480 ผลลัพธ์ สำหรับ *ควร*
หรือค้นหา: ควร, -ควร-

Longdo TH - TH
อวย(vt, slang, ศัพท์วัยรุ่น) การที่ยกย่องคน ๆ นึงให้ดูดีเกินเหตุ เกินกว่าที่ควรเป็น

Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
กฎหมายที่ประชาชนควรรู้Public Law
จะแล้วไหม(slang) จะพอแล้วได้ไหม, จะจบแล้วได้ไหม, สื่อความหมายว่า สิ่งใดๆ ที่กำลังทำกันอยู่ควรจะจบลงได้แล้ว
จุงเบยจังเลย เป็นภาษาวัยรุ่น เพี้ยนมาจาก "จังเลย" บ้างว่าเนื่องมาจาก การพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ที่ ไม้หันอากาศ อยู่ใกล้กับ สระอุ และ ล ลิง อยู่ใกล้กับ บ ใบไม้ พิมพ์ผิดบ่อยครั้งเลยกลายเป็นที่ใช้กันพอสมควรในบริบทที่เป็นลักษณะเล่นๆ หรือ เด็กๆ หรือ ทีเล่นทีจริง
ลิขสิทธิ์ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้.
ลิขสิทธิ์ข้อสังเกต ไม่ควรมีเนื้อหาข้างล่าง ในส่วนต้นของคำ 'ลิขสิทธิ์' เพราะ ไม่ใช่ definition / คำแปล / คำจำกัดความ: ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้.
สยามร้อน(n, slang) บริเวณสยามสแควร์ส่วนที่เป็นร้านค้าแบบไม่มีเครื่องปรับอากาศ ใช้เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสยามสแควร์ฝั่งที่ไม่ใช่สยามพารากอนหรือสยามเซ็นเตอร์
สิทธิบัตรควรปรับความหมาย เพราะ สิทธิบัตรต้องรวม การค้นพบ (discovery) โดยหากไม่ปรับ การสื่อสารจะคลาดเคลื่อน และเป็นปัญหาได้
หน้าด้านมีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจหน้า-ด้านะอายแต่ก็ไม่อาย

Longdo Unapproved EN - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ชงโค(name) ..............ชงโค................ ชื่อทางวิทยาศาสตร์............Bauhinia purpurea ชื่อวงศ์............................CAESALPINIACEAE ชื่อสามัญ..........................Orchid Tree, Purder ชื่ออื่นๆ............................เสี้ยวดอกแดง, เสี้ยวดอกขาว ถิ่นกำเนิด..........................ทวีปเอเซีย การขยายพันธุ์....................เพาะเมล็ด ประวัติและข้อมูลทั่วไป.........ดอกชงโคมีหลายสี เช่น ชมพู ขาว ม่วง ชาวอินเดียถือว่าเป็นไม้สวรรค์ขึ้นอยู่ในเทวโลกและถือว่าเป็นไม้ของพระลักษมี นิยมปลูกร่วมกับ กาหลง และ โยทะกา เพราะมีใบคล้ายกัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์......ชงโคเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบสูงประมาณ 15 เมตร ใบเป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก ช่อดอกออกตามกิ่งข้างและจำนวนดอกน้อย กลีบดอกขาวหรือม่วง ลักษณะคล้ายดอกกล้วยไม้ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เกสรตัวผู้ 5 อัน ขนาดไม่เท่ากัน มีผลเป็นฝักขนาดกว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. การปลูกและดูแลรักษา...........ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนระบายน้ำดี มีความ

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ควร(aux) should, See also: ought to, Syn. ควรจะ, น่าจะ, Example: นักศึกษาควรใช้เวลาว่างจากการเรียนให้เป็นประโยชน์, Thai Definition: คำช่วยกริยาในความหมายคล้อยตาม
ควรจะ(aux) should, See also: ought to, Syn. น่าจะ, Example: การปฏิรูปทางการศึกษานั้นควรจะให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย
พอควร(adv) moderately, See also: fairly, Syn. พอสมควร, พอเหมาะ, เหมาะสม, Example: เครื่องปรุงเย็นตาโฟก็จะมีเส้นก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นปลาพอควร ปลาหมึกแช่น้ำด่างพอควร
สมควร(adv) suitably, See also: properly, appropriately, Syn. ควร, เหมาะ, เหมาะสม, Example: การบริจาคเงินเพื่อการศึกษา เป็นการใช้เงินเพื่อการกุศลอย่างสมควร
สมควร(v) should, See also: ought to, Syn. ควร, เหมาะ, Example: เราสมควรพยายามฝึกฝนตนเองให้มีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ
ควรค่า(v) be worthy of, See also: deserve, be worthwhile, be valuable, Syn. มีค่า, มีคุณค่า, สมควร, Example: นิยายเรื่องนี้ควรค่าที่จะได้รางวัลชนะเลิศ, Thai Definition: มีคุณสมบัติเหมาะสม
คู่ควร(v) fit, See also: be suitable, be proper, be appropriate, Syn. เหมาะกัน, สมกัน, เสมอกัน, Example: พระรูปนี้เป็นผู้ที่มีเรื่องราวและวัตรปฏิบัติคู่ควรแก่การกราบไหว้บูชายิ่งนัก, Thai Definition: มีคุณค่าเหมาะกัน
ตามควร(adv) appropriately, See also: as fits, as it should be, as is proper, as discretion, suitably, Syn. พอควร, Ant. เกินควร, Example: เขาได้รับงานตามควรแก่กำลังความสามารถที่เขามี, Thai Definition: ตามที่ควรจะเป็นหรือมีความเหมาะสมตามนั้น
พอสมควร(adv) moderately, See also: reasonably, Syn. พอควร, พอเหมาะพอควร, พอสมควร, Example: การกู้วิกฤติต้องมองให้รอบคอบ และลึกพอสมควร
เกินควร(adv) excessively, Syn. เกินไป, เกินเลย, Example: ราคาสินค้าขยับราคาสูงขึ้นเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนมากเกินควร, Thai Definition: เลยพอดี, เลยความสมควร
เห็นควร(v) see as appropriate, See also: view as proper, approve of, Syn. เห็นสมควร, Example: ที่ประชุมเห็นควรส่งเรื่องให้คณะรับมนตรีพิจารณา, Thai Definition: เห็นว่ามีความเหมาะสม
เห็นควร(v) see as appropriate, See also: view as proper, approve of, Syn. เห็นสมควร, Example: ที่ประชุมเห็นควรส่งเรื่องให้คณะรับมนตรีพิจารณา, Thai Definition: เห็นว่ามีความเหมาะสม
ควรระวัง(v) should be on the alert, See also: should watch out, should be on guard, should keep an eye on, should be careful, should be, Syn. ต้องระวัง, Example: อุบัติเหตุในบ้านที่ควรระวังเป็นพิเศษคือเพลิงไหม้จากการหุงต้ม จากบุหรี่ และจากการใช้กระแสไฟฟ้า
ตามสมควร(adv) properly, See also: suitably, appropriately, fitly, as it should be, as discretion, as may be reasonable, Syn. ตามควร, Example: ผู้ใหญ่ควรให้โอกาสเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ แต่ขณะเดียวกันก็จำกัดขอบเขตตามสมควร, Thai Definition: อย่างเป็นไปตามความเหมาะสม
มิบังควร(v) be inappropriate, See also: should not, ought not to, Ant. สมควร, Example: บุพการีเป็นของสูง มิบังควรที่เราจะกระด้างกระเดื่องต่อท่าน, Thai Definition: ไม่ควรอย่างยิ่ง
ควรจะเป็น(v) should be, See also: ought to be, Example: ผมเห็นว่าผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งประธานควรจะเป็นคุณสิทธิวัฒน์มากกว่านะ
เห็นสมควร(v) view as proper, See also: see as appropriate, consider approve, see as being what should be/happen, Syn. เห็นควร, Example: ผู้จัดการมีอิสระในการบริหารกิจการ และสามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานตามจะเห็นสมควร, Thai Definition: เห็นว่ามีความเหมาะสม
เห็นสมควร(v) view as proper, See also: see as appropriate, consider approve, see as being what should be/happen, Syn. เห็นควร, Example: ผู้จัดการมีอิสระในการบริหารกิจการ และสามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานตามจะเห็นสมควร, Thai Definition: เห็นว่ามีความเหมาะสม
เท่าที่ควร(adv) as expected, See also: as hoped, as forecasted, Example: ทัพนักกีฬาไทยซีเกมส์ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร, Thai Definition: อย่างมีความเหมาะสม
ข้อควรคำนึง(n) caution, See also: paying, attention, warning, consideration, Example: ในบทความนี้จะกล่าวถึงข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์, Count Unit: ข้อ, ประเด็น
ข้อควรระวัง(n) caution, See also: warning, Syn. ข้อพึงระวัง, Example: ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องให้ความสำคัญต่อข้อควรระวังเกี่ยวกับรถยนต์อยู่เสมอ, Count Unit: ข้อ, Thai Definition: สิ่งที่ต้องคอยดูคอยเอาใจใส่โดยไม่ประมาท
ข้อควรระวัง(n) warning, See also: caution, forewarning, notice, Syn. ข้อควรระมัดระวัง, Example: ยาระบายจำพวกนี้มีข้อควรระวังคือเมื่อกินเป็นประจำแล้วจะทำให้ลำไส้มีความชินชากับมันจนถ้าผู้ป่วยไม่ได้กินยานี้ก็จะไม่สามารถขับถ่ายเองได้, Thai Definition: สิ่งที่ต้องระมัดระวัง
พอเหมาะพอควร(adv) appropriately, See also: suitably, moderately, Syn. พอดี, พอประมาณ, พอสมควร, พอเหมาะพอดี, Example: ลูกควรจะใช้อำนาจและเงินทองให้พอเหมาะพอควรแก่งาน, Thai Definition: อย่างเหมาะเจาะพอดิบพอดี
เป็นการสมควร(v) reasonable, See also: suitable, right, Syn. เหมาะสม, พอสมควร, มีเหตุผล, Example: เป็นการสมควรที่เราจะช่วยเหลือเขาในฐานะเพื่อนบ้าน
ข้อควรปฏิบัติ(n) regulation, See also: rule, obligation, Example: พนักงานควรกระทำตามข้อควรปฏิบัติของโรงงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น, Thai Definition: กฎระเบียบต่างๆ
ค้ากำไรเกินควร(v) set an exorbitant price, See also: gain too much profit, Example: ในยามที่น้ำตาลขาดตลาด พ่อค้าบางคนถือโอกาสค้ากำไรเกินควร, Thai Definition: การขายสินค้าโดยตั้งราคาให้มากกว่าต้นทุนจนเกินไป
ค้ากำไรเกินควร(v) set an exorbitant price, See also: gain too much profit, Example: ในยามที่น้ำตาลขาดตลาด พ่อค้าบางคนถือโอกาสค้ากำไรเกินควร, Thai Definition: การขายสินค้าโดยตั้งราคาให้มากกว่าต้นทุนจนเกินไป
ตามที่เห็นสมควร(adv) as one see / think fit, Example: คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณากำหนดรายละเอียดของการเสนอขายตามที่เห็นสมควร

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ควร(ควน) ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร
ควรชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว
ควรเป็นคำช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทำ ควรกิน.
คู่ควรว. เหมาะกัน, สมกัน, เสมอกัน, มีค่าเท่ากัน.
บังควรว. ควรอย่างยิ่ง, เหมาะอย่างยิ่ง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่บังควร หาเป็นการบังควรไม่.
พอควรว. พอสมควร.
พอสมควรว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า.
ลาภมิควรได้น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ หรือได้มาเพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ รวมตลอดถึงการได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มี มิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว.
สมควรว. ควรยิ่ง, เหมาะสมยิ่ง, เช่น เขาทำงานดีสมควรขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น.
กก ๔ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.
กกุธภัณฑ์(กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า

ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กงฉากน. เครื่องมือทางช่างชนิดหนึ่ง สำหรับหามฉากในการปักผังหรือกำหนดผังเสา โดยใช้ไม้แบนที่มีความยาวพอสมควรมาประกอบให้เป็นมุม ๙๐ องศา แล้วยึดปลายทั้ง ๒ ข้างด้วยไม้อีกชิ้นหนึ่ง.
กด ๔ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน
กรณีย-, กรณีย์, กรณียะ(กะระ-, กอระ-) ว. อันควรทำ, อันพึงทำ.
กรรม-กรณ์(กำมะกอน) น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา (กฤษณา).
กรรมขัย(กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ).
กรอม ๑(กฺรอม) ว. ปกหรือคลุมยาวลงมาเกินควร เช่น นุ่งผ้าซิ่นกรอมส้น.
กระแจะ ๓โซ่หรือกำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
กระดากปาก, กระดากลิ้นก. ตะขิดตะขวงใจที่จะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด.
กระแตเวียนน. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบนสอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะประคองตัวหัดเดิน.
กระทรวง ๑(-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก).
กระพัดน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร (ดุษฎีสังเวย).
กรินทร์น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้ว่า กเรนทร์ ก็มี.
กรีฑารมย์ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์ (สมุทรโฆษ).
กเรนทร, กเรนทร์น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น พลคชคณหาญหัก กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย (สมุทรโฆษ).
กลอก(กฺลอก) น. ลักษณะของเสียงที่บรรเลงเลื่อนไหลไปตามท่วงทำนองอย่างนุ่มนวลกลมกลืน เหมือนลักษณะของหยดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน, ในการขับร้องหมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากลำคอพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก แล้วตวัดเสียงให้สะบัดวกวนกลับไปกลับมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง สุดแต่ผู้ขับร้องจะเห็นเหมาะสม.
กลับ(กฺลับ) ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, เปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม เช่น นึกว่าเป็นคนดี กลับเป็นคนร้าย, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับ ด่าเอา.
กักยามน. การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควรตามที่จะกำหนด.
กัปปิย-, กัปปิยะ(กับปิยะ-) ว. สมควร.
กัปปิยภัณฑ์น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
กัปปิยโวหารน. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตราว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
กัลปิตควรแล้ว
กาลเทศะความควรไม่ควร.
กินขวา, กินซ้ายก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนลํ้าไปทางขวาหรือซ้ายมากเกินควร.
กินสั่งก. กินมากผิดปรกติเมื่อถึงคราวจะตาย, โดยปริยายหมายความถึงกินจุเกินควร.
เกาทุมพร(-ทุมพอน) น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
เกินว. พ้น, เลย, คำนี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากำหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร.
แก่นสารน. สิ่งที่ยั่งยืนถาวร, หลักที่ควรยึดถือ, คุณประโยชน์, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่เป็นแก่นสาร.
โก่งบอกราคาเกินสมควร เช่น โก่งราคา.
ขลุ่ย(ขฺลุ่ย) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง งาช้าง ปัจจุบันใช้วัสดุอื่นก็มี เช่น พลาสติก เจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สำหรับเอานิ้วปิดและเปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า, มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา.
ขวัญเอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมน. ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร.
ขัช, ขัชกะ(ขัด, ขัดชะกะ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขาดควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ
ขาดเหลือก. ไม่ครบตามที่ควรมี เช่น ถ้ามีสิ่งใดขาดเหลือ ก็ขอให้บอก.
ขาทนียะ(ขาทะ-) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควรบริโภค.
ข้ามหัวก. ทำโดยพลการไม่บอกกล่าวหรือปรึกษาหารือผู้ที่ควรบอกกล่าวหรือควรปรึกษาหารือ.
ขำ ๒น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัยซึ่งไม่ควรเปิดเผย เช่น ความขำเขาซับซี่ในวัดที่ดรธานปล่ยวน้นน (ม. คำหลวง ชูชก), แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด (คาวี).
ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็นก. ทำสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น.
ขึ้น ๒มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
polypharmacy๑. การใช้ยาร่วมหลายขนาน๒. การใช้ยาเกินควร [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
properถูกต้อง, แท้, สมควร, เหมาะสม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
proper careการระมัดระวังตามสมควร [ ดู reasonable care ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
powers, permissive; permissive powersอำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
permissive powers; powers, permissiveอำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
profiteeringการค้ากำไรเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
likelihood functionฟังก์ชันควรจะเป็น [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
reasonable precautions clauseข้อกำหนดระมัดระวังตามควร [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable suspicionเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable timeเวลาอันสมควร, เวลาพอสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
rack rentค่าเช่าที่สูงเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonableตามสมควร, สมควรแก่เหตุ, มีเหตุอันควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable actการกระทำที่สมควรแก่เหตุ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable beliefเหตุอันควรเชื่อ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable careการระมัดระวังตามสมควร [ ดู proper care ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable causeมูลเหตุอันสมควร [ ดู reasonable ground ประกอบ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable despatch clauseข้อกำหนดปฏิบัติการโดยพลันตามควร [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable excuseข้อแก้ตัวอันควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable financial provisionข้อกำหนดให้ได้รับเงินค่าเลี้ยงชีพตามสมควร (จากกองมรดก) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable force(การใช้) กำลังตามสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable groundเหตุอันควร [ ดู reasonable cause ประกอบ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable needsการอันจำเป็นตามสมควร (เพื่อเลี้ยงชีพ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
reasonable noticeคำบอกกล่าวที่ให้เวลาพอสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
onerousมีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
onerous contractสัญญาที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
onerous termข้อกำหนดที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
justificationการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมาย, การกล่าวอ้างที่มีเหตุผลสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
justifying bailหลักประกันที่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
misfeasanceการกระทำที่ไม่ถูกต้อง, การกระทำที่ไม่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
mere motion; ex mero motu (L.)การกระทำตามที่ศาลเห็นสมควร, การกระทำที่ตนเองริเริ่ม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
maximum likelihoodความควรจะเป็นสูงสุด [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
malicious abandonmentการละทิ้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ภริยาหรือสามี) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
moral certaintyความเชื่อโดยไม่มีข้ออันควรสงสัย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
dueครบกำหนด, สมควร, ถูกต้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
due careความระมัดระวังตามสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
disposition, voluntaryการจงใจจำหน่ายในราคาที่ไม่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
discrepancyข้อแตกต่าง (ในสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
fair equivalentค่าทดแทนที่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
excess profit taxภาษีกำไรเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
ex mero motu (L.)การกระทำตามที่ศาลเห็นสมควร, การกระทำที่ตนเองริเริ่ม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
excessive punishmentการลงโทษเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
enrichment, undueลาภมิควรได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
intemperanceการเสพเกินควร (สุรา, อาหาร) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
immoderateเกินสมควร, เกินกว่าเหตุ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
inoperable๑. เกินผ่าตัดให้หาย๒. ไม่สมควรผ่าตัด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
voluntary dispositionการจงใจจำหน่ายในราคาที่ไม่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
tax, excess profitภาษีกำไรเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
undue enrichmentลาภมิควรได้ [ ดู unjust enrichment ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
unjust enrichmentลาภมิควรได้ [ ดู undue enrichment ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
unreasonableไม่มีเหตุผล, ไม่มีเหตุผลอันสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Innovationนวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา]
ถวายพระพรลากระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี]
Shadow exchange rateอัตราแลกเปลี่ยนที่ควรจะเป็น [เศรษฐศาสตร์]
Chi-square testการทดสอบไคสแควร์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Independent Livingการดำรงชีวิตอิสระ, การดำรงชีวิตอิสระเป็นแนวคิดการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่เชื่อว่าคนพิการควรได้รับสิทธิความเป็นพลเมืองและสิทธิการตัดสินใจเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่พิการ นั่นหมายถึงเป็นการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของคนพิการให้มีความเป็นอิสระมากที่สุด โดยให้คนพิการได้เลือกตัดสินใจด้วยตนเอง&nbsp;เพื่อใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน [Assistive Technology]
Chi-square testการทดสอบไคสแควร์ [TU Subject Heading]
Proportionality in lawความพอสมควร (กฎหมาย) [TU Subject Heading]
Unjust enrichmentลาภมิควรได้ [TU Subject Heading]
Certificate of Identity (C.I.)หนังสือสำคัญประจำตัว จะออกให้แก่คนไทยในต่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดย รีบด่วน หากแต่ไม่มีหนังสือเดินทาง เพราะสูญหายหรือปล่อยให้ขาดอายุนาน แต่ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะต่ออายุหรือออกหนังสือเดินทางให้ใหม่ [การทูต]
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Missionการเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต]
Conference Diplomacyกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต]
Consular office Declared ?Non grata?เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
Diplomatic Illnessนักการทูตแสร้งทำเป็นป่วย ใช้เป็นข้อแก้ตัวในการที่ไม่ไปร่วมพิธี ร่วมประชุม หรือร่วมงานสังคม เพื่อมิให้เป็นการแสลงน้ำใจโดยมิสมควรแก่ผู้เชิญ [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Duration of Diplomatic Privileges and Immunitiesระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต]
Exercise of Consular Functions in a Third Stateการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต]
Intellectual Propertyทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต]
Marshall Planแผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต]
MFA's Press Releaseข่าวสารนิเทศ " ซึ่งให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานของกระทรวงการ ต่างประเทศที่สื่อมวลชนควรรับทราบและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน " [การทูต]
Multiple Representationคือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต]
National Holidayวันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต]
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralismคำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต]
New World Orderระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต]
Normal Diplomacyการติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต]
Open Diplomacyคือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต]
Persona non grataเป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต]
Personal Diplomacyคือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต]
Personal Inviolability of Diplomatic Agentsหมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต]
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunitiesบุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต]
Political Appointeeหมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต]
Presentation of Credentialsหมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต]
Security Council of the United Nationsคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต]
Size of Consular Staffขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ [การทูต]
Thailand ? Cambodia Joint Development Study for Economic Cooperation Planโครงการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผน ปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา ตลอดจนสาขาทางเศรษฐกิจที่ควรมีความร่วมมือต่อกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชาในระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว รวม 5 สาขา ได้แก่ โครงสร้างทางกายภาพ (ถนนและไฟฟ้า) อุตสาหกรรมการเกษตรและประมง อุตสาหกรรมเบา การพัฒนาการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงทางการค้า โดยจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจดัง กล่าว ทั้งนี้ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 15 ปี เริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป [การทูต]
ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วปริมาณที่จะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่ค้นพบแล้ว, ปริมาณที่จะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่ค้นพบแล้ว โดยประเมินได้อย่างมั่นใจพอควร จากข้อมูลทางธรรีวิทยาและวิศวกรรม ทั้งนี้ การผลิตจะต้องอยู่ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ตลอดจนวิธีปฏิบัติการและกฎระเบียบของรัฐบาลในขณะนั้น [ปิโตรเลี่ยม]
Fairnessความถูกต้องตามที่ควร [การบัญชี]
Anger Reaction, Excessiveอารมณ์โกรธเกินควร [การแพทย์]
Body Weight, Idealน้ำหนักในระดับกลางที่เหมาะสม, น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น, น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น [การแพทย์]
Chi-Squareไค-สแควร์ [การแพทย์]
Chi-Square Testการทดสอบไคสแควร์, การทดสอบไคว์สแควร์ [การแพทย์]
Chi-Square, Contingencyคอนทินเจนซีไค-สแควร์ [การแพทย์]
Contraindicationsข้อห้ามใช้, ข้อบ่งห้าม, ข้อควรระวัง, ข้อห้าม [การแพทย์]
Contraindications, Relativeโรคหรือสภาวะที่ไม่ควรใช้ [การแพทย์]
Daily Allowance, Recommendedแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน [การแพทย์]
Depression, Atypicalอาการซึมเศร้าที่ผิดแปลกไปจากลักษณะที่ควรจะเป็น [การแพทย์]
Dietary Allowance, Recommendedปริมาณที่แนะให้รับประทาน, ปริมาณไวตามินที่ควรได้รับประจำวัน, ปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน [การแพทย์]
Ego Senseความรู้ในขอบเขตตนเองว่าควรได้อะไรบ้างหรือไม่ควร [การแพทย์]
Expectation, Appropriateมีความคาดหวังในตัวเด็กแต่พอควร [การแพทย์]
Fluid 24 HR, Totalจำนวนน้ำเกลือที่ควรให้ใน24ชั่วโมง [การแพทย์]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
You should go. คุณควรไป Lost Girls (2009)
Well, things can't always be the way you want them to be. บางครั้ง ก็ไม่เป็นอย่างที่ควรจะเป็น . The Young Indiana Jones Chronicles (1992)
Patience. Gazeem was obviously less than worthy. กาซีม มันไม่ได้มีค่าควรขนาดนั้น Aladdin (1992)
Allah forbid you should have any daughters! พระเจ้าขัดขวางแท้ๆ แกควรมีลูกซะบ้าง! Aladdin (1992)
Here you go. You'd better be able to pay for that. เธอควรจะจ่ายเงินซื้อสิ่งนั้น Aladdin (1992)
Hey, she was in trouble. เฮ้ เธอกำลังมีปัญหา อา เธอสำควรแล้ว Aladdin (1992)
She's gotta marry a prince, she deserves a prince. เธอต้องแต่งงานกับเจ้าชาย เธอคู่ควรกับเจ้าชาย Aladdin (1992)
Allow me. ท่าน ข้าควรจะเตือน ต่อต้านเรื่องนี้ Aladdin (1992)
You should be free to make your own choice. เธอควรมีอิสระที่จะเลือกตัวเลือกของเธอเอง ข้าจะไปละ Aladdin (1992)
A hundred thousand things to see ( -Hold your breath--it gets better! กว่า 100 สิ่งที่ควรพบเห็น สูดลมหายใจ แล้วมันจะดีขึ้น Aladdin (1992)
You should be, Jasmine. I have chosen a husband for you. เธอควรจะเป็นเช่นนั้น จัสมิน ข้าได้เลือกเจ้าบ่าวให้เจ้าแล้ว อะไรนะ Aladdin (1992)
Psst, your line is "I'm going to free the genie." มันควรจะเป็น "ข้าจะปลดปล่อยจีนี่ให้เป็นอิสระ" ทุกเมื่อ Aladdin (1992)
I should have freed the genie when I had the chance. ข้าควรปลดลป่อยจีนี่ เมื่อมีโอกาส อาบู Aladdin (1992)
Perhaps you'd like to see how snake-like I can be! บางที เจ้าควรเห็นว่า ข้าเป็นงู ได้แค่ไหน Aladdin (1992)
A beautiful desert bloom such as yourself should be on the arm of the most powerful man in the world. ดอกไม้อันสวยงามที่บานกลางทะเลทรายอย่างเจ้า คู่ควรกับแขนของผู้ทรงพลังที่สุดในโลกนี้ Aladdin (1992)
It's not advisable for a doctor who's done a forensic evaluation to then become that person's therapist. มันไม่ควรสำหรับหมอที่ อยู่ในศาลการพิจารณาคดี ...แล้วมาเป็นหมอบำบัด ให้กับคนคนนั้น Basic Instinct (1992)
And you should be glad too. และคุณก็ควรจะดีใจด้วยเหมือนกัน Basic Instinct (1992)
You kept saying how you knew and should have gone to the police. คุณเอาแต่พูดว่าคุณรู้ได้ยังไง และควรจะไปแจ้งตำรวจ Basic Instinct (1992)
I didn't know. I sensed. And I told you that as my wife in confidence. ผมไม่เคยรู้ ผมรู้สึกได้ และผมได้บอกคุณ ในฐานะที่คุณเป็นภรรยาที่ควรจะปกปิดความลับ Basic Instinct (1992)
You should not have gone in there. คุณไม่ควร เข้าไปในห้องนั้น Wuthering Heights (1992)
Perhaps she should stay here for awhile. บางทีหล่อนควรอยู่ ที่นี้สักพัก Wuthering Heights (1992)
Shouldn't you be back in the fields now, Heathcliff? เธอควรจะกลับไปที่ ทุ่งได้แล้วไม่ใช่หรือ ฮีธคลิฟฟ์ Wuthering Heights (1992)
Oh, is it worth keeping? มันควรค่า ต่อการเก็บงำหรือเปล่า Wuthering Heights (1992)
How should I answer? ฉันควรจะตอบอย่างไรดี Wuthering Heights (1992)
And yet, you don't deserve this welcome. และกระนั้น เธอก็ไม่ควร ได้รับการต้อนรับอย่างนี้ Wuthering Heights (1992)
She even disgraces the name of Linton. หล่อนไม่คู่ควร แม้แต่กับสกุลลินตัน Wuthering Heights (1992)
You should be friends with your cousin. เธอควรเป็น มิตรกับญาติตัวเองนะ Wuthering Heights (1992)
Hareton will defend me, so you may as well sit down. แฮร์ตันจะปกป้องดิฉัน เพราะฉะนั้นคุณควรนั่งลงค่ะ Wuthering Heights (1992)
Oh, you should not have gone in there. คุณไม่ควร เข้าไปในห้องนั้น Wuthering Heights (1992)
Yes. Angle on fireman. คุณไม่ควรจะเล่นอะไรกับใครแบบนี้ Hero (1992)
Backlit. Blazing inferno! ถึงชั้นจะไม่รุอะไรมาก แต่ชั้นก้อรู้ว่าจะอะไรไม่ควรเล่น Hero (1992)
You're never here where you should be. ไม่เคยอยู่เลยเวลาที่ควรอยู่ The Lawnmower Man (1992)
He's already been exhibiting behavioral instability... in the virtual battle simulations. มันควรจะได้รับ การบำบัดอารมณ์ที่ไม่มั่นคงก่อน ในโลกเสมือนนั่นน่ะ The Lawnmower Man (1992)
God saw fit to make you a ward of this church... and you must earn your keep. พระเจ้ามอบพันธะให้เจ้าดูแลแท่นบูชา และเจ้าควรน้อบรับหน้าที่อย่างแข็งขัน The Lawnmower Man (1992)
You know, you shouldn't hit people. คุณไม่ควรทำร้ายคนอื่น The Lawnmower Man (1992)
You shouldn't hit people like that. คุณไม่ควรทำแบบนี้ The Lawnmower Man (1992)
Then maybe it shouldn't. บางทีมันอาจไม่ควรเริ่ม The Lawnmower Man (1992)
All this power... isn't meant to be in the hands of one person. พลังพวกนี้.. ..ไม่ควรตกอยู่ในมือของใคร The Lawnmower Man (1992)
- George, we wasn't supposed to say that. - จอร์จ เราไม่ควรพูดคำนั้นนะ Of Mice and Men (1992)
When I think of the swell time I could have without you, phew, I go nuts. ทุกครั้งที่ฉันคิดถึง เวลาที่ฉันควรจะได้มี ถ้าไม่มีนาย... ฉันจะบ้าไปเลย Of Mice and Men (1992)
Yeah, yeah. Well, he better make no mistake about Lennie. เขาไม่ควรเข้าใจผิดเกี่ยวกับเลนนี่ Of Mice and Men (1992)
Better not tangle with Slim. เขาไม่ควรหาเรื่องกับสลิม Of Mice and Men (1992)
- Tell her to stay home. - ทำไมไม่บอกเธอให้อยู่บ้าน ที่ ๆ เธอควรจะอยู่ Of Mice and Men (1992)
Maybe George come back already. Maybe I better go see. บางทีจอร์จอาจจะกลับมาแล้ว บางทีฉันควรไปดู Of Mice and Men (1992)
You shouldn't be in here. มาทำอะไรในห้องครุกส์ นายไม่ควรอยู่ที่นี่นะ Of Mice and Men (1992)
I ain't supposed to talk to you. ฉันไม่ควรจะคุยกับเธอ Of Mice and Men (1992)
I ain't supposed to talk to you. George said he'd give me hell. He told me this. ฉันไม่ควรจะพูดกับเธอ จอร์จพูดว่า เขาจะลงโทษฉัน เขาบอกมาอย่างนี้ Of Mice and Men (1992)
I could've made something outta myself. ฉันควรจะทำอะไรให้ตัวเองได้ Of Mice and Men (1992)
And maybe I oughtn't to. บางทีฉันไม่ควรจะเล่าเลย Of Mice and Men (1992)
You oughtn't to sleep out here. คุณไม่ควรจะมานอนอยู่ที่นี่นะ Of Mice and Men (1992)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อันควรจำ[an khūan jam] (adj) EN: memorable
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร[dōi mai mī hētphon an somkhūan] (x) EN: without sufficient reason
จำนวนมากพอควร[jamnūan māk phøkhūan] (adj) EN: substantial
ข้อควรคำนึง[khø khūan khamneung] (n, exp) EN: caution
ข้อควรกระทำ[khø khūan kratham] (n, exp) EN: procedure
ข้อควรประพฤติ[khø khūan praphreut] (n, exp) EN: code of practice ; instructions
ข้อควรระวัง[khø khūan rawang] (n, exp) EN: warning ; caution  FR: avertissement [ m ]
ควร[khūan] (v) EN: should ; ought to  FR: devoir ; falloir ; il faudrait ; il est recommandé
ควรบริโภคก่อน ...[khūan børiphōk køn ...] (v, exp) EN: best before ...  FR: à consommer avant ...
ควรจะ[khūan ja] (v, exp) EN: should ; ought to  FR: falloir que ; devoir ; faire mieux de
ควรจะได้รับ[khūan ja dāirap] (v, exp) FR: mériter
ควรจำ[khūan jam] (adj) FR: mémorable
ควรจะไป[khūan ja pai] (v, exp) EN: should go
ควรจะเป็น[khūan ja pen] (v, exp) EN: should be ; ought to be
ควรจะถูก[khūan ja thūk] (v, exp) FR: encourir
ควรจะต้อง[khūan ja tǿng] (v, exp) EN: must  FR: devoir ; falloir ; il faudrait
ความระมัดระวังตามสมควร[khwām ramatrawang tām somkhūan] (n, exp) EN: due care and attention ; due diligence
เกินควร[koēn khūan] (adj) EN: inappropriate  FR: excessif ; immodéré
เกินควร[koēn khūan] (adv) EN: excessively
ลองดูตามควร[løngdū tām khūan] (v, exp) EN: have a fair trial with
ไม่ควร[mai khūan] (v, exp) FR: on ne devrait pas ; il ne faut pas
ไม่สมควร[mai somkhūan] (adj) EN: improper ; unseemly ; unbecoming ; unsuitable ; inadvisable ; inapt  FR: inapte ; incapable
ไม่สมควรแก่เหตุ[mai somkhūan kaē hēt] (adj) EN: unreasonable
ในเวลาอันสมควร[nai wēlā an somkhūan] (x) EN: in due time
เป็นการสมควร[pen kān somkhūan] (x) EN: reasonable ; suitable ; right
ภาษีกำไรเกินควร[phāsī kamrai koēn khūan] (n, exp) EN: excess profit tax
พอควร[phøkhūan] (adj) EN: reasonable  FR: modéré ; raisonnable
พอควร[phøkhūan] (adv) EN: moderately ; fairly  FR: modérément
ผมควรจะพูดยังไง[phom khūan ja phūt yang-ngai] (xp) EN: what should I say ?  FR: que devrais-je dire ?
สยามสแกวร์ = สยามสแควร์[Sayām Sākwaē = Sayām Sākhwaē] (n, prop) EN: Siam square  FR: Siam square
สมควร[somkhūan] (adj) EN: fitting ; becoming ; appropriate  FR: approprié ; convenable ; apte ; qui a l'étoffe de
สมควร[somkhūan] (adv) EN: suitably ; properly ; appropriately  FR: convenablement
สมควรแก่เหตุ[somkhūan kaē hēt] (adj) EN: reasonable
ตามควร[tām khūan] (adv) EN: appropriately ; as fits ; as it should be ; as is proper ; as discretion ; suitably  FR: comme il convient ; comme il faut ; comme il se doit ; de façon/manière appropriée
ตามที่เห็นสมควร[tāmthī hen somkhūan] (adv) EN: as one see

