กราบ ๒ | (กฺราบ) ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. |
นม- ๒, นมะ | (นะมะ-) น. การนอบน้อม, การเคารพ, การไหว้. |
นิปัจการ | (นิปัดจะกาน) น. การเคารพ. |
ปูชนียสถาน | (ปูชะนียะสะถาน) น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์. |
ผ้าไหว้ | น. ผ้าที่ฝ่ายชายนำไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการเคารพในเวลาแต่งงาน, ปัจจุบันหมายถึง ผ้าที่บ่าวสาวนำไปแสดงความเคารพแก่บิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ของทั้ง ๒ ฝ่าย. |
พินอบพิเทา | (พิ-นอบ-) ก. แสดงอาการเคารพนบนอบมาก. |
ลบหลู่ | ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มีอุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข. |
วันทน-, วันทนา | (วันทะนะ-, วันทะนา) น. การไหว้, การเคารพ. |
วันทา | ก. ไหว้, แสดงอาการเคารพ. |
สหประชาชาติ | น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization). |
Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
Inviolability | หมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต] |
observance of rights | การเคารพสิทธิ [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
deification | (n) การทำให้เป็นพระเจ้า, See also: การเคารพบูชาเหมือนเป็นพระเจ้า, Syn. exaltation, honor |
diabolism | (n) การเคารพบูชาภูตผีปีศาจ, Syn. Satanism, black magic |
matriarch | (n) ผู้เฒ่าหญิงที่ควรแก่การเคารพ, See also: ปูชนียบุคคล, Syn. ancestress, precursor |
obeisance | (n) พฤติกรรมที่แสดงถึงการเคารพ, Syn. courtesy, deference |
reverence | (n) การเคารพนับถือ, See also: การยำเกรง, การนับถือ, Syn. respect, worship |
sacrosanctity | (n) การเคารพสักการะอย่างสูง |
self-esteem | (n) การเคารพตนเอง, See also: การเคารพในตัวเอง, ความเชื่อมั่นในตัวเอง, Syn. self-respect, pride |
self-respect | (n) การเคารพตัวเอง, See also: การเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง, ความภาคภูมิใจในตัวเอง, Syn. pride, confidence, dignity, self-esteem |
adoration | (อะดอ' เรเชิน) adj. การบูชา, การเคารพ, ความคลั่งรัก, Syn. worship, love |
fornication | (ฟอร์นะเค'เชิน) n. การลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน, การเป็นชู้, การบูชาเทวรูป, การเคารพบูชาอย่างหลับหูหลับตา., See also: fornicatory adj. |
idolatry | (ไอดอล'ละทรี) n. การเคารพบูชาทางศาสนา, การบูชารูปปั้น, การหลงใหลอย่างหลับหูหลับตา |
mariolatry | (แมริออล'ละทรี) n. การเคารพสักการะบูชาพระนางมาเรีย |
obeisance | (โอเบ'เซินซฺ) n. การก้มคำนับ, การปฏิบัติตาม, การเคารพ., See also: obeisant adj., Syn. fealty |
self-respect | (เซลฟฺ'รีสเพคทฺ') n. การเคารพตัวเอง, การหยิ่งในศักดิ์ศรีของตัว เอง., See also: self-respectful, self-respecting adj. |
shinto | (ชิน'โท) n. ศาสนาชินโตในญี่ปุ่นยึดหลักการเคารพบูชาบรรพบุรุษ, ศาสนาไหว้เจ้าในญี่ปุ่น |