Eletronic data processing | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Eletronic data processing | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Optical data processing | การประมวลผลด้วยแสง [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Real-time data processing | การประมวลผลแบบทันที [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Online data processing | การประมวลผลข้อมูลแบบออนไลน์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Electronic data processing | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Image processing | การประมวลผลภาพ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Electronic data processing | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Image processing | การประมวลผลภาพ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Natural language processing | การประมวลผลภาษาธรรมชาติ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
signal processing | การประมวลผลสัญญาณ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Language processing technology | เทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Computer sound processing | การประมวลผลเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Real-time data processing | การประมวลผลข้อมูลแบบทันที [คอมพิวเตอร์] |
Online data processing | การประมวลผลข้อมูลแบบออนไลน์ [คอมพิวเตอร์] |
Electronic data processing | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [คอมพิวเตอร์] |
Electronic data processing -- Distributed | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบกระจาย [คอมพิวเตอร์] |
Parallel processing (Electronic computers)) | การประมวลผลแบบขนาน [คอมพิวเตอร์] |
Image processing | การประมวลผลภาพ [คอมพิวเตอร์] |
Natural language processing (Computer science)) | การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (คอมพิวเตอร์) [คอมพิวเตอร์] |
Data processing | การประมวลผลข้อมูล, Example: กรรมวิธีในการเก็บข้อมูลจากที่เกิด นำข้อมูลมาบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ นำข้อมูลที่เก็บไว้มาจัดทำเป็นรายงานเสนอผู้ใช้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์บันทึกประวัติของนักเรียน ตรวจข้อสอบ ให้คะแนนสอบ แล้วบันทึกคะแนนสอบลงในประวัติของนักเรียน สุดท้ายจึงใช้คอมพิวเตอร์คิดระดับคะแนน และจัดทำรายงานคะแนนสอบ การประมวลผลข้อมูลเป็นการประยุกต์คอมพิวเตอร์แบบพื้นฐานที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและบริษัทต่างๆ นอกจากงานข้างต้นแล้ว ก็ยังมีตัวอย่างอื่นอีกมาก เช่น โรงแรมใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลทำบัญชีคิดเงินลูกค้า ห้างสรรพสินค้าใช้คอมพิวเตอร์อ่านฉลากสินค้าแล้วคิดเงิน ต่อจากนั้นก็บันทึกเก็บข้อมูลการขายไว้จัดทำบัญชีต่อไป ฯลฯ [คอมพิวเตอร์] |
Processing | การประมวลผล [คอมพิวเตอร์] |
teleprocessing | การประมวลผลทางไกล, Example: ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถส่งโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลไปประมวลผลผ่านทางเครื่องผลายทาง ซึ่งอยู่คนละสถานที่กับคอมพิวเตอร์ได้ [คอมพิวเตอร์] |
Optical Character Recognition Program | โปรแกรมแปลงข้อความบนกระดาษเป็นข้อความในคอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และรู้จำตัวพิมพ์หรือตัวเขียน โดยการสแกนตัวอักษรหรือข้อความ ด้วยแสง นำมาวิเคราะห์ภาพตัวอักษรหรือข้อความนั้น เพื่อแปลงมาเป็นรหัสตัวอักษรเพื่อใช้ในการประมวลผลต่อไป [Assistive Technology] |
Batch processing | การประมวลผลแบบกลุ่ม [TU Subject Heading] |
Character sets (Data processing) | ชุดอักขระ (การประมวลผลข้อมูล) [TU Subject Heading] |
Copyright and electronic data processing | ลิขสิทธิ์กับการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [TU Subject Heading] |
Data processing | การประมวลผลข้อมูล [TU Subject Heading] |
Distributed processing | การประมวลผลแบบกระจาย [TU Subject Heading] |
Electronic data processing | การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [TU Subject Heading] |
