ขา ๒ | น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้ |
ขา ๒ | เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา |
ขา ๒ | คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก |
ขา ๒ | สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึง เรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา. |
เขา ๒ | น. สิ่งที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก มีลักษณะแข็ง. |
นกเขา ๒ | ดู สร้อยนกเขา (๑). |
วิศาขา ๒, วิสาขะ ๑ | น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. |
กิ้งกือ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้อง ชั้น Diplopodae มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวกลมยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย อยู่ในสกุล Thyropygusเช่น กิ้งกือกระบอก ชนิด T. allevatus (Karsch) วงศ์ Harpagophoridae ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Nepalmatoiulasวงศ์ Julidae. |
ข้างตะเภา | ดู สร้อยนกเขา ๒. |
เขากวาง ๑ | ดูใน เขา ๒. |
ช่องเขา | น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามทิวเขาจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง, ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก. |
ชั้ว ๑ | น. ที่สำหรับตั้งวางของ รูปคล้ายตู้ แต่ใช้กระดานทั้งแผ่นประกอบด้านข้างตลอดทั้ง ๒ ข้างลงมาเป็นขาด้วย ด้านหลังกรุกระดานทึบทั้งแผ่นยาวลงมาถึงพื้น มีหูช้างติดตรงมุมขา ๒ ข้าง. |
ตะเข็บ ๑ | น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับกิ้งกือ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวน้อยกว่า ๕-๖ เซนติเมตร ลำตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๒ คู่ และขายาวกว่าปล้องลำตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Orthomorpha ในวงศ์ Paradoxsomatidae ไม่มีตา, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก. |
ปัญจสาขา | น. กิ่งทั้ง ๕ คือ หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ ของลูกที่อยู่ในท้อง. |
แปดสาแหรก | (-แหฺรก) น. คำเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของปู่และย่า ๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ ๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). (ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้ ประกอบ). |
โพล่ | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วยกาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. |
ระหว่าง | น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะเวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียนหนังสืออยู่, เวลาที่กำลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. |