กำมะถัน | น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทำยา ทำดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า |
กำมะถัน | ธาตุลำดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทำกรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทำหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบด้วย. |
ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า | น. แก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า มีสูตร H2S เกิดขึ้นจากการเสื่อมสลายของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยกำมะถัน ในธรรมชาติมักมีปรากฏละลายอยู่ในบ่อนํ้าร้อนและในแหล่งนํ้าแร่บางแห่ง. |
ชาดหรคุณ | (ชาดหอระ-) น. ชาดประสมกับปรอทและกำมะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และเพื่อจะให้สุก. |
ซีลีเนียม | น. ธาตุลำดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมีคล้ายกับธาตุกำมะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗ ºซ. ใช้ประโยชน์ทำเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. |
ดินดำ | น. ผงถ่านประสมกำมะถันกับดินประสิวเป็นต้น ใช้เป็นวัตถุระเบิด, ดินปืน ก็เรียก. |
ดินน้ำมัน | น. วัสดุที่ทำจากดินเนื้อละเอียด ผสมขี้ผึ้ง วาสลิน น้ำมันพืช กำมะถัน และสี ลักษณะค่อนข้างนิ่ม ใช้ในงานศิลปะต้นแบบสำหรับการหล่อ หรือให้นักเรียนฝึกหัดปั้นเป็นต้น. |
ตะไล ๑ | น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้อ้อหรือไม้ซาง บรรจุดินดำที่ทำด้วยดินประสิว กำมะถัน กับถ่านไม้ และตอกให้แน่น มีรูชนวนสำหรับจุด แล้วประกอบเข้ากับกง. |
เทลลูเรียม | น. ธาตุลำดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกำมะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕ °ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วสี. |
บ่อน้ำร้อน | น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึกมาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทำให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัวหรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหินและดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกำมะถันและแก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้. |
มาศ | กำมะถัน. |
เมฆพัด | (เมกคะ-) น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วยกำมะถัน มีสีดำเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทำด้วยโลหะชนิดนี้ ว่า พระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด. |
ยาซัด | น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้น ว่า ซัดยา. |
รมดำ | ก. ใช้น้ำมันกำมะถันเป็นต้น ทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วอบด้วยความร้อนให้ดำ เช่น รมปืน รมพระ รมรูปหล่อโลหะ. |
ระบมบาตร | ก. รมบาตรให้ดำเป็นมันเพื่อกันสนิมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น เอากำมะถันและนํ้ามันทาบาตรแล้วรมไฟให้ร้อน. |
ศุกร-, ศุกร์ | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒, ๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจำเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก. |
สมุนไพร | (สะหฺมุนไพฺร) น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กำมะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น. |
สุพรรณถัน | (สุพันนะ-) น. กำมะถัน. |
หรดาล | (หอระดาน) น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกำมะถัน มีปรากฏในธรรมชาติ ๒ ชนิด คือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง มักจะปรากฏอยู่ปนกัน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ทั้ง ๒ ชนิด. |
เหล็กหล่อ | น. เหล็กที่ได้มาจากเตาถลุง มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๒.๒–๔.๕ นอกจากนี้ยังมีธาตุแมงกานีส ฟอสฟอรัส ซิลิคอน และกำมะถันปนอยู่ด้วย หลอมละลายที่ประมาณ ๑๒๐๐ ºซ. |
อโลหะ | น. ธาตุซึ่งมีสมบัติไม่เป็นโลหะ เช่น ถ่าน ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส พวกอโลหะเมื่ออยู่ในสภาพไอออนจะเป็นไอออนลบ. |
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ | (-โดฺร-) น. แก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า เป็นแก๊สพิษ ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและกำมะถัน มีสูตร H2S เกิดขึ้นในธรรมชาติเนื่องจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยกำมะถัน, แก๊สไข่เน่า ก็เรียก. |