Electronic data processing documentation | การทำเอกสารในการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ [TU Subject Heading] |
Image processing | การประมวลผลภาพ [TU Subject Heading] |
Natural language processing (Computer science) | การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (คอมพิวเตอร์ศาสตร์) [TU Subject Heading] |
Optical data processing | การประมวลผลข้อมูลด้วยแสง [TU Subject Heading] |
Parallel processing (Electronic computers) | การประมวลผลแบบขนาน (คอมพิวเตอร์) [TU Subject Heading] |
Real-time data processing | การประมวลผลแบบทันที [TU Subject Heading] |
Speech processing systems | ระบบการประมวลผลเสียงพูด [TU Subject Heading] |
Thai character sets (Data processing) | ชุดอักขระภาษาไทย (การประมวลผลข้อมูล) [TU Subject Heading] |
Audit through the computer | การตรวจสอบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ [การบัญชี] |
Assessment | การประมวลผล, ประเมิน, การประเมิน [การแพทย์] |
Cloud computing | การคำนวณแบบคลาวด์, การประมวลผลแบบแบ่งปันทรัพยากรผ่านเครือข่าย, Example: การให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ เกิดจากแนวคิดการให้บริการโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีเซิร์ฟเวอร์มากมายทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้บริการแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีข้อดีคือลดความซ้ำซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย เพราะคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำงานผ่านเทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) ระบบจึงไม่ได้ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของการใช้ระบบประมวลผลจากระบบต่างๆ ทำให้เกิดการบริการหลายๆ อย่าง เช่น การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต Web conferencing, Online meeting ผู้ใช้งานอาจอยู่ในห้องเดียวกันหรือห่างไกลกันคนละซีกโลกก็ได้ การประมวลผล แบบคลาวด์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ Private cloud computing เป็นการใช้งานภายในองค์กร โดยเป็นการใช้สมรรถนะของดาต้าเซ็นเตอร์ภายในองค์กรนั้นๆ และ cloud computing เป็นรูปแบบที่มีผู้ให้บริการสาธารณะจัดสรรการให้บริการการเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนมาก โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องรับทราบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งอยู่ที่ไหนและมากเท่าใด สนใจเพียงแต่บริการที่ได้รับเท่านั้น [เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ] |
variable | ตัวแปร, สัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าตัวเลข หรือตัวหนังสือในโปรแกรม ลักษณะคล้ายคลึงกับตัวแปรทางคณิตศาสตร์ โดยจะต้องมีการตั้งชื่อให้กับตัวแปร มีการกำหนดค่าให้กับตัวแปร และค่าของตัวแปรอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปได้ระหว่างที่ทำการประมวลผล หรือระหว่างการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Dynamic RAM (DRAM) | ไดนามิกแรม หรือดีแรม, หน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่มีใช้งานอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซีมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Random Access Memory ( RAM) | แรม, หน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ซึ่งอนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควรแต่จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นหากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Central Processing Unit (CPU) | ซีพียู, ชิปที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไว้มากมาย โดยวงจรจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก บางครั้งจึงเรียกชิปต่างๆ ว่า ไอซี ทำหน้าที่ในการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอมพิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
information and communication technology (ICT) | เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที), เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล การรับและการส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนำข้อมูลไปใช้งานใหม่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
