เส้นใยแก้วเป็นวัสดุเสริมกำลังในไฟเบอร์กลาสส์ เหล็กเป็นวัสดุเสริมกำลังในคอนกรีต เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Glucose Tolerance Test | กลุโคส, การทดสอบความทน; [การแพทย์] |
Glucose Tolerance, Impaired | ความทนทานต่อกลูโคสผิดปกติ, [การแพทย์] |
Lactose Intolerance | แลกโตส, การขาดความทน; แล็กโทส, ภาวะขาดความทน; ไม่สามารถทนต่อแลคโทสได้ [การแพทย์] |
Life Test, Shelf | การทดสอบอายุความทนในการเก็บบนหิ้ง [การแพทย์] |
Muscular Endurance | ความทนทานของกล้ามเนื้อ [การแพทย์] |
death agony | n. ความทนทุกข์ทรมานหรือปวดร้าวทรมานก่อนตาย |
durance | (ดู'เรินซฺ) n. การจำคุก, การกักขัง, ความอดทน, ความทนทาน, Syn. imprisonment |
duration | (ดูเร'เชิน) n. ความทนทาน, ช่วงระยะเวลา, ความยาวนาน, ความต่อเนื่อง., See also: durational adj., Syn. time, period |
misease | (มิสซีซ') n. ความไม่สบายกาย, ความทุกข์ใจ, ความทนทุกข์, ความยากจน |
persistence | (เพอซิส'เทินซฺ, -ซิส-) n. การยืนกราน, ความดื้อรั้น, ความทนทาน, ความต่อเนื่อง, การมีอยู่เรื่อยไป |
persistency | (เพอซิส'เทินซฺ, -ซิส-) n. การยืนกราน, ความดื้อรั้น, ความทนทาน, ความต่อเนื่อง, การมีอยู่เรื่อยไป |
resistance | (รีซิส'เทินซฺ) n. การต้าน, การต่อต้าน, การต้านทาน, ความทน, ความอดทน, See also: Resistance n. องค์การใต้ดินที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล, Syn. fight, withstand |
shelf life | n. อายุความทนในการเก็บอยู่บนหิ้ง |
tolerance | (ทอล'เลอเรินซฺ) n. ความอดทน, ความทนทาน, ลักษณะใจกว้าง, การให้อภัย, อำนาจในการต้านฤทธิ์ยาหรือยาพิษ |
toleration | (ทอล'เลอเร'เชิน) n. ความอดทน, ความทนทาน, การมีรัฐบาลยอมให้มีการนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ., See also: tolerationism n. tolerationist n., Syn. tolerance |
wearability | (แว'ระบิล'ลิที) n. ความทนต่อการใช้สอย, การทนต่อการสวมใส่ |