ข้าวเปลือก ๑ | น. เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก. |
ข้าวเปลือก ๑ | ดูใน ข้าว. |
ข้าวเปลือก ๒ | ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน ๓. |
เทียนข้าวเปลือก | น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด Foeniculum vulgare Mill. var. dulce Batt. et Trab. ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้, ยี่หร่าหวาน ก็เรียก. |
หมาเห็นข้าวเปลือก | น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวยความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้หรืออำนวยประโยชน์ให้แก่ตนได้. |
กระชุก ๒ | น. ภาชนะสานรูปอย่างฟักผ่าตามยาว ใช้วางในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, สามชุก ก็เรียก. |
กระโปรง | กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น |
กระโลง | น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่ง ใช้อย่างกระสอบ สำหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร. |
กล้อง ๒ | (กฺล้อง) ก. ตำหรือสีข้าวเปลือกให้เปลือกหลุด |
กล่อม ๑ | (กฺล่อม) น. ชื่อมาตราชั่งของไทยโบราณ ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ กล่อม ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า. |
กล้า ๑ | (กฺล้า) น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สำหรับย้ายไปปลูกในที่อื่น ว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ. |
กากข้าว | น. ข้าวเปลือกที่ปนอยู่ในข้าวสารหรือข้าวสุก. |
ข้าวกล้า | น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, กล้า ก็เรียก. |
ข้าวตอก ๑ | น. ข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก. |
ข้าวตอกแตก | ข้าวเปลือกที่คั่วเมื่อสุกจะแตกแล้วเกิดเสียงดังรัว, ใช้เปรียบเสียงที่ดังรัวเช่นนั้น เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก. |
ข้าวนึ่ง | น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบด้วยความร้อนแล้ว |
ข้าวปลูก | น. ข้าวเปลือกที่เก็บไว้สำหรับทำพันธุ์. |
ข้าวเม่า ๑ | น. ข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบน, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้หั่นทอด เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่. |
ข้าวสาร ๑ | น. ข้าวเปลือกที่สีซ้อมจนเหลือแต่เมล็ดขาว. |
ตกข้าว | น. วิธีการที่นายทุนรับซื้อข้าวตามจำนวนที่กำหนดกับชาวนาตอนที่ข้าวลัดใบแล้ว โดยตกลงกันว่านายทุนจะให้เงินแก่ชาวนาก่อน แล้วชาวนาจะให้ข้าวเปลือกแก่นายทุนหลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว. |
ตกเขียว | น. วิธีการที่นายทุนทำสัญญาซื้อขายข้าวหรือผลไม้ตามที่ตกลงกันกับชาวนา ชาวสวน หรือชาวไร่เมื่อข้าวลัดใบหรือผลไม้ยังอ่อนอยู่ โดยตกลงกันว่านายทุนจะได้ข้าวเปลือกหรือผลไม้นั้นไปหลังจากนวดข้าวแล้วหรือเมื่อผลไม้นั้นแก่เต็มที่แล้ว เช่น ตกเขียวลำไย, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงไว้ล่วงหน้า แล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน. |
ตอก ๓ | น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก ว่า ข้าวตอก. |
ตะล่อมข้าว | น. ที่สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น ใช้ไม้ไผ่ซีกเล็ก ๆ มาขัดแตะทำเป็นวงล้อมรอบ แล้วยาด้วยขี้ควาย. |
เตี๋ยม | น. ที่สำหรับใส่ข้าวเปลือกหรือของอย่างอื่นเช่นเกลือหรือปูน เอาเสื่อลำแพนล้อมเป็นวงรอบแล้วยาด้วยขี้วัวหรือขี้ควาย. |
ทะนาน | น. เครื่องตวงอย่างหนึ่งทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ด้านที่มีตา โดยตัดด้านตรงข้ามออก หรือทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น โบราณใช้ตวงสิ่งของต่าง ๆ เช่น งา ข้าวเปลือก น้ำมัน |
ทัดทา | น. กระดานมีด้ามสำหรับโกยข้าวเปลือก. |
เทียน ๓ | น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้งของไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง ๕ ได้แก่ เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนดำ เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง ๗ เพิ่ม เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง ๙ เพิ่ม เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด เทียนขม เทียนแกลบ. |
ธัญ ๒, ธัญ- | (ทัน, ทันยะ-) น. ข้าวเปลือก. |
ธัญชาติ | น. คำรวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี. |
ธัญเบญจก | (-เบนจก) น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ–ข้าวเจ้า ๒. วฺรีหิ–ข้าวเปลือก ๓. ศูก–ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี–ถั่ว ๕. กฺษุทฺร–ข้าวกษุทร. |
นาเมือง | เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดสั้นเนื้อฟ่าม ว่า ข้าวนาเมือง. |
นาสวน | เรียกข้าวเปลือกที่มีเมล็ดแข็งเป็นมัน ว่า ข้าวนาสวน. |
บด ๑ | ก. กดและถูให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก หรือให้แหลก เช่น บดข้าวสุก หรือให้เป็นผง เช่น บดยา หรือให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน. |
บั้น ๒ | น. ชื่อมาตราตวงข้าวเปลือก มีอัตรา ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน. |
มอ ๑ | น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ. |
เม่า ๑ | น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบน ว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าวขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสมน้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรยด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด. |
ยี่หร่าหวาน | ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน ๓. |
ยุ้ง | น. สิ่งปลูกสร้างสำหรับเก็บข้าวเปลือกข้าวโพดเป็นต้นประจำบ้าน. |
เรือมอ | น. เรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ. |
เรื้อ | น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้วงอกขึ้นจนออกรวงอีก ว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียกพืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. |
โรงสี, โรงสีข้าว | น. สถานที่สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารด้วยเครื่องจักร. |
สามชุก | น. ภาชนะสานรูปอย่างฟักผ่าตามยาว ใช้วางในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, กระชุก ก็เรียก. |
สาแหรก ๓ | น. ร่องที่อยู่บนข้าวเปลือก ถ้าร่องนั้นลึกก็จะปรากฏบนเมล็ดข้าวด้วย. |
สี ๑ | น. ชื่อเครื่องสำหรับหมุนบดข้าวเปลือกเพื่อทำให้เปลือกแตกเป็นข้าวกล้อง. |
สีมือ | น. ชื่อเครื่องสำหรับใช้มือหมุนบดข้าวเปลือกเพื่อทำให้เปลือกแตกเป็นข้าวกล้อง มีลักษณะคล้ายโม่. |
หว่าน | ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดยปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน. |
หางข้าว | น. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก |