เกลือจืด | น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทำนาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือเกลือที่ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก. |
ควัน | (คฺวัน) น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดำหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่กำลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น |
คาร์บอนไดออกไซด์ | น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์ของธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทำนํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทำความเย็น. |
คาร์บอนมอนอกไซด์ | (-มอน็อก-) น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการเผาไหม้โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียมเมทิลแอลกอฮอล์ในอุตสาหกรรม. |
เชื้อเพลิง | สิ่งที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง. |
ฌาปน- | (ชาปะนะ-) น. การเผาศพ, การปลงศพ. |
ฌาปนกิจ | น. การเผาศพ. |
ดอกไม้จันทน์ | น. เนื้อไม้จันทน์เป็นต้นที่ไสเป็นแถบบางนำมาประดิษฐ์เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ในการเผาศพ. |
ดาบส | (-บด) น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส (อภัย). |
ดาบสินี | (-บดสินี) น. หญิงผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส. |
ท่อไอเสีย | น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบายแก๊สและช่วยลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้. |
แทงหยวก | ก. สลักกาบกล้วยให้เป็นลวดลายประดับเชิงตะกอนในการเผาศพเป็นต้น. |
ปลงศพ | ก. เผาผี, จัดการเผาหรือฝังศพให้เสร็จสิ้นไป. |
ปลาสเตอร์ | ผงสีขาวคล้ายปูนขาวได้จากการเผายิปซัมให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. |
ปูนดิบ | น. ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว, ปูนไฟ ก็เรียก. |
ปูนปลาสเตอร์ | น. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4· H2O) ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายปูนขาว ได้จากการเผายิปซัม (CaSO4·2H2O) ให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. |
ปูนไฟ | น. ปูนที่ได้จากการเผาหินปูนหรือเปลือกหอยจนสลายตัว, ปูนดิบ ก็เรียก. |
ลิ้น ๒ | น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นวาล์วปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, วาล์ว ก็เรียก. |
วาล์ว | น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, ลิ้น ก็เรียก. |
สันดาป | การเผาไหม้ |
หัวเทียน | กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ. |
ออกซิเจน | น. ธาตุลำดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วยการหายใจของคนไข้. |
อากาศ, อากาศ- | (อากาด, อากาดสะ-) น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น |
อินซูลิน | น. ฮอร์โมนประเภทโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งหย่อมเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ (islets of Langerhans) ในตับอ่อนผลิตขึ้น มีสมบัติควบคุมการเผาผลาญนํ้าตาลในร่างกาย ในทางแพทย์ใช้เป็นสารลดระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. |
ไอเสีย | น. ไอที่เกิดจากการเผาไหม้ของนํ้ามันเครื่องยนต์ที่ขับถ่ายออกทางท่อ, เรียกท่อที่ขับถ่ายไอเสียออกว่า ท่อไอเสีย. |
Combustion | การเผาไหม้ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Metabolism | การเผาผลาญ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Roasting (Metallurgy) | การเผา (โลหวิทยา) [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Fluidized-bed combustion | การเผาไหม้แบบฟลูอิไดซ์เบด [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Heat of combustion | ความร้อนของการเผาไหม้ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
แทงหยวก | ก. สลักกาบกล้วยให้เป็นลวดลายประดับเชิงตะกอนในการเผาศพ เป็นต้น [ศัพท์พระราชพิธี] |
Venting | การปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศโดยไม่มีการเผา [ปิโตรเลี่ยม] |
Flaring | การเผาก๊าซทิ้ง, การเผาก๊าซทิ้งซึ่งเป็นก๊าซส่วนเกินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์หรือไม่ได้นำมาซื้อขาย หรือเนื่องมาจากเหตุผลทางเทคนิค [ปิโตรเลี่ยม] |
Combusion | การเผาไหม้ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Waste form | รูปแบบกากกัมมันตรังสี, รูปแบบทางกายภาพและทางเคมีของกากกัมมันตรังสีหลังการบำบัด และ/หรือ หลังการปรับสภาพ ซึ่งจะอยู่ในสภาพของแข็งพร้อมที่จะนำไปหีบห่อต่อไป เช่น กากขี้เถ้าจากการเผา กากแก้วอัด กากพลาสติกอัด กากวัสดุกรองอากาศอัด กากตะกอนเคมี กากที่ผนึกในซีเมนต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Treatment, waste | การบำบัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเปลี่ยนแปลงลักษณะของกากกัมมันตรังสีให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาและการขจัด โดยมีหลักพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1. ลดปริมาตร เช่น การกดอัด 2. แยกสารกัมมันตรังสีออกจากกาก เช่น การตกตะกอน การแลกเปลี่ยนไอออน 3. เปลี่ยนองค์ประกอบ เช่น การเผา การระเหย [นิวเคลียร์] |
Combusion, Theory | ทฤษฎีการเผาไหม้ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Add-on emission control | เทคโนโลยีการควบคุมการระบายมลพิษ, เทคโนโลยีการควบคุมการระบายมลพิษซึ่งทำงานเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเผาไหม้ [สิ่งแวดล้อม] |
Burning | การเผา [TU Subject Heading] |
Energy metablism | การเผาผลาญพลังงาน [TU Subject Heading] |
Incineration | การเผาให้เป็นเถ้า [TU Subject Heading] |
Sintering | การเผาผนึก [TU Subject Heading] |
Pyrolytic Incinerator | เตาเผาชนิดควบคุมการเผาไหม้, Example: เป็นเตาเผาที่แบ่งการเผาไหม้เป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกจะควบคุม การเผาไหม้ในสภาพไร้ออกซิเจนที่อุณหภูมิประมาณ 450 องศาเซลเซียส และขั้นสุดท้าย เป็นแบบเผาไหม้ในสภาวะออกซิเจนมากเกินพอ ที่อุณหภูมิประมาณ 1, 000 - 2, 000 องศาเซลเซียส [สิ่งแวดล้อม] |
Incinerator | การเผา, เตาอินซิเนอเรเทอร์, เตาเผา(ของเสีย), Example: 1) การเผาเพื่อทำลายของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งจะต้องใช้ความร้อนที่อยู่ระหว่าง 600 - 1, 000 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ เช่น การเผาขยะติดเชื้อ เป็นต้น 2) เตาเผาของเสียที่อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 800 องศาเซลเวียลขึ้นไป แต่บางครั้งใช้เรียกเตาเผาของเสียทั่วไป [สิ่งแวดล้อม] |
Incineration | การเผาแบบอินซิเนอเรชัน, Example: กระบวนการเผาไหม้ของเสียหรือขยะที่อุณหภูมิสูง จนเหลือเป็นเถ้า โดยปกติปริมาตรจะลดลง 30% และน้ำหนักลดลง 60% [สิ่งแวดล้อม] |
Molten Salt Combustion | การเผาไหม้ด้วยเกลือเหลว, Example: เทคนิคการเผาไหม้เพื่อกำจัดสารอินทรีย์โดยการ ฉีดพ่นในอ่างเกลือเหลว ณ อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียล เกลือที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมหรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต [สิ่งแวดล้อม] |
Combustion Efficiency, CE | ซีอี, ประสิทธิภาพการเผาไหม้, Example: ค่าที่ระบุถึงประสิทธิภาพในกระบวนการเผาไหม้ โดยวัดจากปริมาณ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในไอเสียที่เกิดขึ้น [สิ่งแวดล้อม] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
ออกซิเจนเนต | สารประกอบที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุล ซึ่งอาจเป็นพวกอีเทอร์หรือแอลกฮอล์ สำหรับประเทศไทยใช้ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เติมในน้ำมันเบนซิน เพื่อช่วยให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์มากขึ้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Carbon black | ผงเขม่าดำได้จากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคปฐมภูมิอยู่ในช่วง 1-10 นาโนเมตร นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนต่อการสึกหรอให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง [เทคโนโลยียาง] |
