ขอม ๑ | น. เขมรโบราณ. |
ขอมดำดิน | น. คนที่ปรากฏตัวขึ้นทันทีอย่างไม่คาดฝันหรือหายไปอย่างรวดเร็วไม่ทันได้สังเกต. |
ขอม ๒ | น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยสำเนียงขอม เช่น ขอมทรงเครื่อง ขอมใหญ่ ขอมน้ำเต้า ขอมระทม. |
จำปาขอม | น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม). |
กลางนอก | น. เรียกหญิงที่ชายสู่ขอมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาว่า เมียกลางนอก. |
ขอบ ๒ | ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี (ลอ). |
เขมร ๑ | (ขะเหฺมน) น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ–เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม. |
ดำดิน | ก. มุดดินไป เช่น ขอมดำดิน |
ถูกใหญ่ | ก. อาการที่ผู้ขี่ใช้ขากระตุ้นม้าอย่างแรงเพื่อให้ม้าซอยเท้าพร้อมจะเคลื่อนไป เช่น แต่จะขอมิ่งม้าอาชาไนย ที่ถูกใหญ่เคล่าคล่องทำนองคลี (สังข์ทอง). |
ใบเหลือง | ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตร ซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้. |
ปัดตลอด | เรียก “นะ” ที่เขียนเป็นอักษรขอม สำหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า “นะปัดตลอด”. |
พร้า | (พฺร้า) น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง. |
ภิกขา | อาหารที่ขอมา. |
ภิกษา | อาหารที่ขอมา. |
มั่ง | ว. บ้าง เช่น ขอมั่งซี. |
ลงนะหน้าทอง | ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม. |
ลั่นทม | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. rubraL. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จำปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จำปาลาว, อีสานเรียก จำปา, ปักษ์ใต้เรียก จำปาขอม. |
สมรัก | ก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่านก็ดี… สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ (สามดวง). |
ส่วน | การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย |
หนามเตย | น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม |