57 Results for *การปฏิบัติงาน*
หรือค้นหา: การปฏิบัติงาน, -การปฏิบัติงาน-

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
การก่อวินาศกรรมน. การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ.
เครือข่ายน. ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายวิทยุชุมชน, กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายนักวิจัย.
จดหมายเหตุน. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
ประเมินผลก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีของบริษัท
ผู้ตรวจสอบภายในน. เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการเป็นการภายในขององค์กร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงาน การใช้จ่าย การปฏิบัติตามคำสั่ง.
เรือลาดตระเวนน. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖, ๐๐๐-๒๐, ๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่าเรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทางอากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
performance appraisalการประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
rating, serviceการประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
service ratingการประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
appraisal, performanceการประเมินผลการปฏิบัติงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
grapevine๑. สายสนกลใน (ในการปฏิบัติงาน)๒. การส่งข่าวโดยวิธีลับ, การซุบซิบ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Company Manพนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ, พนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทสำหรับดูแลการปฏิบัติงานทุกอย่างที่แท่นเจาะตั้งแต่การวางแผนการเจาะ สั่งอุปกรณ์การเจาะ และทำหน้าที่ตัดสินใจในระหว่างปฏิบัติการเจาะหลุม [ปิโตรเลี่ยม]
Company Representativeพนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ, พนักงานของบริษัทผู้ดำเนินการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทสำหรับดูแลการปฏิบัติงานทุกอย่างที่แท่นเจาะ ตั้งแต่การวางแผนการเจาะ สั่งอุปกรณ์การเจาะ และทำหน้าที่ตัดสินใจในระหว่างปฏิบัติการเจาะหลุม [ปิโตรเลี่ยม]
Down Timeระยะเวลาที่การปฏิบัติงานในทะเล, ระยะเวลาที่การปฏิบัติงานในทะเล, Example: ระยะเวลาที่การปฏิบัติงานในทะเลไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องมาจากสภาพอากาศผิดปรกติหรือจากสาเหตุอื่นๆ [ปิโตรเลี่ยม]
Waste packageหีบห่อกากกัมมันตรังสี, ภาชนะที่มีกากกัมมันตรังสีในรูปแบบต่างๆ หลังการปรับสภาพบรรจุอยู่ รวมทั้งวัสดุดูดซับ และ/หรือ วัสดุบุผนังภาชนะ ซึ่งต้องจัดเตรียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบัติงาน การเก็บรักษา การขนส่ง และการขจัดกากกัมมันตรังสี เช่น ถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ที่มีกากแก้วกัมมันตรังสีหลังจากปรับสภาพแล้วบรรจุอยู่ [นิวเคลียร์]
Task related monitoringการเฝ้าสังเกตตามภารกิจ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนสำหรับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ [นิวเคลียร์]
Routine monitoringการเฝ้าสังเกตประจำ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อแสดงว่า สภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งระดับของปริมาณรังสีรายบุคคล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การเฝ้าสังเกตประจำ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือการเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ, Example: [นิวเคลียร์]
Radiation workerผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์]
Public exposureการรับรังสีของบุคคลทั่วไป, การได้รับรังสีของบุคคลทั่วไปจากต้นกำเนิดรังสี หรือจากการดำเนินกิจการทางรังสีซึ่งได้รับอนุญาต หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการได้รับรังสีจากการปฏิบัติงาน จากการรักษาทางการแพทย์ และจากต้นกำเนิดรังสีในธรรมชาติ (ดู occupational exposure และ medical exposure ประกอบ) [นิวเคลียร์]