register | รีจิสเตอร์, ที่เก็บข้อมูลชั่วคราวของเอแอลยู ในไมโครโปรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เก็บบิตของข้อมูล เพื่อนำมาให้คอมพิวเตอร์ใช้ในการประมวลผล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
information processing | การประมวลผลสารสนเทศ, การดำเนินการต่างๆกับข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) |
batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ |
benchmark | การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐานหมายถึง การทดสอบเพื่อวัดความสามารถในการประมวลผล หรือการทำงานของ โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน |
billisecond | ใช้ตัวย่อว่า BS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานหรือการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |
centralized system | ระบบศูนย์กลางหมายถึง วิธีการประมวลผลที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ผ่านศูนย์กลางจากเครื่องปลายทาง (terminal) การเรียกหาข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะใช้ จะเรียกจากศูนย์กลางทั้งหมดดู terminal ประกอบ |
computer audit | การตรวจสอบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการตรวจสอบการประมวลผลเพื่อความถูกต้องทางบัญชี |
computer science | วิทยาการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานให้ตามความประสงค์ เป็นต้นว่า กระบวนการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (information) ฯ อนึ่ง ศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
concurrent processing | การประมวลผลพร้อมกันหมายถึง การประมวลผลตั้งแต่สองโปรแกรมขึ้นไปพร้อม ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องจะปฏิบัติงานได้ครั้งละหนึ่งโปรแกรมเท่านั้น เพียงแต่ว่าทำในอัตราที่รวดเร็วมาก จนดูประหนึ่งว่าทำงานหลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน |
data processing | n. กระบวนการหรือเทคนิคการป้อนข้อมูล ใช้ตัวย่อว่า DP (อ่านว่า ดีพี) หมายถึง การนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่น จัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ หรือ ผลที่จะนำไปใช้ต่อไป โดยปกติจะใช้คำเต็ม ๆ ว่า electronic data processing หรือ EDP ซึ่งหมายเฉพาะถึง การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น |
data type | ลักษณะข้อมูลหมายถึง การกำหนดข้อมูลที่จะใช้ให้มีลักษณะเป็นตัวเลข ตัวอักษร เลขจำนวนเต็ม หรือเลขทศนิยม เพื่อความสะดวกในการประมวลผล |
ddp | (ดีดีพี) ย่อมาจาก distributed data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย) หมายถึง การประมวลข้อมูลในหน่วยงานที่มีหลายสาขา และ การทำงานเป็นแบบต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างมีข้อมูล แต่อาจมีการเชื่อมติดต่อกันโดยการสื่อสารข้อมูล (data communications) <คำย่อ> ดีดีพี ย่อมาจาก Drug Data for Pharmacist |
decentralized data proces | การประมวลผลข้อมูลแบบแยกจากศูนย์หมายถึงการประมวลผลข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยงานแต่ละหน่วย ต่างฝ่ายต่างประมวลผลไปได้เองโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากกัน |
display | (ดิสเพล') vt. แสดง, เปิดเผย, โอ้อวด, แผ่ออก, เรียงพิมพ์ให้เด่นชัด n. การแสดง, การโอ้อวด, สิ่งที่แสดงให้เห็นชัด, นิทรรศการ, Syn. exhibit แสดงผลหน่วยแสดงผลหมายถึงการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยแสดงผลก็คือจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง นอกจากนั้น การแสดงผลอาจแสดงได้ทางเครื่องพิมพ์ printer, พล็อตเตอร์ plotter ฯ |
dp | (ดีพี) ย่อมาจาก data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูล) หมายถึงการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่นจัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามต้องการหรือผลที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ โดยปกติจะหมายถึงการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น |
edp | (อีดีพี) ย่อมาจาก electronic data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว แล้วแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
electronic data processin | การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า EDP (อ่านว่า อีดีพี) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
expert system | ระบบผู้เชี่ยวชาญหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง เช่น งานด้านการแพทย์ ระบบนี้จะรวมเอาความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งพวกมืออาชีพหรือผู้ชำนาญการได้รวบรวมไว้ กับต้องมีวิธีการที่จะใช้ในการประมวลผล โดยการตั้งคำถามให้ตอบ โปรแกรมประเภทนี้ จะต้องนำคำตอบเหล่านั้นมาประมวลผล เปรียบเทียบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว หาข้อสรุปให้ หรือช่วยแก้ปัญหาให้ คำตอบที่คอมพิวเตอร์ตอบนี้ ถือว่าเป็นคำตอบที่เหมือนกับที่ผู้เชี่ยวชาญจะตอบ |
fetch | (เฟทชฺ) { fetched, fetching, fetches } vt. ไปเอามา, ไปหยิบมา, เอามา, นำมา, ทำให้มา, ขายได้, ได้, (สูดลมหายใจ) , ถอนใจ, ทำให้ (ตกลงมา) , นำกลับ, ทำให้เกิดขึ้น. vi. ไปเอามา, เคลื่อน, แล่นเรือ, เอากลับ. -n. การไปเอามา, อุบาย, แผนการ, เขตลมคลื่น., ผี, See also: fetch a breat ไปนำมาหมายถึงนำข้อมูลหรือคำสั่งจากหน่วยความจำเข้าไปใส่ไว้ในหน่วยประมวลผลกลาง CPU เพื่อทำการประมวลผล บางทีใช้หมายถึงการโอนย้ายข้อมูลจากสื่อ medium เข้าไปเก็บในหน่วยความจำ |
file processing | การประมวลผลแฟ้มข้อมูลหมายถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาประมวลผล โดยปกติหมายถึงการเขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำให้ เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ |
hard copy | สำเนาถาวรสิ่งพิมพ์ออก1. หมายถึง ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ (information) หรือผลที่ได้จากการประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์ออกมา เมื่อสั่ง ตรงข้ามกับ soft copy ซึ่งหมายถึง สารสนเทศหรือผลที่เห็นบนจอภาพ เมื่อปิดไฟก็จะหายไป ดู soft copy เปรียบเทียบ2. อีกความหมายหนึ่ง จะหมายถึงผลงานที่พิมพ์ลงกระดาษ |
ieee | (ไอทริพเพิลอี) ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronic Engineers แปลว่า สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลdเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป |
ifips | (ไอฟิปส์) ย่อมาจาก International Federation of Information Processing Societies แปลว่า สหพันธ์สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการประมวลผลสารสนเทศ เป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกัน ในอันที่จะพัฒนาวิทยาการสารสนเทศ (information science) และการประมวลผลข้อมูลให้ก้าวหน้า |
image processing | การประมวลผลภาพเป็นเทคนิคในการประมวลผลที่มีข้อมูลเป็นภาพ คอมพิวเตอร์จะอ่านภาพที่ถูกส่งเข้าไป แล้วแปลงเป็นตัวเลข เราสามารถดัดแปลง แก้ไข ปรับขยาย หมุน ฯ เพื่อการวิเคราะห์บางอย่างได้ ปัจจุบัน ถือเป็นสาขาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาไปไกลมากจนเป็นที่ยอมรับ และมีผู้สนใจมาก การมีภาพประกอบในเอกสารต่าง ๆ หรือในการแสดงผลงาน จะช่วยทำให้งานนั้นน่าสนใจขึ้น |
image scanner | เครื่องตรวจภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านภาพหรือข้อความแล้วนำเข้าไปเก็บเป็น "ภาพ " ในหน่วยความจำ เพื่อนำมาใช้ในการประมวลผลต่อไป ดู scanner ประกอบ |
information technology | เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
input device | อุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมีหลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึก หน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึง แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ |
institute of electrical a | สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า IEEE (อ่านว่า ไอทริพเพิลอี) เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป |
integratd program | ชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
integrated software | ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จส่วนชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
