APSC | แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน เป็นเอกสารที่รวบรวมรายการกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะทำร่วมกันเพื่อสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียนภายในปี 2558 แผนงานฯ ได้รับการรับรองโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 โดยแผนงาน มีวิสัยทัศน์ 3 ประการ ให้อาเซียนเป็น(1) ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน (2)เป็นประชาคมที่สงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับ ประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ (3)เป็นประชาคมที่มีพลวัตรและร่วมมือปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก [การทูต] |
ASEAN-UN Summit | การประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสห ประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 [การทูต] |
International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] |
United Nations Conference on Trade and Development | การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) " เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่รับผิดชอบเรื่องการค้า การเงิน การ ลงทุน เทคโนโลยี และการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีหน้าที่เป็นเวทีประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล ศึกษาวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจโลกและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศ กำลังพัฒนา ปัจจุบันมีรัฐสมาชิก 190 ประเทศ ประชุมระดับรัฐมนตรีปีละ 4 ครั้ง ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัดครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 10) เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต] |
United Nations Transitional Administration in East Timor | องค์กรบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก " จัดตั้งขึ้นตามมติสหประชาชาติที่ 1272 (1999) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 พลโทบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ นายทหารไทย ได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของ UNTAET ในติมอร์ตะวันออก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 " [การทูต] |
World Economic Forum | การประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก" นาย Klaus Schwab ได้ริเริ่มให้มีการประชุมครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2514 นาย Schwab ได้จัดตั้งเป็น European Management Forum ในลักษณะขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเปิดให้นักธุรกิจชั้นนำ รวมทั้งนักการเมืองระดับสูงเป็นสมาชิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น World Economic Forum และเปิดรับสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กิจกรรมสำคัญประจำปี ได้แก่ การประชุมประจำปีที่เมืองดาวอส (มกราคม หรือ กุมภาพันธ์) การจัดพิมพ์ World Competitiveness Report และการจัดประชุมเพื่อหารือประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในประเทศต่าง ๆ [การทูต] |
leap year | ปีอธิกสุรทิน, ปกติ 1 ปี มี 365 วัน แต่ในปีอธิกสุรทินซึ่งเป็นปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ปีนั้น 1 ปีจะมี 366 วัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |