แกนนำ | ผู้ที่เป็นหลักในการเจรจาเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล. |
ทางสายกลาง | น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
มิจฉาวาจา | น. “การเจรจาถ้อยคำผิด” คือ ประพฤติวจีทุจริต. |
ลิ้นทูต | ว. มีศิลปะในการเจรจาให้สำเร็จประโยชน์และเป็นที่พอใจด้วยกันทุกฝ่าย. |
สัมมาวาจา | น. “การเจรจาชอบ” คือ ประพฤติวจีสุจริต. |
สิ้นสุด | ก. ถึงที่สุด, จบ, เช่น การแข่งขันบาสเกตบอลสิ้นสุดลงเมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. การเจรจายุติสงครามสิ้นสุดลงแล้ว, สุดสิ้น ก็ว่า. |
เสียเหลี่ยม | ก. เสียชั้นเชิงท่าที เช่น ในการเจรจาอย่าให้เสียเหลี่ยมเขาได้, ถูกลบเหลี่ยม เช่น นักเลงโตเสียเหลี่ยม ถูกนักเลงรุ่นน้องดักตีหัว, เสียเหลี่ยมเสียคม ก็ว่า. |
อัษฎางคิกมรรค | (อัดสะดางคิกะมัก) น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธ-ศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง. |
เอกอัครราชทูต | (เอกอักคฺระ-) น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐแต่งตั้งไปประจำยังสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติของตนในรัฐนั้น ๆ. |
Contract negotiation | การเจรจาทำสัญญา [เศรษฐศาสตร์] |
Collective bargaining | การเจรจาต่อรองร่วม [TU Subject Heading] |
Doha Development Agenda (2001-) | การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา [TU Subject Heading] |
Environmental mediation | การเจรจาไกล่เกลี่ยด้านสิ่งแวดล้อม [TU Subject Heading] |
Hostage negotiations | การเจรจาต่อรองตัวประกัน [TU Subject Heading] |
Negotiation | การเจรจาต่อรอง [TU Subject Heading] |
Negotiation in business | การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ [TU Subject Heading] |
Productivity bargaining | การเจรจาต่อรองเพื่อเพิ่มผลผลิต [TU Subject Heading] |
Uruguay Round (1987-1994) | การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย (ค.ศ.1987-1994) [TU Subject Heading] |
Uruguay Round | การเจรจารอบอุรุกวัย, Example: การเจรจารอบที่ 8 ของแกตต์ เริ่มการเจรจาเมื่อ พ.ศ. 2529 และสิ้นสุดการเจรจาเมื่อ พ.ศ. 2536 มีประเทศเข้าร่วมเจรจา 117 ประเทศ ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรี จากประเทศภาคี เพื่อเปิดการเจรจาที่เมืองปุนต้า เดล เอสเต้ ประเทศอุรุกวัย จึงได้ใช้ชื่อการเจรจาเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศเจ้าภาพ การเจรจารอบนี้ถือได้ว่าเป็นการเจรจาที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่แกตต์ (ดู GATT) ได้เคยขยายการเจรจาออกไปยังเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ได้แก่ เรื่องการค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การค้าที่เกี่ยวกับมาตรการลงทุน และการค้าสินค้าบริการ ผลทางการเจรจาครอบคลุมกว้างขวางถึงการเปิดเสรีในการค้าสินค้าและการค้า บริการ รวมทั้งการปฏิรูประบบและกลไกของแกตต์ อาทิ ข้อตกลงเปิดตลาดสินค้าเกษตรโดยเปลี่ยนรูปแบบจากการห้ามนำเข้าหรือการจำกัด การนำเข้ามาเป็นภาษีศุลกากร (ดู Tariffication) การลดการอุดหนุนการส่งออก การปรับปรุงกระบวนการยุติข้อพิพาทของแกตต์ การกำหนดกรอบของการเปิดเสรีการค้าบริการการค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทาง ปัญญา (ดู IPRs) การเปลี่ยนรูปแบบข้อตกลงแกตต์เป็นสถาบันที่เรียกว่า องค์การการค้าโลก (ดู World Trade Organization) เป็นต้น [สิ่งแวดล้อม] |
Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
alternative perimeter | แนวเขตที่เสนอเป็นทางเลือกในการเจรจาเขตแดนระหว่างประเทศ [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Conference on Disamament | การประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต] |
Communiqué | คำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] |
General Agreement on Tariffs and Trade | ความตกลงต่าง ๆ เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า โดยจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศทั้งหลายตัดทอนข้อกีดขวาง ทางการค้าระหว่างกันให้น้อยลง การเจรจาทำความตกลงเหล่านี้ได้กระทำผ่านทางองค์การการค้าระหว่างประเทศ [การทูต] |
good offices | การช่วยเป็นสื่อกลางให้มีการเจรจากัน [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
PA | Palestinian Authority หรือ Palestinian National Authority (PNA) เป็นองค์การบริหารดินแดนยึดครอง (Occupied Territories) ในเขต Gazza และเขต West Bank ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นผลจากความตกลงออสโล (Oslo Accords) ระหว่างอิสราเอลกับ Palestinian Liberation Organization (PLO) เพื่อเป็นองค์กรบริหารดินแดนยึดครองก่อนที่การเจรจา Final Statua จะประสบความสำเร็จ [การทูต] |
Pacific Settlement of International Disputes | หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Stalemate | ภาวะจนมุม เป็นคำที่ยืมมาจากเกมหมากรุกและใช้ในความหมายที่ว่า ตกอยู่ในสภาพชะงักงันหรือทางตัน คำนี้จะใช้กันแพร่หลายในด้านการทูต และในด้านการเจรจาระหว่างประเทศ คือ ทั้งสองฝ่ายต่างยึดมั่นในหลักการของแต่ละฝ่าย ซึ่งแตกต่างกันได้ก็ด้วยอาศัยมือที่สาม หรือประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงแก้ไขให้ [การทูต] |
Summit Diplomacy | การเจรจาตัวต่อตัวโดยตรง (Direct face-to-face negotiation) ระหว่างประมุขของรัฐ (Head of State) หรือ ระหว่างหัวหน้าของรัฐ (Head of Government) ในปัจจุบันเรียกว่า การเจรจาสุดยอด [การทูต] |
Concentration, Minimal Inhibitory | ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของยาที่สามารถยับยั้งการเจรจา [การแพทย์] |