Longdo Approved EN-TH
role model(n) ผู้ซึ่งมีลักษณะควรค่าแก่การเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น
homoeopathy[โฮมีโอพาธี] (n) การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีมีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการทำความเข้าใจร่างกายมนุษย์ที่แตกต่างจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง การมองร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยจะไม่ได้มองเป็นอวัยวะที่แยกส่วนออกจากกัน แต่จะมองร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะบำบัดผู้ป่วยจะต้องมีการสัมภาษณ์และคุยกับผู้ป่วยในเรื่องของลักษณะทั่วไป บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ ฯลฯ รวมทั้งอาการของโรคด้วย นักบำบัด (practitioner) จะต้องนำคำตอบทั้งหมดมาประมวลและสรุปเป็นภาพรวมโดยเรียกว่า “ภาพของอาการ” (symtom picture)ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของการบำบัดจึงไม่ควรใช้กรอบและแนวคิดของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันประเมินแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีด้วย โดยสรุปแล้วการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลสารชีวเคมีและพลังไหลเวียนภายในร่างกาย การให้ยาเป็นไปเพียงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเอง ไม่ได้มุ่งหมายให้ยาไปขจัดหรือทำลายกลไกของร่างกายหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการป่วย รวมทั้งไม่ได้มุ่งหมายที่จะขจัดสิ่งมีชีวิตใด ๆ ออกจากร่างกายด้วย
have it coming(phrase) สมควรแล้ว, สมแล้ว (ที่จะได้รับสิ่งนั้น หรือ ที่จะเป็นเช่นนั้น ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ดี หรือ เลว ก็ได้) เช่น It's too bad he got fired, but he sure had it coming.
golden calf(n) สิ่งที่ได้รับการยกย่องหรือสักการะ ทั้งๆที่ไม่สมควรได้รับการยกย่อง
my two cents(phrase) เป็นสำนวน ย่อมาจาก "to put my two cents in" ใช้กล่าวก่อนจะแสดงความเห็นของตน โดยเป็นการถ่อมตัวว่า ความเห็นของตนอาจจะไม่ได้มีค่าอะไรมาก (เงิน 2 cents เป็นจำนวนที่น้อยมาก) ก่อนจะให้ความเห็นที่อาจจะแย้งกับความเห็นของอีกฝ่าย เช่น "If I may put my two cents in, that hat doesn't do you any favors." แปลว่า หมวกใบนั้นไม่สวย ไม่เหมาะกับคุณ หรือ "My two cents is that you should sell that stock now." คุณควรจะขายหุ้นนั้นทิ้งซะตอนนี้ (ที่มา http://en.m.wikipedia.org/wiki/My_two_cents)
with a grain of salt(phrase) ด้วยความระมัดระวัง, ฟังหูไว้หู, เช่น You'd better take his words with a grain of salt. คุณควรจะฟังเขาด้วยความระมัดระวัง ฟังหูไว้หู มีที่มาจากในสมัยโบราณ เกลือเป็นส่วนผสมของยาแก้พิษ ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของยาพิษที่เสพเข้าไปได้
mansplaining(n, slang) การกระทำที่ผู้พูด (มักเป็นผู้ชาย) อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟัง (มักเป็นผู้หญิง) ในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม https://dict.longdo.com/blog/word-of-the-day-mansplaining/
sandbag(vi) หลบเลี่ยง ที่จะแสดงถึงความสามารถ หรือ ตำแหน่ง หรือ ความตั้งใจจริงๆ โดยการเสแสร้งให้ดูด้อยค่าลง เพื่อให้ได้ประโยชน์อะไรบางอย่าง เช่น จริงๆ สามารถทำได้ ก็บอกว่าทำไม่ได้ หรือ ทำได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
advisable(adj) ซึ่งคู่ควร, See also: ซึ่งมีค่าพอ, เหมาะ, Syn. fitting, prudent
anarchism(n) ลัทธิที่เห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรมีกฎหมายหรือรัฐบาล
approve(vt) เห็นด้วย, See also: เห็นควร, เห็นสมควร, เห็นพ้อง, เห็นชอบ, เห็นดีเห็นชอบ, Syn. affirm, support, ratify, Ant. refect, veto
attention(n) การรักษาที่เหมาะสม, See also: การปฏิบัติที่สมควร, การดูแล
accredit to(phrv) ถือว่าเป็นของ, See also: สมควรเป็นของ
all right(idm) น่าพอใจ, See also: ถูกต้อง, สมควร
All work and no play makes Jack a dull boy(idm) เราควรพักผ่อนพอๆ กับทำงาน
becoming(adj) เหมาะสม, See also: สมควร, Syn. Appropriate, suitable
befit(vt) เหมาะสม, See also: สมควรพอดี, สมควรเหมาะเจาะ, Syn. become
blameworthy(adj) ซึ่งควรตำหนิ
bodge(vt) ทำหรือซ่อมแซมได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น, Syn. botch
bowdlerise(vt) ชำระหรือตัดส่วนที่ไม่สมควรออก, Syn. expurgate
bowdlerize(vt) ชำระหรือตัดส่วนที่ไม่สมควรออก
be beneath someone's notice(idm) ไม่น่าสนใจ, See also: ไม่ควรค่าแก่การสนใจ, ไม่คู่ควร
be better off(phrv) ควรจะเลือก
be cut out for(phrv) เหมาะสมสำหรับ, See also: สมควรกับ
be cut out to be(phrv) เหมาะที่จะเป็น, See also: สมควรจะเป็น
be in keeping with(idm) เหมาะสม, See also: สมควรกับ, Syn. be out of
be in the running for(idm) มีค่าคู่ควรกับ, See also: สมควรกับ, Syn. be out of
breathe of(phrv) เผยความลับ, See also: พูดหรือบอกสิ่งที่ไม่ควรพูด
carryings-on(n) พฤติกรรมที่ไม่สมควร
commendable(adj) ที่ควรยกย่อง
compensable(adj) ที่ควรได้รับการชดเชย
contemptible(adj) น่าเหยียดหยาม, See also: ซึ่งสมควรแก่การดูถูกดูหมิ่น, Syn. despicable, worthless
crying(adj) ที่ควรให้ความสนใจ, See also: ที่ควรให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน, Syn. urgent, pressing
call for(phrv) สมควรได้รับ, See also: ควรได้
conspicuous by one's absence(idm) ไม่ปรากฎตัวอยู่ด้วยทั้งๆ ที่ควรอยู่
count as(phrv) นับว่าเป็น, See also: ถือว่าเป็น, สมควรเป็น, Syn. reckon as, regard as
deserve of(phrv) สมควรได้รับจาก
food for thought(idm) สิ่งที่ควรขบคิด, See also: สิ่งที่ควรนึกถึง
fringe benefit(n) สิ่งที่ลูกจ้างสมควรได้รับนอกจากค่าจ้างหรือเงินเดือน
decent(adj) เหมาะสม, See also: สมควร, น่านับถือ
decently(adv) อย่างเหมาะสม, See also: อย่างสมควร, อย่างถูกทำนองคลองธรรม, Syn. proprely, seemly
deserve(vt) สมควรได้รับ, See also: ควรค่าแก่การได้รับ, คู่ควร, Syn. merit, earn, rate, warrant
deserve(vi) สมควรได้รับ, See also: ควรค่าแก่การได้รับ, คู่ควร, Syn. merit, earn, rate, warrant
deserved(adj) ซึ่งสมควรได้รับ, See also: ซึ่งสมควรแล้ว, ซึ่งคู่ควร, Syn. earned, merited
deservedly(adv) อย่างที่สมควรได้รับ
deserving(adj) ซึ่งสมควรได้รับ, See also: ซึ่งสมควรแล้ว, ซึ่งคู่ควร, Syn. earned, merited
diphthong(n) การออกเสียงสระควบ, See also: การออกเสียงอักษรควร, Syn. triphthong, voice
discrepancy(n) ความแตกต่างกันระหว่างสองสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน, Syn. difference, disparity, gap, Ant. accord
discrepant(adj) แตกต่างกัน (ระหว่างสองสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน), Syn. conflicting, improper, unsuitable
due(n) สิ่งที่สมควรได้รับ
earn(vt) ได้รับ, See also: สมควรได้รับ, Syn. deserve
elitism(n) ความเชื่อที่ว่าคนบางคนสูงส่งกว่าคนอื่นและสมควรจะได้รับสิทธิพิเศษต่างจากคนอื่น
enough(adj) พอเพียง, See also: พอ, พอสมควร, เพียงพอ, Syn. adequate, ample, sufficient
enough(adv) พอเพียง, See also: พอ, พอสมควร, เพียงพอ, พอยอมรับได้, Syn. adequately, amply, sufficiently
excess(n) จำนวนที่มากเกินไป, See also: จำนวนที่เกิน, จำนวนที่เกินควร, ส่วนเกิน, ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา, ความเกินพอดี, ส่วนเกิน, Syn. surplus
fair(adj) มากพอประมาณ, See also: มากพอสมควร, Syn. quite large
fairish(adj) ดีพอสมควร, See also: ดีพอใช้
fairish(adj) มากพอสมควร, See also: ใหญ่พอควร

