ขับร้อง | ก. ร้องเพลง. |
กบเต้น | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยาใช้ขับร้องและบรรเลงตอนโศกเศร้า ต่อมามีผู้นำไปทำเป็นเพลงเถา. |
กระบี่ลีลา | ชื่อหน้าทับเพลงกลองแขกแบบหนึ่ง ใช้บรรเลงในการรำไหว้ครูกระบี่กระบอง หรือใช้ในการขับร้อง มีทั้งที่เป็นอัตรา ๒ ชั้น และเพลงเถา. |
กรับ ๑ | (กฺรับ) น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกหรือไม้เนื้อแข็ง ๒ อัน ใช้ขยับหรือตีกระทบกันสำหรับให้อาณัติสัญญาณ หรือบอกจังหวะในการขับร้องและบรรเลงดนตรี. |
กรับคู่ | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็นจังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง. |
กรับพวง | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน ด้ามจิ้ว ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ. |
กลอก | (กฺลอก) น. ลักษณะของเสียงที่บรรเลงเลื่อนไหลไปตามท่วงทำนองอย่างนุ่มนวลกลมกลืน เหมือนลักษณะของหยดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน, ในการขับร้องหมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากลำคอพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก แล้วตวัดเสียงให้สะบัดวกวนกลับไปกลับมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง สุดแต่ผู้ขับร้องจะเห็นเหมาะสม. |
กลอน ๒ | (กฺลอน) น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด. |
กล่อมหอ | ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงานบ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว. |
กล่าว | ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข (อิเหนา) |
กะระนะ | (กะระหฺนะ) น. ชื่อเพลงไทย ใช้ในการบรรเลงและขับร้องในเพลงมโหรี |
แก้วเสียง | น. คุณลักษณะพิเศษของเสียงผู้ขับร้องบางคน ที่เมื่อเสียงขับร้องสูงถึงระดับหนึ่งจะมีเสียงที่ไพเราะกังวานใส เรียกว่า มีแก้วเสียงดี. |
ขับไม้ | น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทย ประกอบด้วย คนขับร้องลำนำ คนสีซอสามสาย คนไกวบัณเฑาะว์ให้จังหวะ. |
ขับไม้บัณเฑาะว์ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงขับร้อง |
คนธรรพ-, คนธรรพ์ | (คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน) น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. |
คนธรรพศาสตร์ | (คนทับพะ-) น. วิชาดนตรีและขับร้อง. |
คลอ | บรรเลงดนตรีไปพร้อมกับการขับร้อง โดยพยายามดำเนินทำนองให้ใกล้เคียงกับทำนองร้องมากที่สุด. |
คายก, คายก- | (-ยก, คายะกะ-) น. ผู้ร้องเพลง, ผู้ขับร้อง. |
คายกคณะ | (คายะกะ-) น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. |
คายัน | ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน (ม. คำหลวง มหาราช). |
คำร้อง ๒ | น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, เนื้อร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า. |
คีต, คีต-, คีตกะ, คีตะ | (คีด, คีตะ-, คีตะกะ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน (สมุทรโฆษ). |
เคล้า | บรรเลงดนตรีไปพร้อม ๆ กับการขับร้อง ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่ต่างก็ดำเนินทำนองไปตามทางของตน. |
จระเข้หางยาว | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง |
ซอสามสาย | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีสาย ๓ สาย กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว มีลักษณะเป็น ๓ พู มีเสียงไพเราะนุ่มนวล ใช้บรรเลงคลอเสียงผู้ขับร้อง บรรเลงร่วมในวงมโหรี หรือบรรเลงเดี่ยว. |
ซอ ๓ | ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง (ลอ). |
ตะเขิ่ง | น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง มีทั้งทางบรรเลงและทางขับร้องปรากฏในระบำดาวดึงส์. |
ตับเพลง | น. ชุดเพลงที่นำมารวมบรรเลงและขับร้องติดต่อกันโดยเสียงต่อเนื่อง ระหว่างเพลงมักมีระดับเสียงกลมกลืนกัน มีทั้งอัตราเดียวกันและอัตราผสม ตับหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี. |
ตับเรื่อง | น. เพลงที่นำมารวมบรรเลงและขับร้องติดต่อกันโดยที่บทร้องเป็นเรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ มีทั้งอัตราเดียวกันและอัตราผสม เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ. |
เนื้อร้อง | น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า. |
บทเพลง | น. บทประพันธ์สำหรับขับร้องหรือบรรเลง มักมีรูปแบบชัดเจน. |
บทร้อง | น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง หรือ เนื้อร้อง ก็ว่า. |
ประสานเสียง | ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีที่มีตั้งแต่ ๒ แนวเป็นต้นไปเป็นหมู่ ให้มีเสียงกลมกลืนกัน อาจเป็นเครื่องดนตรีกับเครื่องดนตรี ขับร้องกับขับร้อง หรือเครื่องดนตรีกับขับร้องก็ได้. |
ผู้อำนวยเพลง | น. ผู้กำกับและควบคุมการบรรเลงหรือการขับร้องของวงดุริยางค์ วงดนตรี วงนักร้องประสานเสียง ให้มีเอกภาพ รวมทั้งตีความบทเพลงให้สมบูรณ์ โดยปรกติใช้มือ สายตา และสีหน้าท่าทางเป็นสื่อในการให้สัญญาณ, วาทยกร ก็เรียก. |
พระทองสักวา | น. ทำนองขับร้องเพลงสักวา อัตรา ๓ ชั้น เป็นเพลงแรกในการเล่นสักวา. |
พระทองหวน | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ เป็นเพลงขับร้องสำหรับการเล่นสักวา. |
เพลง | (เพฺลง) น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, บทประพันธ์ดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย |
มโหรี ๑ | น. วงดนตรี ๑ ใน ๓ วงหลักของดนตรีไทย คือ ปี่พาทย์ เครื่องสาย และมโหรี ใช้เครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี เป่า (ขลุ่ย) และขับร้อง ระดับเสียงที่ใช้สูงกว่าระดับเสียงวงปี่พาทย์. |
ร้องส่ง | ก. ขับร้องโดยไม่ต้องมีดนตรีนำ เมื่อขับร้องแล้วดนตรีจึงรับ. |
รับรอง ๒ | น. วิธีการขับร้องและบรรเลงดนตรี โดยนักร้องร้องขึ้นก่อนแล้วดนตรีบรรเลงรับ. |
ละครรำ | น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ มีหลายแบบ เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์. |
ลำนำ | น. บทกลอนที่ใช้ขับร้อง ได้แก่ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย. |
ลิงลาน | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ ใช้บรรเลงและขับร้องในการแสดงโขนละคร. |
ลิงโลด | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ ใช้บรรเลงและขับร้องเพื่อแสดงอารมณ์โกรธของตัวละครในการแสดงโขนละคร. |
วาทยกร | (วาทะยะกอน, วาดทะยะกอน) น. ผู้กำกับและควบคุมการบรรเลงหรือการขับร้องของวงดุริยางค์ วงดนตรี วงนักร้องประสานเสียง ให้มีเอกภาพ รวมทั้งตีความบทเพลงให้สมบูรณ์ โดยปรกติใช้มือ สายตา และสีหน้าท่าทางเป็นสื่อในการให้สัญญาณ, ผู้อำนวยเพลง ก็เรียก. |
ส่ง | น. การบรรเลงหรือขับร้องเมื่อจบท่อนหรือจบเพลง แล้วมีการทอดเสียงส่งต่อให้มีการปฏิบัติต่อไปอีก เช่น ร้องส่ง คือ ร้องจบส่งให้ดนตรีรับ ส่งรำ คือ ดนตรีบรรเลงจบแล้วทอดเสียงให้ผู้รำรำ. |
สรภัญญะ | (สะระพันยะ, สอระพันยะ) น. ทำนองสำหรับสวดคำที่เป็นฉันท์, ทำนองขับร้องทำนองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. |
สังขารา | น. ชื่อทำนองเพลงไทย ใช้ขับร้องในการเล่นหุ่นกระบอก. |
หนีเสือ | น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว หน้าทับปรบไก่ ใช้บรรเลงและขับร้อง |
หมอลำ | น. ผู้ชำนาญในการขับร้องแบบอีสาน. |
antiphony | (แอนทิฟ' โฟนี) n. การขับร้องสลับกันในหมู่นักร้อง, โคลงกลอนที่ร้องสลับกัน, antiphon, การขับร้องตอบโต้กัน. -antiphonic (al) adj. (singing, antiphon) |
chime | (ไชมฺ) { chimed, chiming, chimes } n. อุปกรณ์ตีระฆังให้เป็นเสียงดนตรี, เสียงระฆังกังวาน, เพลงระฆัง, เสียงกลมกลืน. -vi. ขับร้องประสานเสียง, ทำเสียงระฆัง, เห็นด้วย. -vt. ตีระฆัง, ตีระฆังเรียกประชุม, พูดซ้ำซาก. -chime in พูดสอดแทรกอย่างกะทันหัน, See also: chime i |
execution | (เอคซะคิว'เชิน) n. การปฎิบัติ, การทำให้สำเร็จ, การดำเนินการ, การกระทำ, การบริหาร, การประหารชีวิต, การแสดง (ดนตรี, ฝีมือขับร้องหรืออื่น ๆ) , การบังคับตามกฎหมาย. |
flute | (ฟลูท) { fluted, fluting, flutes } n. ขลุ่ย, ราง, ร่อง, ร่องเล็บมือ, รางเว้า vi. เป่าขลุ่ย. vt. ขับร้องเสียงคล้ายขลุ่ย, ทำให้เกิดร่อง |
high mass | พิธีฉลองการรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู มีการเผาเครื่องหอม บรรเลงดนตรีและขับร้อง |
lyric | (เลอ'ริค) adj. เป็นลักษณะของเพลง (โดยเฉพาะที่บรรยายความรู้สึก) .เกี่ยวกับบทกวีที่มีลักษณะดังกล่าว.บรรยายความรู้สึกที่รุนแรง.เกี่ยวกับการขับร้อง.เกี่ยวกับหรือเหมาะสำหรับพิณตั้ง (lyre) -n.บทกวีอิสระ.เนื้อเพลง, See also: lyrically adv. ดูlyric lyric |
prose | (โพรซ) n. ร้อยแก้ว, สำนวนหรือถ้อยคำที่ไม่ใช่โครง กลอน ฉันท์ กาพย์, ข้อความที่จืดชืดที่น่าเบื่อ, การขับร้องต่อ. adj. เกี่ยวกับ prose, จืดชืด, ธรรมดาvt.เขียนร้อยแก้ว, เขียนปกิณกะ |
sing | (ซิง) { sang, sung, singing, sings } vi., vt., n. (การ) ร้องเพลง, (นก) ร้อง, การขับร้อง, เสียงร้องเพลง, เสียงเพลง, See also: singable adj. singingly adv., Syn. carol, chant |
song | (ซอง) n. เพลง, ดนตรีขับร้อง, สิ่งที่ร้อง, เสียงเพรียกร้องของนก แมลงหรืออื่น ๆ |
voice | (วอยซฺ) n. เสียงร้อง, เสียงร้องของคน, เสียงพูด, เสียงเปล่ง, ความสามารถในการพูดหรือร้อง, สิทธิในการแสดงความคิดเห็น, ความต้องการ, ความปรารถนา, ความคิดเห็น, สิทธิในการออกเสียง, ปากเสียง, โฆษก, วาจกในไวยากรณ์, นักร้อง, ส่วนที่ขับร้องของบทดนตรี, ความสามารถในการขับร้อง |