กิเลส, กิเลส- | (-เหฺลด, -เหฺลดสะ-) น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา |
กิเลส, กิเลส- | กิริยามารยาท ในคำว่า กิเลสหยาบ. |
กิเลสมาร | น. กิเลสซึ่งนับเป็นมารอย่างหนึ่ง. (ป.). (ดู มาร). |
ตัดกิเลส | ก. ดับกิเลสได้สิ้นเชิง. |
ไฟกิเลส | น. กิเลสที่เปรียบเสมือนไฟเพราะทำให้จิตใจเร่าร้อน ได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ. |
สังกิเลส | น. เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง. |
อุปกิเลส | (อุปะกิเหฺลด) น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. |
กำเริบ | ก. รุนแรงขึ้น เช่น โรคกำเริบ กิเลสกำเริบ. |
เกลศ | (กะเหฺลด) น. กิเลส เช่น ตัดมูลเกลศมาร. |
ครอบงำ | ก. มีอำนาจเหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงำ. |
จิตตวิสุทธิ | น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส. |
ดับ ๑ | ก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทำให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทำให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทำให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทำให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง |
ดาบส | (-บด) น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส (อภัย). |
ดาบสินี | (-บดสินี) น. หญิงผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส. |
ตบะ | น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว เช่น ฤๅษีบำเพ็ญตบะ |
ตบะ | การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบางหรือการข่มกิเลส, ธรรมข้อที่ ๖ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). |
ติด ๑ | อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส |
ไตรวัฏ | น. วงจร ๓ ส่วน ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันไป เริ่มจาก กิเลสวัฏ คือ วงจรส่วนกิเลส เป็นผลให้เกิด กรรมวัฏ คือ วงจรส่วนกรรม และเป็นผลให้เกิด วิปากวัฏ คือ วงจรส่วนวิบาก วนเวียนกันไปไม่รู้จบ. |
ไตรวิชชา | (-วิดชา) น. ความรู้แจ้งในทางพระพุทธศาสนา ๓ อย่าง คือ ๑. ระลึกชาติหนหลังได้ ๒. รู้การตายการเกิดของคนและสัตว์ ๓. รู้วิธีทำให้สิ้นกิเลส. |
ทศพิธราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ธุดงค-, ธุดงค์ | น. องค์ประกอบเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลส มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. |
นฤพาน | (นะรึ-) น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. |
นหาดก | (นะหาดก) น. ผู้อาบน้ำแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้ที่ชำระกิเลสหมดแล้ว คือพระอรหันต์. |
นิพพาน | (นิบพาน) น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. |
นิพพาน | (นิบพาน) ก. ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. |
นิรินธนพินาศ | (-รินทะนะ-) น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์). |
บรรลุโสดา | หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่บรรลุโสดานี่ |
บุคลาธิษฐาน | (บุกคะลาทิดถาน) ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน. |
บุถุชน | น. ปุถุชน, คนที่ยังมีกิเลสหนา, คนทั่วไป, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. |
ปุถุชน | น. คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. |
เผา | ก. ทำให้ร้อนให้สุกหรือให้ไหม้เป็นต้นด้วยไฟ เช่น เผาเหล็ก เผากล้วย เผาป่า, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้ร้อน เช่น แดดเผา, ทำให้เร่าร้อน เช่น กิเลสเผา, ทำให้หมดไป เช่น เผากิเลส. |
มักขะ | น. ความลบหลู่คุณท่าน (เป็นประการหนึ่งในอุปกิเลส ๑๖). |
มาร, มาร- | ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. |
ยวน ๒ | ก่อกวนให้เกิดกิเลสหรือโทสะ. |
ยวนยี | ก่อกวนให้เกิดกิเลสโทสะ, ยียวน ก็ว่า. |
ยั่ว | ก. พูดหรือทำให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส. |
ยียวน | ก่อกวนให้เกิดกิเลสโทสะ, ยวนยี ก็ว่า. |
โยค-, โยคะ | กิเลส |
ราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง เรียกว่า ทศพิธราชธรรม มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ละวาง | ก. ปล่อยวาง เช่น ละวางกิเลส. |
ลุโสดา | หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่ลุโสดานี่ |
โลกียวิสัย | น. เรื่องโลกีย์, เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์, เรื่องของคนที่ยังมีกิเลสอยู่. |
วสี | น. ผู้ชำนะตนเอง, ผู้สำรวมอินทรีย์, ผู้ตัดกิเลสได้ดังใจ |
สมณ-, สมณะ | (สะมะนะ-) น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. |
สมุจเฉทปหาน | (-ปะหาน) น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์. |
สละ ๔ | ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส. |
สังโยชน์ | น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. |
สัลเลข- | (สันเลขะ-) น. การขัดเกลากิเลส. |
หมด | ก. สิ้น เช่น หมดลม หมดกิเลส หมดปัญญา, ไม่มี เช่น เงินหมด ฝนหมด, จบ เช่น หมดรายการ. |
หลุดพ้น | ก. เป็นอิสระจากสิ่งผูกมัดติดข้องอยู่เป็นต้น เช่น หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากคดี. |
pash | (แพช) vt. ตีแตก, ตีจนละเอียด n. ศีรษะ, หัว, ตัณหา, อารมณ์เร่าร้อน, กิเลส |
passion | (แพช'เชิน) n. กิเลส, ตันหา, อารมณ์, โทสะ, See also: passional adj. |
slink | (สลิงคฺ) { slunk, slunk, slinking, slinks } vi. เดินอย่างลับ ๆ ล่อ ๆ , (ผู้หญิง) เดินช้า ๆ อย่างยั่วกิเลส, กำเนิดเร็วก่อนกำหนด, คลอดลูกก่อนครบกำหนด. n. ลูกสัตว์ที่คลอดก่อนกำหนด, คนที่อ่อนแอ. adj. คลอดก่อนกำหนด., See also: slinkingly adv. |
voluptuary | (วะลัพ'ชุเออรี) n., adj. ผู้มัวเมาในกามกิเลสและความหรูหรา., Syn. sensualist |
voluptuous | (วะลัพ'ชุเอิส) adj. มัวเมาในกามกิเลสและความหรูหรา, มั่วโลกีย์, ยั่วยวนกามกิเลส., See also: voluptuousness n. voluptuosity n. |