Hope Dictionary
advisable(แอดไว' ซะเบิล) adj. ซึ่งแนะนำได้, เหมาะ, สมควร. -advisability. -advisableness n., Syn. suggested
anarchism(แอน' นะคิสซีม) n. ลัทธิที่เห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรมีกฎหมายหรือรัฐบาล, ลัทธิไม่มีรัฐบาล, อนาธิปไตย
antiquary(แอน' ทีแควรี่) n. ผู้ชำนาญหรือศึกษาทางโบราณวัตถุ, ผู้สะสมโบราณวัตถุ
become(บิคัม') { became, become, becoming, becomes } vi., vt. กลายเป็น, เป็น, เปลี่ยนเป็น, มาเป็น, สอดคล้องกัน, เหมาะ, สมควร, น่าดู, Syn. happen, befit
becoming(บิคัม'มิง) adj. เหมาะ, สมควร n. กระบวนการเปลี่ยนแปลง, Syn. proper
beneath(บินีธ') adj., prep. ข้างใต้, ต่ำกว่า, ภายใต้, เลวกว่า, ไม่เหมาะ, ไม่สมควร, เสื่อมเสีย, เสียศักดิ์ศร', Syn. below
blamable(เบลม'มะเบิล) adj. ควรรับผิด, ควรถูกตำหน', Syn. culpable
blame(เบลม) { blamed, blaming, blames } vt. กล่าวโทษ, ตำหนิ, ประณาม, นินทา, กล่าวร้าย, โยนความผิดให้ -Phr. (be to blame ควรถูกตำหนิ, ควรรับผิดชอบ) n. การตำหนิ, ความรับผิดชอบ, ภาระ, See also: blamer n. blameful adj. ดูblame blameless adj. ดูblame -Conf. put
blameable(เบลม'มะเบิล) adj. ควรรับผิด, ควรถูกตำหน', Syn. culpable
blameworthy(เบลม'เวอธี) adj. ควรถูกตำหนิ, See also: blameworthiness n, Syn. culpable
bug(บัก) { bugged, bugging, bugs } n. แมลง, เชื้อจุลินทรีย์, ความบกพร่อง, แฟน, คนคลั่ง, เครื่องดักฟัง, ความคลั่ง, เหยื่อตกปลาที่คล้ายแมลง vt. รบกวน, ติดตั้งเครื่องดักฟังในที่ลับ, Syn. fault, defect จุดบกพร่องหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด หรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ คำนี้มาจากคำ bug ที่แปลว่า ตัวด้วง ตัวแมลง ที่ชอบทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนเสีย เกิดการลัดวงจรขึ้น การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม จึงใช้คำว่า "debug"
burn inระยะทดลอง <คำแปล>กระบวนการที่ใช้ในระหว่างการทดลองอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่า สามารถใช้การได้ดีจริง ๆ เช่น เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เอี่ยมมา ก็ควรจะลองเปิดเครื่องทิ้งไวัสัก 48 ชั่วโมง ถ้าอะไรจะเสียหรือใช้การไม่ได้ดี ก็จะได้รู้ ช่วงเวลาที่ลองใช้นี้ เรียกว่าระยะ burn in (ถ้าเป็น รถยนต์เรียกว่า run in)
categorical imperativen. กฎที่ว่าการกระทำของคนนั้นควรเป็นการบริหารซึ่งเป็นพื้นฐานของกฎทั่วไป
censurableadj. ควรได้รับการตำหนิ, ควรตำหนิ, น่าตำหนิ, See also: censurableness n.
chi-square(ไค'สแควร์) n. คำที่เท่ากับผลบวกทั้งหมดของตัวแปรของผลหารของ (ความแตกต่างระหว่างค่าเห็นได้กับค่าคาดหมาย)
comeuppance(คัมอัพ'พันซ) n. การด่าที่ควรได้รับ
command(คะมานดฺ') { commanded, commanding, commands } v. บัญชา, สั่ง, สั่งการ, ควบคุม, มีอำนาจเหนือ, ควรได้รับ -n. การออกคำสั่ง, คำสั่ง, อำนาจสั่ง, ตำแหน่งบัญชาการ, คนในบังคับบัญชา, อักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้สั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน, Syn. order
commemorable(คะเมม'มะระเบิล) adj. น่าฉลอง, สมควรจะได้รับการฉลอง, ซึ่งควรระลึกถึง
comparative(คัมแพ'ระทิฟว) adj. เกี่ยวการเปรียบเทียบ, ซึ่งเทียบเคียง, พอสมควร., See also: comparativist ผู้เปรียบเทียบ, Syn. parallel -Conf. superlative
compensable(คัมเพน'ซะเบิล) adj. ควรได้รับการชดเชยหรือตอบแทน
computer appreciationคอมพิวเตอร์วิจักขณ์หมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer education
computer educationคอมพิวเตอร์ศึกษาหมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้ งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer appreciation
computer programmerนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้
computer securityความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้สามารถดึงข้อมูล ซึ่งบางทีเป็นความลับออกมาดู หรือแอบนำไปเผยแพร่ได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการจัดระบบความปลอดภัย ส่วนใหญ่ใช้รหัส ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ เราอาจอนุญาตเฉพาะคนบางคน หรือกลุ่มคนบางคน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยต้องรู้รหัส ฉะนั้นในขณะที่มีการสร้างฐานข้อมูล ก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย
condign(คันไดน์') adj. พอเพียง, เหมาะสม, สมควร, Syn. deserved, adequate, meet
consideration(คันซิดเดอเร'เชิน) n. การพิจารณา, การครุ่นคิด, สิ่งที่ควรพิจารณา, การชดเชย, ความเห็นใจคนอื่น, ความสำคัญ, ความนับถือ, Syn. thinking
correct(คะเรคทฺ') { corrected, correcting, corrects } vt. ทำให้ถูกต้อง, แก้ไข, แก้, ตำหน' (เพื่อแก้ไข) , ลงโทษ (เพื่อแก้ไข) , ตรวจ, แก้, ต่อต้าน adj. ถูกต้อง, ไร้ความผิด, สมควร, เหมาะ, สอดคล้อง, See also: correctable adj. correctible adj. correctness n. ดูcorrect
corrigendum(คอ'ริเจนเดิม) n. ความผิดที่ควรแก้ไข (โดยเฉพาะเรื่องการพิมพ์ผิด), See also: corrigenda n. ใบแก้คำผิด -pl. corrigenda
data baseฐานข้อมูลหมายถึง การจัดรวบรวมข้อนิเทศ หรือข้อมูลของเรื่องต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบที่จะ เรียกมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในการเรียกนั้น อาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งเป็นคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ บางทีเขียนเป็นคำเดียวกันว่า database
databaseหมายถึง การจัดรวบรวมข้อนิเทศ หรือข้อมูลของเรื่องต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบที่จะ เรียกมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในการเรียกนั้น อาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งเป็นคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ บางทีเขียนแยกกัน เป็น data base ก็มี
decent(ดี'เซินทฺ) adj. บังควร, เหมาะสม, น่านับถือ, มีสมบัติผู้ดี, มีเกียรติ, พอเพียง, กรุณา, โอบอ้อมอารี, Syn. modest
demanding(ดิมาน'ดิง) adj. เรียกร้องมากเกินควร
deserve(ดีเซิร์ฟว') vt., vi. สมควรจะได้รับ., See also: deserver n. ดูdeserve, Syn. merit, earn, rate
deserved(ดิเซิร์ฟวดฺ') adj. ซึ่งสมควรได้รับ, ดีสม, สมควรแล้ว, See also: deservedness n.
deservedly(ดิเซิร์ฟ'วิดลี) adv. สมควรแล้ว
deserving(ดิเซิร์ฟ'วิง) adj. ซึ่งสมควรได้รับ (รางวัล, การชมเชย, ความช่วยเหลือ), See also: deservingness n., Syn. worthy
due(ดิว) adj. เหมาะสม, สมควร, พอเพียง, พอควร, ครบกำหนด, ถึงกำหนด, ถูกต้อง, ถูกทำนองคลองธรรม, ตรง, หลีกเลี่ยงไม่ได้. n. สิทธิที่ควรได้รับ, หนี้, เงินที่พึงชำระ, ค่าธรรมเนียม, ความยุติธรรม. -adv. โดยตรง, แน่นอน. -Phr. (due to เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เพราะ) ., See also: d
earn(เอิร์น) v. หาได้, หามาได้, ได้กำไร, ได้รับ, สมควรได้รับ, มีรายได้, อยากได้, ปรารถนา, See also: earner n.
earnest(เอิร์น'นิสทฺ) adj. จริงจัง, เอาใจ, ตั้งใจจริง, ซึ่งมีความกระตือรือร้นจริง, สำคัญมาก, ซึ่งควรได้ความสนใจมาก. n. ความจริงจัง, ความตั้งใจจริง, See also: earnestly adv. earnestness n. ดูearnest, Syn. serious
extension(อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type
extravagance(อิคซฺแทรฟ'วะเกินซฺ) n. ความฟุ่มเฟือย, ความสุรุ่ยสุร่าย, ความมากเกินควร, ความสิ้นเปลือง, Syn. lavishness
extravagant(เอคซฺแทรฟ'วะเกินทฺ) adj. ฟุ่มเฟือย, สุรุ่ยสุร่าย, สิ้นเปลือง, ความมากเกินควร, See also: extravagantness n., Syn. spendthrift
fair(แฟรฺ) adj. ยุติธรรม, ถูกต้อง, ซื่อสัตย์, ใหญ่พอสมควร, มาก, ปานกลาง, ดีพอใช้, สภาพ, สวยงาม, ไม่มีจุดด่างพร้อย, สะอาด, ชัดเจน, มีผิวพรรณดี, มีเสน่ห์., See also: fairness n. -adv. สุภาพ, ยุติธรรม. -Phr. fair and square ซื่อสัตย์, ตรงไปตรงมา . -Phr. see fair ตัด
finable(ไฟ'นะเบิล) adj. ซึ่งควรถูกปรับเงิน., See also: finableness n.
fineable(ไฟ'นะเบิล) adj. ซึ่งควรถูกปรับเงิน., See also: finableness n.
fit(ฟิท) { fitted, fitting, fits } adj.เหมาะ, เหมาะสม, สมควร, คู่ควร, สอดคล้อง, ถูกต้อง, (สุขภาพ) ปกติ, (สุขภาพ) สมบูรณ์. vt. ทำให้เหมาะสม, ปรับ, ปรับปรุง, ทำให้พอดี, เตรียม, จัดหา. vi. เหมาะกับ, เหมาะสมกับ, คู่ควรกับ, สอดคล้องกับ. -Phr. (fit out (up) จัดหาเตรียม, จัดหาเสื้อผ้า, เ
fitting(ฟิท'ทิง) adj. เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, สอดคล้อง. n. การกระทำที่เหมาะสม, สิ่งที่เหมาะสม, การสวมได้เหมาะ, ขนาดเสื้อผ้าที่เหมาะ, เครื่องมือ, อุปกรณ์., See also: fittingly adv. fittingness n., Syn. fit, appropriate, part, component
fixed pitchช่องไฟเท่ากันหมายถึง การพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวโดยกำหนดให้มีช่องไฟ กว้างเท่า ๆ กัน บางทีใช้คำว่า monospaced โดยปกติ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) ชนิดราคาถูก ๆ จะพิมพ์หรือให้ภาพตัวอักษรที่มี ความกว้างเท่ากันหมด ตรงข้ามกับคำ fixed pitch นี้ เราจะใช้คำว่า proportional pitch เครื่องพิมพ์ดี ๆ จะต้องปรับ ขนาดของตัวอักษรไม่ให้เท่ากัน เช่น ตัว I, L, T ไม่ควร จะกว้างเท่ากับ O, W, M ILT OWM
foldern. เครื่องพับ, คนพับกระดาษ, ที่เก็บกระดาษเอกสาร กล่องแฟ้มข้อมูลโฟลเดอร์หมายถึง ที่รวมกลุ่มแฟ้มข้อมูล เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะกับเครื่อง แมคอินทอช (พีซี ใช้ program group) มีสัญรูปเหมือนกล่องมีสีเหลือง อนึ่ง ภายใต้เมนู File จะมีคำสั่งให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ได้ คือ New folder เมื่อใช้ คำสั่งนี้แล้ว จะได้สัญลักษณ์ใหม่มาอีกอันหนึ่ง ข้างล่างจะมีคำว่า "untitled folder" ลากสัญรูปแฟ้มข้อมูลที่ต้องการให้อยู่กลุ่มเดียวกันไปรวมไว้ภายในโฟลเดอร์นี้ เวลาต้องการเรียกใช้ จะช่วยให้หาได้ง่ายและสะดวก ควรจะตั้งชื่อโฟลเดอร์ใหม่นี้เสียด้วย
gallows-ripeadj. ควรต้องโทษแขวนคอ

Nontri Dictionary
advisable(adj) สมควร, ซึ่งแนะนำได้, เหมาะ
appropriate(adj) เหมาะสม, สมควร, เหมาะเจาะ, ได้ฤกษ์
appropriately(adv) อย่างเหมาะสม, อย่างเหมาะเจาะ, อย่างสมควร
become(vt) กลายเป็น, มาเป็น, เปลี่ยนเป็น, เหมาะ, สมควร, สอดคล้องกับ
becoming(adj) เหมาะ, เหมาะสม, สมควร
beseem(vt) เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, สอดคล้องกับ
blamable(adj) ควรถูกตำหนิ
correct(adj) ถูกต้อง, เหมาะ, สมควร
deserve(vt) สมควรได้รับ
deservedly(adv) อย่างเหมาะสม, สมควรแล้ว, สมน้ำหน้า, โดยยุติธรรมแล้ว
due(adj) เป็นหนี้, ถึงกำหนด, ครบกำหนด, สมควร, เหมาะสม, ถูกต้อง
duly(adv) โดยสมควร, ตรงเวลา, อย่างเหมาะสม, ครบกำหนด
excusable(adj) สมควรจะให้อภัย, ซึ่งพอให้อภัยได้, ซึ่งยกโทษให้ได้
fit(adj) เหมาะ, คู่ควร, สมกัน, พอดี, เหมาะสม, สมบูรณ์
fit(vi, vt) เหมาะกัน, สมควร, คู่ควร, เหมาะสม, จัดหา, เตรียม, ปรับ
impolitic(adj) ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร
improper(adj) ไม่เหมาะ, ไม่ถูกต้อง, ไม่สมควร
impropriety(n) ความไม่เหมาะ, ความไม่ถูกต้อง, ความไม่สมควร
inadvisable(adj) ไม่ฉลาด, ไม่สมควร,
inappropriate(adj) ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร, ไม่คู่ควร
inapt(adj) ไม่เหมาะ, ไม่เชี่ยวชาญ, ไม่สมควร
indiscreet(adj) ไม่สมควร, ไม่ระวังตัว, ปากสว่าง, ปากโป้ง
indiscretion(n) ความไม่ระวังตัว, ความไม่สมควร, การสอพลอ
inept(adj) โง่เขลา, เซ่อ, ทึ่ม, ไม่ถูกที่, ไม่สมควร, ไม่เหมาะ
inexpedient(adj) ไม่เหมาะ, ไม่สะดวกสบาย, ไม่สมควร
intemperance(n) ความมากเกินควร, การดื่มสุรามากเกินควร
intemperate(adj) มากเกินควร, หลงระเริง, ไม่ยับยั้งชั่งใจ
judicious(adj) ฉลาด, สุขุม, รอบคอบ, สมควร, เหมาะ, มีเหตุผล
just(adj) เที่ยงตรง, เป็นธรรม, ยุติธรรม, ถูกต้อง, สมควร, สมเหตุผล
marriageable(adj) ควรจะสมรสได้แล้ว, แต่งงานได้
match(n) ไม้ขีดไฟ, สิ่งที่คู่ควรกัน, คู่ปรับ, การแข่งขัน, เกมกีฬา, การแต่งงาน
match(vt) เท่าเทียม, แข่งขัน, คู่ควรกัน, แต่งงาน, เข้าคู่
meanly(adv) อย่างเลว, อย่างตระหนี่, อย่างพอควร, อย่างปานกลาง
meet(adj) เหมาะสม, พอควร, สมควร
memorable(adj) น่าจำ, ควรระลึกถึง, ควรจำ
merit(vt) สมควรจะได้รับ, เหมาะกับ, สมควรกับ
misfit(vt) ผิดขนาด, ไม่เหมาะสม, ไม่คู่ควร
moderate(adj) ปานกลาง, พอควร, ย่อมเยา, พอประมาณ
modicum(n) จำนวนน้อย, ความพอควร, ความพอประมาณ
observable(adj) เด่นชัด, สังเกตได้ง่าย, ควรถือปฏิบัติ, น่าติดตาม
ought(v) น่าจะ, ควรจะ
overdress(vi, vt) แต่งตัวเกินควร
overestimate(vt) ตีราคาสูงเกินควร, ประเมินค่าสูงไป
overtax(vt) เก็บภาษีเกินควร, ใช้เกินกำลัง
passable(adj) ผ่านไปได้, พอควร, ดีปานกลาง, ยอมรับได้
pretty(adv) ค่อนข้างจะ, พอใช้, อย่างพอควร, ทีเดียว
proper(adj) เหมาะสม, สมควร, ถูกต้อง, ถูกกาลเทศะ
properly(adv) อย่างถูกต้อง, อย่างเหมาะสม, อย่างสมควร
propriety(n) ความเหมาะสม, ความถูกต้อง, ความสมควร, ความประพฤติ, ระเบียบ
reasonable(adj) เหมาะสม, มีเหตุผล, พอสมควร