Catabolism | ขบวนการทำลาย, การแยกสลาย, กระบวนการสลายตัว, ขบวนการทำลาย, กระบวนการสลาย, การสลายตัว, การเผาผลาญ, การย่อย, ระบบคาตาบอลิสัม, ขบวนการสลายตัว, การทำลาย, การสลาย, การเผาผลาญ, กระบวนการสลาย [การแพทย์] |
Cell Metabolism | การเผาพลาญของเซลล์ [การแพทย์] |
Charcoal | ถ่านไม้, ผงถ่าน, ถ่าน, ผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช [การแพทย์] |
Charcoal, Vegetable | ผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช [การแพทย์] |
Combustion Methods | ระบบการเผาไหม้ [การแพทย์] |
Combustion, Complete | การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ [การแพทย์] |
Combustion, Incomplete | การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ [การแพทย์] |
combustion | การเผาไหม้, ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารรวมกับตัวออกซิไดซ์ เช่น ออกซิเจน โดยอาจมีความร้อนหรือแสงเกิดขึ้นด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calcium oxide [ quicklime ] | แคลเซียมออกไซด์, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CaO เป็นของแข็งสีขาว มีชื่อสามัญว่าปูนดิบ ได้จากการเผาหินปูนด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 650°C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
residue | ส่วนที่เหลือ, กาก, สิ่งเหลือจากการเผา การกลั่น หรือการกรอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxygen | ออกซิเจน, ธาตุในหมู่ VI ของตารางธาตุ เลขอะตอม 8 สัญลักษณ์ 0 เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ช่วยในการเผาไหม้ จุดหลอมเหลว -218.9°C จุดเดือด -183°C มีในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calorific value | ค่าความร้อน, ปริมาณความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของเชื้อเพลิง 1 หน่วยมวล มีหน่วยเป็น J kg (-1) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermal power plant | โรงไฟฟ้าระบบกำลังความร้อน, โรงผลิตพลังไฟฟ้าโดยเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน เป็นต้น เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carbon monoxide | คาร์บอนมอนอกไซด์, สารประกอบของคาร์บอนกับออกซิเจน สูตรเคมีคือ CO เป็นแก๊สไม่มีสีและกลิ่น แต่เป็นพิษ เกิดจากการเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ของคาร์บอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
external combustion engine | เครื่องยนต์สันดาปภายนอก, เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงอยู่ภายนอกเครื่อง ได้แก่ เครื่องจักรไอน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
internal combustion engine | เครื่องยนต์สันดาปภายใน, เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอยู่ภายในเครื่อง เช่น เครื่องยนต์ แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
jet engine | เครื่องยนต์ไอพ่น, กลจักรที่ได้พลังงานจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ทำให้เกิดแก๊สร้อนผ่านกังหันหลายชุดเกิดแรงดันสูงพ่นออกมา ทำให้เครื่องเคลื่อนที่ไปข้างหน้าดังเช่นที่ใช้ในเครื่องบินไอพ่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rocket | จรวด, อุปกรณ์ที่ใช้กับยานอวกาศเพื่อเพิ่มพลังผลักดัน อุปกรณ์นี้เคลื่อนที่ได้โดยอาศัยหลักการขับเคลื่อนด้วยแรงซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
plaster of Paris | ปูนพลาสเตอร์, ผงแคลเซียมซัสเฟต มีสีขาว สูตรเคมีคือ CaSO4 .½H2O ผลิตจากการเผายิปซัมให้ร้อนถึง 120 - 130 °C เมื่อผสมกับน้ำจะแข็งตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Ignition | การเผา [การแพทย์] |