it | (อิท) pron. มัน, นั่น, ตัว, คน, บุคคล, ตัวมาร, ตัวการ, คนสำคัญ, คนโง่. n. คนเล่น, สถานการณ์โดยทั่วไป ไอทีย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
jcl | (เจซีแอล) ย่อมาจาก job control language ที่แปลว่า ภาษาควบคุมงาน หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด |
job control language | ภาษาควบคุมงานใช้ตัวย่อว่า JCL หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด |
liveware | หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า1. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (computer engineer) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการบำรุงรักษาตัวเครื่อง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนตัวเครื่อง (hardware) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) คือ ผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล3. นักเขียนชุดคำสั่งหรือผู้ทำโปรแกรม (programmer) คือผู้ที่จะเขียนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม4. ผู้ควบคุมเครื่อง (operator) คือผู้ที่จะบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ด้วยการกดปุ่มบนแผงหน้าปัด ให้ทำงานตามคำสั่ง5. ผู้เตรียมข้อมูล (data entry operator) หมายถึงผู้ที่นำข้อมูลลงในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แถบบันทึก จานบันทึกมีความหมายเหมือน peopleware |
multiprogramming | การทำงานแบบหลายโปรแกรมมัลติโปรแกรมมิงหมายถึง การที่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวสามารถทำโปรแกรมพร้อมกันได้มากกว่า 2 โปรแกรมขึ้นไป เช่น ในขณะที่อ่านโปรแกรมหนึ่งเข้าไปเก็บ หน่วยประมวลผลก็ประมลผลข้อมูลของอีกโปรแกรมหนึ่งไปพร้อม ๆ กัน และหน่วยแสดงผลก็อาจแสดงผลที่ได้รับจากการทำโปรแกรมก่อนหน้านั้น (อันที่จริง ไม่ใช่การประมวลผลโปรแกรมพร้อมกัน เพียงแต่หน่วยต่าง ๆ ทำงานพร้อม ๆ กัน เท่านั้น) |
natural language processi | การประมวลผลภาษาธรรมชาติหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลได้โดยใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาธรรมชาติ พูดง่าย ๆ ก็คือ สามารถใช้ภาษาธรรมดา ๆ สั่งการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามได้ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จะใช้ภาษาเฉพาะที่มีกฎเกณฑ์ ไวยากรณ์ และศัพท์ของตนเอง ที่เรียกว่า ภาษาเชิงมนุษย์ (human oriented language) เช่น ภาษา C ภาษา BASIC ภาษา COBOL ฯ ส่วนภาษาธรรมชาตินั้น หมายถึง ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีการ พัฒนาด้านนี้กันไปไกลมาแล้ว แต่ก็สรุปได้ว่า ยังใช้การไม่ได้ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาษานั้นมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมาก ยากที่จะแปลหรือตีความให้ตาย ตัวได้ |
neural network | เครือข่ายเส้นประสาทหมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ ที่เรียกว่า นิวโรน ในสมองมนุษย์ ซึ่งมีนับจำนวนล้าน ๆ ตัว การประมวลผลกิจกรรมต่าง ๆ จะออกมาในลักษณะแบบขนาน (ไม่ใช่แบบอนุกรม) หมายถึง ทำงานพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ได้คำตอบอันเดียว ทั้งนี้หมายถึง การที่ต้องสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมาก ๆ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ได้เอง ฉะนั้นการที่เครือข่ายแบบนิวโรนนี้จะให้คำตอบได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งปัญหาต่าง ๆ เข้าไปให้ลองทำมาก ๆ เครือข่ายแบบนี้จะเป็นประโยชน์ เฉพาะในงานประมวลผลงานบางประเภท เช่น เรื่องการประมวลผลเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาด หรือการหาความคล้ายคลึงระหว่างภาพหลาย ๆ ภาพ เช่น ลายนิ้วมือ เป็นต้น ดู artificial intelligence ประกอบ |
off line processing | การประมวลผลแบบไม่เชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำขึ้นโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) เช่น การแปลงข้อมูลจากบัตรแล้วบันทึกข้อมูลลงในแถบบันทึก หรือจานบันทึก เป็นต้นดู on line processing เปรียบเทียบ |
on line processing | การประมวลผลแบบเชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร) หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดยทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เช่น ที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing เปรียบเทียบ |
output data | ข้อมูลออกหมายถึงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะส่งออกไปทางจอภาพ เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์ หรืออุปกรณ์ส่งออกอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก |
output device | อุปกรณ์ส่งออกอุปกรณ์แสดงผลหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล การแสดงนั้นอาจแสดงผ่านทางอุปกรณ์ได้หลายชนิด เป็นต้นว่า จอภาพ เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์ รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก ดู input device เปรียบเทียบ |
page description language | ใช้ตัวย่อว่า PDL (พีดีแอล) เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับโพสต์คริปต์ (postcript) ซึ่งจะทำการประมวลผลในหน่วยประมวลผลของเครื่องพิมพ์เอง ในพีดีแอลนั้น จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดหน้า การคำนวณภาพกราฟิก แม้จะมีความยาวมาก แต่ก็จะทำงานได้เร็วกว่า คำสั่งที่ส่งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีแอล พีดีแอลนั้นจะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์ทุกยี่ห้อที่สามารถเข้าใจภาษานี้ ปัจจุบันแมคอินทอชใช้พีดีแอล ที่ชื่อ "postcript" ส่วนพีซีใช้พีดีแอลที่ชื่อ "true type" (เทียบเคียงได้กับ postcript) |
paper tape punch | เครื่องเจาะแถบกระดาษเครื่องเจาะเทปกระดาษหมายถึง เครื่องเจาะแถบกระดาษให้เป็นรู เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เครื่องเจาะนี้จะต้องได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความเร็วในการเจาะประมาณ 15 - 150 แถวต่อวินาที ดู paper tape ประกอบ |
pararell processing | การประมวลผลแบบขนานหมายถึง การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลได้มากกว่าสองอย่างในเวลาเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้ คอมพิวเตอร์จะต้องเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ไม่ใช่พีซีหรือแมคอินทอช เพราะจะต้องมีตัวประมวลผลเป็นพัน ๆ ตัว (ในขณะที่ไมโครคอมพิวเตอร์มีเพียงตัวเดียว) จึงจะสามารถทำได้ การประมวลผลขนาดนี้ มักใช้กับงานประเภทปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) |
pdl | (พีดีแอล) 1. ย่อมาจาก page description language เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง เช่นเดียวกับโพสต์คริปต์ (postcript) ซึ่งจะทำการประมวลผลในหน่วยประมวลผลของเครื่องพิมพ์เอง ในพีดีแอลนั้น จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดหน้า การคำนวณภาพกราฟิก แม้จะมีความยาวมาก แต่ก็จะทำงานได้เร็วกว่า คำสั่งที่ส่งไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีดีแอลนั้น จะใช้ได้กับเครื่องพิมพ์ทุกยี่ห้อที่สามารถเข้าใจภาษานี้ ปัจจุบันแมคอินทอชใช้พีดีแอล ที่ชื่อ "postcript" ส่วนพีซีใช้พีดีแอลที่ชื่อ "true type" (เทียบเคียงได้กับ postcript) 2. ย่อมาจาก personal digital assistant (เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอล) หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นำติดตัวไปไหนมาไหนได้ ผู้ใช้สามารถจดบันทึกข้อมูลลงไปด้วยปากกาพิเศษ เช่น แบบสินค้า แผนที่เส้นทางไปจุดนัดพบ รวมทั้งข้อมูล ต่าง ๆ รวมทั้งนัดหมายประจำวัน ฯ |
pipeline | การทำงานแบบสายท่อหมายถึง วิธีการเชื่อมโยงสองโปรแกรมหรือกว่านั้นเข้าด้วยกัน โดยกำหนดให้ผลที่เกิดจากการประมวลผลในโปรแกรมแรก เป็นตัวกำหนดเรียกโปรแกรมที่สอง (หมายความว่า โปรแกรมที่สองจะเป็นโปรแกรมใด ขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรมแรก) การประมวลผลในโปรแกรมที่สองก็จะเรียกโปรแกรมต่อไป วิธีการนี้ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ ดอส (DOS) |
preprocssor | ตัวประมวลผลก่อนเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ให้จัดการเตรียมข้อมูลไว้สำหรับการประมวลผลขั้นต่อไป เป็นต้นว่า จัดรูปแบบไว้ก่อน หรือคำนวณไว้ให้ขั้นตอนหนึ่งก่อน เป็นต้น |
priority processing | การประมวลผลตามลำดับความสำคัญหมายถึงการประมวลผลไปตามระดับความสำคัญของโปรแกรม (ที่มีการกำหนดไว้ก่อนแล้ว) |
query processing | การประมวลผลข้อคำถามหมายถึง การประมวลผลด้วยภาษาสอบถาม (query language) ดู query language ประกอบ |