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
be supposed to(vt, phrase) สมควรที่จะต้อง, ควรที่จะ
cut-up[คัท-อัพ] (adj) หั่นเป็นชิ้น/หั่นเป็นคำ เช่น You should keep cut-up fruits on hand so they are ready for a quick snack. คุณควรพกผลไม้ที่หั่นแล้วไว้กับตัว พร้อมทานเป็นอาหารว่าง
deserve[ดีเซิร์ฟว] สมควรจะได้รับ, ควรค่าแก่การได้รับ, คู่ควร
Deverbalism (deverbalisme)(n) (ศัพท์เฉพาะทฤษฎีการแปล) การไม่ยึดติดถ้อยคำในภาษาต้นฉบับ ผู้แปลควรถอยออกห่างจากข้อความแล้วพิจารณาสาระสำคัญของข้อความนั้นๆ ใหม่ ก่อนที่จะแปลให้เป็นธรรมชาติหรือให้เป็นวาทกรรมที่ดีในภาษาปลายทาง
dispatcher[ดิสแพตเชอร์] (n) เกี่ยวกับการบิน พนักงาน ไฟล์ทแปลน คือวางแผนเส้นทางการบิน น้ำมัน และอื่นๆ ที่นักบินควรรู้ รวมทั้งตรวจสอบ NOTAM METAR และ อื่นๆ อีกมากมาย
expendable(adj) ไม่ควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้
hackathonกิจกรรมสร้างสรรค์และพัฒนา มากจากกลุ่มนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาร่วมชุมนุมกันในการเจาะทดสอบระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีจุดอ่อนหรือควรแก้ไขอย่างไรบ้าง
mansplainingการกระทำที่ผู้พูด อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟังในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม
pay through the noseจ่ายแพงเกินควร, Syn. pay too high a price
pragmaticข้อตกลงในการใช้ภาษา เช่นการเว้นช่องไฟระหว่างคำ และควรพูดนานแค่ไหน แล้วจึงเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามพูดบ้าง
RSV(abbrev) ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ส่วนบนจนถึงส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ (Acute bronchiolitis) และอาจทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อได้ (Pneumonia) โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีโรคประจำตัว คลอดก่อนกำหนด ฯลฯ อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัด คือ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล แต่จะมีไอมาก เสมหะเยอะและเหนียวข้น หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม อาจมีเสียหงายใจดังวี๊ดๆ ซึม ไม่กินน้ำ หงุดหงิด กระวุนกระวาย มีสีเขียวคล้ำบริเวณริมฝีปาก หรือ ปลายมือปลายเท้า เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หากมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ ที่มา: เอกสารแผ่นพับจากโรงเรียนอนุบาลชนานันท์ เรียบเรียงโดยก้านแก้ว จากการสัมภาษณ์ เรืออากาศเอกแพทย์หญิงหฤทัย กมลาภรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
กุศล(n, adj) กุศล ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา
ของป่า(n) ผลิตผลธรรมชาติที่เกิดขึ้นในป่า , เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ควรจะต้องรักษาไว้, See also: ทรัพยากรธรรมชาติ
จีนแสควรอ่านว่า ซินแส โดยทั่วไปเป็นการเรียกบุคคลที่เราไม่รู้จักชื่อ และเรียกครู หรือ หมอจีน