Sulphur | กำมะถัน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Petroleum | สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ, สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีธาตุสองชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่คาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจมีหรือไม่มีธาตุอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วยก็ได้, Example: ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง และความร้อน ตลอดจนความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บไว้ แบ่งตามสถานะสำคัญทางธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ [ปิโตรเลี่ยม] |
Hydrocarbon | ส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียม, ส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ คือ คาร์บอน (C) และ ไฮโดรเจน (H) ในรูปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) นอกจากนี้ก็มีสารอื่นๆที่เป็นส่วนประกอบของปิโตรเลียม เช่น กำมะถัน (S) ไนโตรเจน (N) และอื่นๆ, Example: สารที่นอกเหนือจากไฮโดรคาร์บอนถือเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่เป็นที่ต้องการ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียมนั้น อาจอยู่ในสภาพของก๊าซ ของเหลว หรือของแข็ง ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับจำนวนและการจัดตัวของอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุล โดยทั่วไปโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนไม่เกิน 4 อะตอมจะมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้ามีคาร์บอนระหว่าง 5-19 อะตอม จะมีสถานะเป็นของเหลว และถ้ามีคาร์บอนตั้งแต่ 20 อะตอมขึ้นไป จะมีสถานะเป็นของแข็ง [ปิโตรเลี่ยม] |
Sulphur | กำมะถัน [TU Subject Heading] |
Sulfuric Acid (H2SO4) | กรดกำมะถัน, Example: ใช้มากในอุตสาหกรรม เช่น การทำปุ๋ย การผลิตสารประกอบพวก sulfate ต่างๆ อุตสาหกรรมหนัง ทำแผ่นดีบุก โลหะชุบ สิ่งทอ ทำสบู่ [สิ่งแวดล้อม] |
Sulphur | กำมะถัน, Example: แหล่ง - พบในบริเวณบ่อน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง สุโขทัย ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ยะลา ชลบุรี ประโยชน์ - ใช้ทำดินปืน ไม้ขีดไฟ ใช้ทำปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ใช้ทำยางอ่อนและทน ทำ SO2 ส่วนใหญ่ใช้ทำกรดกำมะถัน [สิ่งแวดล้อม] |
Acid Sulfate Soil | ดินกรดกำมะถัน, ดินเปรี้ยวจัด, Example: ดินที่มีสารประกอบไพโรต์ () จำนวนมาก ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการออกซิเดชันจะทำให้เกิดมีกรดกำมะถัน และฤทธิ์ของความเป็นกรดมักจะรุนแรงพอที่จะเกิดอันตรายต่อพืชที่ปลูกได้ ดินชนิดนี้มักพบสารจาโรไซด์ () ลักษณะสีเหลืองฟางข้าวที่ชั้นใดชั้นหนึ่งในหน้าตัดดิน [สิ่งแวดล้อม] |
Sulphur Rain | ฝนสีเหลือง หรือฝนกำมะถัน, Example: ฝนที่มีละอองของฝุ่นสีเหลืองผสมอยู่ จนทำให้น้ำฝนที่ตกลงมามีสีเหลือง คล้ายกำมะถัน ฝุ่นละอองสีเหลืองนี้เกิดจากละอองเกษรดอกไม้ หรือ จากฝุ่นที่มีสีเหลือง ฯลฯ [สิ่งแวดล้อม] |
Crosslinking | การทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์ เช่น การเติมกำมะถันในยางธรรมชาติ (กระบวนการเรียกว่า vulcanization) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยางโดยกำมะถัน ได้ยางที่มีโครงสร้างแบบเชื่อมโยง (crosslink) หรือร่างแห (network) ทำให้ยางเปลี่ยนสมบัติจากอ่อนนิ่ม เป็นยางที่มีสมบัติแข็งและเหนียวขึ้น เหมาะแก่การใช้งาน [เทคโนโลยียาง] |
Ebonite | อีโบไนต์หรือยางแข็ง (hard rubber) คือ ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันโดยใช้กำมะถันในปริมาณสูง (30-50%) และให้ความร้อน ทำให้ยางมีโครงสร้างแบบร่างแห (network) และมีสมบัติแข็งมากแต่เปราะ ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษ ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ทั่วไป นิยมใช้ทำหม้อบรรจุแบตเตอรีหรือภาชนะบรรจุกรด-เบส [เทคโนโลยียาง] |
Epichlorohydrin | ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Factice | แฟกทิซ เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวได้จากปฏิกิริยาคงรูปของน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ โดยใช้กำมะถันหรือสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เมื่อเติมเข้าไปในยางจะช่วยประหยัดพลังงานในการผสม ช่วยเพิ่มความเสถียรทางรูปร่างให้แก่ยางที่ขึ้นรูปด้วยการอัดผ่านดาย (Extrudate) และมีผิวเรียบมากขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Parts per hundred of rubber | หน่วยการผสมยางโดยคิดสัดส่วนปริมาณสารต่างๆ เมื่อเทียบกับยาง 100 ส่วน (โดยน้ำหนัก) เรียกเป็น phr หรือ pphr (part per hundred of rubber) ใช้ในการออกสูตรยาง เช่น เติมกำมะถัน 2.5 phr หมายความว่า ถ้ามียาง 100 ส่วน จะเติมกำมะถัน 2.5 ส่วน [เทคโนโลยียาง] |
