กวี | (กะวี) น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความนึกคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความเป็นจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งโดยฉับพลันทันที. |
บังคับ | กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. |
บังคับครุ | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน. |
บังคับโท | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท. |
บังคับลหุ | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ละ ติ ลุ. |
บังคับสัมผัส | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำคล้องจองกัน มีหลายชนิด คือ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสอักษร. |
บังคับเอก | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้. |
บุคคลวัต | (บุกคนละ-) น. กลวิธีการประพันธ์ที่สมมุติสิ่งไม่มีชีวิต ความคิด นามธรรม หรือสัตว์ให้มีสติปัญญา อารมณ์ หรือกิริยาอาการเยี่ยงมนุษย์. |
ลีลา | การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. |
เล่นคำ | ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน (ลอ). |
วรรณศิลป์ | น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์ |
ศิลปศาสตร์ | ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์. |
อลังการศาสตร์ | น. วิชาว่าด้วยวิธีการประพันธ์ที่จะทำให้เกิดอรรถรสและความประทับใจ อำนวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีมาก. |
authorisation | (ออเธอริเ''เชิน) n. การประพันธ์, การอนุญาตหรืออำนาจที่ได้มอบหมาย (sanction, approval) |
authorization | (ออเธอริเ''เชิน) n. การประพันธ์, การอนุญาตหรืออำนาจที่ได้มอบหมาย (sanction, approval) |
composition | (คอมพะซิซ'เชิน) n. การประกอบเป็นส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด, ผลิตผล, ส่วนประกอบ, องค์ประกอบ, ภาพประกอบ, ของผสม, การประพันธ์, การแต่งเพลง, การเกิดเป็นสารประกอบ, การตกลงกัน, การประนีประนอม, ข้อตกลง, การจัดเรียงตัวพิมพ์, คุณสมบัติ, อุปนิสัย |
metrics | (เม'ทริคซ) n. ศิลปะการประพันธ์โคลง กลอน ฉันท์ กาพย์ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวัด ชั่ง และตวง |
penmanship | (เพน'เมินชิพ) n.ศิลปะในการเขียนหรือคัดตัวหนังสือ, ลายมือ, การประพันธ์, Syn. handwriting, writing, longhand |
poetry | (โพ'อิทรี) n. การประพันธ์บทกวี, กวีนิพนธ์ |
authorship | (n) อาชีพการประพันธ์ |
composition | (n) การแต่ง, การประพันธ์, องค์ประกอบ |
letters | (n) อักษรศาสตร์, วรรณคดี, การประพันธ์ |
literary | (adj) ทางวรรณคดี, เกี่ยวกับการประพันธ์, ในเชิงอักษรศาสตร์ |
literature | (n) วรรณกรรม, วรรณคดี, การประพันธ์, อักษรศาสตร์ |
pen | (n) ปากกา, อู่, เล้า, คอกสัตว์, ปลายปากกา, ลีลาการประพันธ์ |