Longdo Approved JP-TH
すべき[すべき, subeki] (modal, verb) ควรที่จะ

Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
考え物[かんがえもの, kangaemono] (n) แปลตรงๆ ว่า เป็นสิ่งที่ควรจะต้องพิจารณา. แต่โดยมากใช้ในการแนะนำผู้อื่นไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
値する[あたいする, ataisuru] สมควร, คู่ควร, เหมาะสม
あるべき[あたいする, arubeki] (n) ควรจะ, โดยธรรชาติ
適合[てきごう, tekigou] (n) การปรับเปลี่ยน, ความเหมาะสม, ความสมควร
平方根[へいほうこん, heihoukon] (n) รากที่สอง - สแควร์รูท, See also: R. square root
打つべき手[へいほうこん, utsu beki te] (n) การควรลงมือทำ

Saikam JP-TH-EN Dictionary
注意[ちゅうい, chuui] TH: ข้อควรระวัง  EN: caution (vs)

Longdo Approved DE-TH
immerhinสุดท้ายแล้ว (ใช้บ่งว่า ไม่ควรเพิกเฉย) เช่น Du sollst ihm dabei helfen. Er ist immerhin dein Bruder. เธอควรช่วยเขานะ สุดท้ายแล้วเขาก็เป็นน้องชายของเธอเอง, Syn. schließlich
sollenควร
sollteควร (รูปอดีต หรือ รูปแนะนำ), See also: sollten sollen
man(n) |Singl.| ผู้คนหรือเรา เป็นคำสรรพนามที่ใช้บ่งถึงเหตุการณ์ทั่วไป เช่น Man spricht nicht mit vollem Mund. เราไม่ควรพูดขณะทานข้าวหรือมีข้าวเต็มปาก
gießen(vt) |goß, hat gegossen| รินหรือเทของเหลวออกจากภาชนะ เช่น Soll ich Milch in dein Glas gießen? ฉันควรเทนมลงในแก้วของเธอไหม
spüren(vi, vt) |spürte, hat gespürt| รู้สึกถึง, รับความรู้สึก, รับรู้ เช่น Du sollst spüren, daß sie immer für dich da ist. นายควรรับรู้ไว้ว่าเธออยู่ตรงนี้เสมอสำหรับนาย (สังเกตความแตกต่างระหว่าง spüren และ fühlen โดยมาก fühlen ใช้บ่งความรู้สึกทางร่างกาย เช่น Ich fühle mich schlecht.ซึ่งจะไม่พูดว่า Ich spüre schlecht. ), See also: Related: fühlen
Schmiergeld(n, slang) |das, nur Sg.| เงินสินบน, เงินว่าจ้างให้ทำในสิ่งไม่ควร
schief gehen(vi) |ging schief, ist schief gegangen| ผิดพลาดจากที่ควรเป็น เช่น Der Versuch ist schief gegangen. การทดลองล้มเหลว
loslegen(vt) |legte los, hat losgelegt| ลงมือทำ, เริ่มทำ เช่น Um möglichst viel Gewinn zu bekommen, sollen wir mit diesem Projekt endlich mal loslegen. เพื่อที่เราจะได้รับผลกำไรสูงสุดเราควรจะเริ่มต้นลงมือทำโครงการนี้สักที, See also: Related: beginnen, anfangen, starten
günstig(adj) เป็นผลดี, ให้ประโยชน์, ให้คุณ, ที่พอดี, ที่พอควร, เช่น (1) günstiger Zeitpunkt ช่วงเวลาที่เหมาะสม, (2) Es ist doch günstig, wenn wir zwei Telefone im Haus haben. มันเป็นการดีนะ ถ้าเรามีโทรศัพท์สองเครื่องภายในบ้าน
vorsichtig(adj, adv) อย่างระมัดระวัง เช่น Schwangere Frauen sollen vorsichtig laufen. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรเดือนอย่างระมัดระวัง
entsprechen(prep) สมควรแก่, ที่เหมาะสมแก่, ตาม เช่น entsprechend den Vorschriften arbeiten ทำงานตามกฏระเบียบ, Syn. gemäß
angenommenสมมุติว่า (ใช้บ่งสมมุติฐาน) เช่น Angenommen, wir verpassen den Zug. Was machen wir dann? สมมุติว่าพวกเราตกรถไฟ เราควรทำอะไรต่อ
sich erholen(vt) |erholte sich, hat sich erholt| พักฟื้น, พักผ่อน(ช่วงเวลาพักยาวนานกว่า sich ausruhen และโดยมากหมายถึงพักหลังจากป่วยไข้หรือการทำงานหนัก) เช่น Sie sollen sich im Urlaub ganz von der Arbeit erholen. คุณควรพักฟื้นจากการทำงานในช่วงพักร้อนซะ, See also: Related: sich ausruhen
nach(prep) |+D เสมอ ตามด้วยคน, สถานการณ์| หลังจาก (บ่งเวลา) เช่น Nach dem Essen sollst du ruhen. หลังอาหารเธอควรพักหน่อยนะ, Ich komme nach dir. ฉันตามเธอไปนะ
aufbrauchen(vt) |brauchte auf, hat aufgebraucht| บริโภคจนหมด, ใช้ให้หมด เช่น Säfte sollen innerhalb von 3-4 Tagen aufgebraucht werden. น้ำผลไม้ควรถูกบริโภคให้หมดภายในสามถึงสี่วัน, See also: Related: aufessen, austrinken
haltbar(adj, adv) ใช้ได้ถึง, มีอายุถึง (ใช้บอกวันหมดอายุของเครื่องอุปโภคบริโภค) เช่น Mindestens haltbar bis 08.2004 ควรบริโภคก่อนเดือนสิงหาคม ปี 2004
sollen|soll, sollte, hat gesollt| ควร (เป็นกริยาช่วย บ่งความต้องการ, คำสั่ง, ข้อควรทำ) เช่น Man soll nicht stehlen., Soll ich dir das Buch mal zeigen?
Schuld(n) |die, nur Sg.| ความผิด, ต้นเหตุ เช่น Wer ist Schuld daran? ใครเป็นสาเหตุ หรือ มันเป็นความผิดของใคร, Du solltest mir die Schuld nicht zuschieben. เธอไม่ควรซัดทอดความผิดมาให้ฉันนะ
Vorstellung(n) |die, pl. Vorstellungen| มโนภาพ, จินตนาการ เช่น Man soll eine konkrete Vorstellung für die Zukunft haben. มนุษย์เราควรมีมโนภาพที่เด่นชัดสำหรับอนาคต
Angst haben|+ vor jmdm./etw.(D)| ทำให้กลัว เช่น Du sollst keine Angst vor der Dunkelheit haben. เธอไม่ควรกลัวความมืด
einnehmen(vi, vt) |nimmt ein, nahm ein, hat eingenommen, etw.(A)| ทาน(ยา), นำเข้าสู่ร่างกาย เช่น Hinweise: Nicht einnehmen oder trinken, von Kindern fernhalten. ข้อแนะนำ ไม่ควรกินหรือดื่ม ควรให้อยู่ห่างจากมือเด็ก
eine Dummheit begehen(phrase) ทำเรื่องโง่ๆ, ทำเรื่องโง่เขลา เช่น Man soll keine Dummheit zweimal begehen. เราไม่ควรทำความผิดพลาดนี้อีกเป็นครั้งที่สอง

Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
quasistable(adj) ซึ่งมีความมั่นคงที่ไม่แน่นอน , เกี่ยวกับภาวะหรือสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือถูกทำลายในที่สุดแต่มีเสถียรภาพพอควร เนื่องจากการปลี่ยรแปลงนั้นเป็นไปอย่างช้าๆ, Syn. metastable

Longdo Approved FR-TH
au revoir!(phrase) แล้วพบกันใหม่ (เวลาจากกันควรพูดคำลา ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ฝรั่งเศส)

Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
be supposed toน่าจะ, ควรจะ, เป็นการแสดงความคาดหวังของผู้พูดต่อประธานในประโยคว่าน่าจะทำกริยาที่ระบุไว้
convaincre(vi, vt) ทำให้เชื่อหรือเลื่อมใส, โน้มน้าวใจ ( โดยส่วนใหญ่แล้วเนื่องจากผู้พูดต้องการหรืออยากจะทำอะไรบางอย่าง ที่ควรจะได้รับการอนุญาต หรือ ความเห็นด้วยก่อน ), Syn. persuader

Time: 0.0555 seconds, cache age: 8.055 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/