Sulphur or Sulfur | กำมะถัน (หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ายาสุก) เป็นสารเคมีที่รู้จักกันดีในอุตสาหกรรมยาง เนื่องจากใช้เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเกิดการคงรูป มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีเหลืองที่อุณหภูมิห้อง [เทคโนโลยียาง] |
Vulcanizing agent | สารเคมีสำหรับผสมในยางเพื่อทำให้ยางเกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุล เกิดเป็นโครงสร้างตาข่ายสามมิติ (โครงสร้างร่างแห) ขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบที่ใช้กำมะถัน ระบบที่ใช้เพอร์ออกไซด์ และระบบที่ใช้สารเคมีอื่นๆ เช่น โลหะออกไซด์ [เทคโนโลยียาง] |
Amino Acids, Sulfur Containing | กรดอะมิโนที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ, กรดอมิโนที่มีกำมะถัน [การแพทย์] |
Cerebroside Sulfuric Acid Ester | เอสเทอร์ของเซเรโบรไซด์ของกรดกำมะถัน [การแพทย์] |
monoclinic sulphur [ beta sulphur ] | กำมะถันมอนอคลินิก, ผลึกรูปหนึ่งของกำมะถัน มีลักษณะคล้ายเข็ม จะอยู่ตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 96°C ลักษณะผลึกที่สมบูรณ์แบบเป็นดังรูป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
β sulphur | กำมะถันบีตา, ดู monoclinic sulphur [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rhombic sulphur [ alpha sulphur ] | กำมะถันรอมบิก, ผลึกรูปหนึ่งของกำมะถันซึ่งอยู่ตัวที่อุณหภูมิปกติ มีสีเหลือง ลักษณะผลึกที่สมบูรณ์เป็นดังรูป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alpha sulphur [ α - sulphur ] | กำมะถันแอลฟา, ดู rhombic sulphur [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vulcanized rubber | ยางวัลกาไนส์, ยางดิบที่ผสมกับผงกำมะถันโดยการนวดและใช้ความร้อน ยางนี้มีสมบัติดีกว่ายางดิบ ไม่เสียรูปที่อุณหภูมิสูงและไม่เปราะหักง่ายที่อุณหภูมิต่ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sulfa drugs | ยาซัลฟา, ยาที่มีธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบ ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
non-metal | อโลหะ, ธาตุที่ไม่มีสมบัติเป็นโลหะ เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส ไอโอดีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coke | ถ่านโค้ก, ของแข็ง สีเทา เปราะและมีรูพรุน องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอนประมาณ 80% และมีธาตุอื่น ๆ ปนอยู่ เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส ถ่านโค้กได้จากการกลั่นทำลายถ่านหิน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการถลุงโลหะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
beta sulphur [ β sulphur ] | กำมะถันบีตา, ดู monoclinic sulphur [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
allotropy | (อะโล' โทรพี) n., chem. คุณสมบัติของบางธาตุ (เช่น คาร์บิน, กำมะถัน, ฟอสฟอรัส) ที่มีอยู่หลายรูปแบบ . -allotronism n. |
amyloid | (แอม' มิลอยด์) n. ผลิตผลชนิดหนึ่งจากปฏิกริยาของกรดกำมะถันกับเซลลูโลส, อาหารที่ประกอบด้วยแป้งเป็นส่วนใหญ่. -adj. ซึ่งคล้ายแป้ง |
black powder | n. ดินระเบิดที่ประกอบด้วยดินประสิวกำมะถันและถ่าน |
brimstone | n. กำมะถัน, หญิงที่มีอารมณ์ร้าย, หญิงที่กล้าและแข็งแรงอย่างผู้ชาย |
cystine | (ซิส'ทีน) n. เป็นอะมิโนแอซิดชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยธาตุกำมะถัน |
hard rubber | ยางแข็งที่ใส่กำมะถันจำนวนมาก |
sulfur | (ซัล'เฟอะ) n. ธาตุกำมะถัน |
sulphur | (ซัล'เฟอะ) n. กำมะถัน, Syn. sulfur |
sweet | (สวีท) adj. หวาน, มีรสดี, (นม) สด, ไม่ใส่เกลือ, ไพเราะ, หอม, มีกลิ่นดี, น่าพอใจ, ที่รัก, เป็นที่รัก, มีค่า, จัดการได้ง่าย, งดงาม, นิ่มนวล, (อากาศ) สดชื่น, ไม่มีกลิ่น, ไม่มีกรด, ไม่เปรี้ยว, ไม่มีสารกัดกร่อน, ไม่มีสารกำมะถัน, น่าตกใจ n. รสหวาน, กลิ่นน่าดม, ความหวาน, รสดี, สิ่งที่หวาน |
vitriol | (วี'ทรีเอิล) n. เกลือโลหะซัลเฟตที่มีลักษณะคล้ายแก้วเช่นเกลือcopper sulfate, กรดกำมะถัน, สิ่งที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง, สิ่งที่รุนแรง, คำพูดที่เผ็ดร้อนหรือเจ็บแสบมาก, คำพูดเสียดสี |