Incineration | การกำจัดสารเคมีโดยการเผาไฟ, การเผาจนไหม้, การเผาไฟ [การแพทย์] |
Metabolic Acidosis | กรดจากการเผาผลาญ [การแพทย์] |
Metabolic Activities | ขบวนการย่อย, การเผาผลาญและการครองธาตุ [การแพทย์] |
Metabolic Controls | การควบคุมการเผาผลาญ [การแพทย์] |
Metabolic Disturbances | การรบกวนต่อการเผาผลาญ [การแพทย์] |
afterburner | (n) อุปกรณ์ช่วยในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ |
animal heat | (n) ความร้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายสัตว์ |
bake | (n) การอบ, See also: การเผา |
burn | (n) การเผาผลาญ |
burn someone to death | (idm) เผาจนตาย, See also: ฆ่าด้วยการเผาไฟจนตาย |
calx | (n) เถ้าถ่านจากการเผาไหม้เหล็ก |
charcoal | (n) ถ่าน, See also: ถ่านไม้, ถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้ของคาร์บอน, Syn. wood coal |
coal gas | (n) ก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหิน |
combustion | (n) กระบวนการเผาไหม้, See also: กระบวนการสันดาป |
combustion | (n) การสันดาป, See also: การเผาไหม้, การลุกไหม้, Syn. burning, flaming, kindling |
cremains | (n) อัฐิ, See also: เถ้ากระดูกที่เหลือจากการเผาศพ |
cremation | (n) การเผาศพ, See also: การฌาปนกิจ |
High Mass | (n) พิธีฉลองการรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู มีการเผาเครื่องหอม บรรเลงดนตรี และขับร้อง |
ignition | (n) การจุดไฟ, See also: กระบวนการเผาไหม้, Syn. combustion |
lampblack | (n) เขม่าดำ (ที่เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันหรือก๊าซ), See also: เขม่า, ขี้เขม่า |
metabolic | (adj) เกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร |
metabolism | (n) กระบวนการเผาผลาญอาหาร, See also: เมตาบอลิซึม, การสันดาป, Syn. digestion |
octane number | (n) ค่าแสดงคุณสมบัติของตัวการเผาไหม้ |
chase the dragon | (sl) สูดควันเฮโรอีนจากการเผา |
sati | (n) การเผาตัวเองของแม่ม่ายในกองฟืนที่เผาศพสามี, Syn. sattee, suicide |
suttee | (n) การเผาตัวเองของแม่ม่ายในกองฟืนที่เผาศพสามี, Syn. sati, suicide |
abbau | (แอบ'โบ) ผลิตผลของการเผาผลาญ |
adrenal gland | ต่อมหมวกไต มีส่วนประกอบ 2 ส่วน 1. ส่วนเปลือก (adrenal cortex) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 1.1 กลูโคคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได้แก่ cortisone , hydrocortisone ซึ่งทำหน้าที่ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้จำนวนกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้น และไกลโคเจนจะถูกสะสมในตับมากขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ในขณะที่ร่างกายเครียดจะหลั่ง ACTH และ cortisoneออกมาโดยผ่านทาง higher center ของระบบประสาทส่วนกลาง เราจึงมักพบ cortisone ในสภาวะที่ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ถูกของร้อน มีคม ไข้สูง ฯลฯ 1.2 ไมเนอราลคอร์ติคอยด์ แยกย่อยได่แก่ aldosterone deoxycorticosterone ซึ่งมีจำนวนน้อย ทั้งสองฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมน้ำและเกลือแร่ 1.3 sex hormone แยกย่อยได้เป็น Estrogen Progesterone Androgen 2. ส่วนแกน (adrenal medulla) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญคือ 2.1 adrenaline หรือ epinephrine ทำให้หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังและอวัยวะภายในบีบตัว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เร่งการสลาย glycogen ในตับเพื่อเปลี่ยนเป็น glucose ทำให้นเตาลในเลือดสูงขึ้น 2.2 noradrenaline ไม่มีผลต่อการเผาผลายอาหารในร่างกาย แต่มีผลทำให้เลือดหดตัว หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดสุงขึ้น ขยายหลอดลม แต่ไม่มีผลต่อระดับ้ำตาลในเลือด |
burn | (เบิร์น) { burnt/burned, burnt/burned, burning, burns } vi., vt. เผา, ไหม้, มีไฟ, ติดไฟ, ลุก, โกรธจัด , เดือดดาล n. สถานที่เผาไหม้, บริเวณลุกไหม้, บาดแผลเนื่องจากการเผาไหม้ |
burning | (เบิร์น'นิง) adj. ลุกไหม้, เผาไหม้, ร้อนจัด, สว่างมาก, ลุกช่วง, เร่าร้อน, สำคัญ, รีบด่วน n. การเผาไหม้, ความเลวร้ายมาก, ปัญหาสำคัญ |
burnt offering | n. การเผาไหม้เพื่อบูชายันต์ |
coke | (โคค) n. ถ่านหินที่เผาจนหมดควันใช้เป็นเชื้อเพลิงและในการเผาโลหะออกไซด์ให้เป็นโลหะ., See also: coky adj. |
combustion | (คัมบัส'เชิน) n. การเผาไหม้, See also: combustive adj. ดูcombustion, Syn. burning |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
consumption | (คันซัมพฺ'เชิน) n. การบริโภค, การเผาผลาญ, การใช้สินค้าหรือการบริการที่มีค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่แลกเปลี่ยนได้, วัณโรค, โรคที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม, Syn. consuming, utilization |
crematory | (ครี'มะโทรี) n. ที่เผาศพ, ที่ปลงศพ, เตา, เผาศพ, ปะรำเผาศพ adj. เกี่ยวกับการเผาศพ |
decrepitate | (ดิเครพ'พิเทท) vt. เผาให้เป็นรอยแตก, ปะทุ แตกการเผา, See also: decrepitation n., Syn. roast |
firing | (ไฟ'เออะริง) n. การยิง, การจุดไฟ, การก่อไฟ, เชื้อเพลิง, การเผาเครื่องเคลือบดินเผาหรือแก้ว |
growth hormone | เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต และเกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย |
high mass | พิธีฉลองการรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู มีการเผาเครื่องหอม บรรเลงดนตรีและขับร้อง |
holocaust | (ฮอล'ละคอสทฺ) n. ความหายนะ, การทำลายจนสิ้นเชิง, การเผาบูชาจนสิ้น, , See also: holocaustic, holocaustical adj., Syn. disaster |
hyperthyrodism | เกิดจาก thyroxin ถูกขัยออกมามากกว่าปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญอาหารมากทำให้เกิดโรค 2 อย่างคือ 1. exophthalamic goiter เป็นลักษณะคอหอยพอก ใจสั่นเหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว ตกใจง่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ตาโปนและถลน 2. adenomatous goiter with hyperthyroidism เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากต่อมธัยรอยด์โตแล้ว ทำให้เกิดอาการเหมือนชนิดแรก แต่ไม่ใคร่โปนมากนัก |
hypothyrodism | เกิดจาก thyroxin ถูกขัยออกมาน้อยกว่าปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญอาหารน้อยลง |
ignition | (อิกนิช'เชิน) n. การติดไฟ, ภาวะที่ติดไฟ, กระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ |
metabolism | (มะแทบ'บะลิสซึม) n. การสันดาป, การเผาผลาญ, การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อ |
octane number | n. ค่าแสดงคุณสมบัติของตัวของการเผาไหม้ |
smoulder | (สโมล'เดอะ) vi. ใช้ไฟอ่อน ๆ , อบหรือเผาโดยไม่มีเปลวไฟ, คุ, ระอุ, อัดอั้นในใจ, กรุ่นอยู่ในใจ. n.. ควันที่พ่นโขมงที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์, ไฟที่คุกรุ่น., Syn. smoulder |
stake | (สเทด) n., vt. (วาง) เสาหลัก, เสาเข็ม, เสาหมุด, เสาบ้าน, หลัก, หมุด, หลักปักเขต, ทั่งไม้, เงินเดิมพัน, เงินรางวัล หรือผลประโยชน์ที่จะได้, ส่วนได้เสีย, การเสี่ยง, การแข่งม้า, หุ้นผลประโยชน์, การเผาทั้งเป็น vi. เล่นการพนันขันต่อ, พนัน, , See also: stakes n. เงินเดิมพัน |
suttee | (ซูที', ซัท'ที) n. การเผาตัวเองของหญิงหม้ายฮินดูสมัยก่อนเพื่อให้ตายตามสามีที่ตายไปแล้ว, หญิงหม้ายฮินดูที่เผาตัวเอง เพื่อตายตามสามี., See also: sutteeism n. |
thyroxin | ควบคุมการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยทำการแลกเปลี่ยนน้ำและเกลือแร่ เปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นกลูโคส ควบคุม fatty acid cholesterol phospholipid ควบคุมการเจริญเติบโต |