Internal radiationรังสีในร่างกาย, รังสีจากต้นกำเนิดรังสีใดๆ ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งที่ร่างกายได้รับจาก น้ำ อาหาร อากาศ การบำบัดรักษาทางการแพทย์ การปฏิบัติงานทางรังสี และจากอุบัติเหตุทางรังสี [นิวเคลียร์]
Internal exposureรังสีในร่างกาย, รังสีจากต้นกำเนิดรังสีใดๆ ที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งที่ร่างกายได้รับจาก น้ำ อาหาร อากาศ การบำบัดรักษาทางการแพทย์ การปฏิบัติงานทางรังสี และจากอุบัติเหตุทางรังสี [นิวเคลียร์]
Compliance unitหน่วยงานดูแลการปฏิบัติงานของสมาชิก, Example: ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนาคาร ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จัดตั้ง Compliance Unit ขึ้นในบริษัท เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือจรรยาบรรณในทางวิชาชีพ รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า หลักการนี้นับเป็นแนวทางในการให้สมาชิกได้มีการกำกับดูแลตนเอง [ตลาดทุน]
Commission on Human Rightsคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต]
Consular Fees and Chargesค่าธรรมเนียมและค่าภาระทางกงสุล ตามข้อ 39 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ได้กำหนดไว้ว่า1. สถานที่ทำการทางกงสุล อาจเรียกเก็บในอาณาเขตของรัฐผู้รับ สำหรับการปฏิบัติงานทางกงสุลซึ่งค่าธรรมเนียม ค่าภาระตามที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง2. จำนวนเงินที่เก็บได้ในรูปค่าธรรมเนียมและค่าภาระตามที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ใบรับสำหรับค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระเช่นว่านั้น จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงในรัฐผู้รับ [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Honorary Consulกงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต]
International Finance Corporationคือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต]
Specialised Agencyทบวงการชำนัญพิเศษ (ในกรอบสหประชาชาติ) เป็นองค์การปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ได้รับการจัดตั้งโดยความตกลงระหว่างประเทศ และมีความสัมพันธ์กับสหประชาชาติตามความตกลงพิเศษ เช่น องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) [การทูต]
Supervisory Control and Data Acquisitionระบบ SCADA เป็นระบบตรวจสอบและควบคุมอย่างต่อเนื่องผ่านการสื่อสารดาวเทียม ซึ่งใช้ในการปฏิบัติงานส่งก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตั้งแต่แท่นผลิตในอ่าวไทยจนถึงลูกค้า ผู้ใช้ก๊าซฯ [ปิโตรเลี่ยม]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
การปฏิบัติงาน[kān patibatngān] (n, exp) EN: performance ; action
การประเมินผลการปฏิบัติงาน[kān pramoēnphon kān patibat ngān] (n, exp) EN: performance appraisal
คู่มือการปฏิบัติงาน[khūmeū kān patibat ngān] (n, exp) EN: work manual
กระบวนการปฏิบัติงานมาตรฐาน[krabūankān patibat ngān māttrathān] (n, exp) EN: standard operating procedure (SOP)
ผลการปฏิบัติงาน[phon kān patibatngān] (n, exp) EN: performance
ประเมินผลการปฏิบัติงาน[pramoēn phon kān patibatngān] (n, exp) EN: assess the performance ; performance appraisal

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
agency(n) หน้าที่, See also: การปฏิบัติงาน
purview(n) ขอบเขต (อำนาจ, การปฏิบัติงาน), Syn. foreground, jurisdiction

Hope Dictionary
agency(เอ'เจนซี) n. หน่วยงานบริการ, สำ-นักงานของตัวแทน, บริษัทตัวแทน, หน่วยงานราชการ, หน้าที่หรือการปฏิบัติงานของตัวแทน, กำลัง, พลัง, Syn. organization, office, means
entry pointเลขที่อยู่แรกเข้าจุดแรกเข้าหมายถึง จุดเริ่มต้นของคำสั่งแรกในชุดคำสั่ง (program) หรือชุดคำสั่งประจำ (routine) การปฏิบัติงานจะเริ่มต้น ณ จุดนี้
flowchart symbolสัญลักษณ์ผังงานหมายถึงรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แทนการปฏิบัติงานของข้อมูล และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (flowchart) ดู flowchart ประกอบ
function(ฟังคฺ'เชิน) หน้าที่, การปฏิบัติงาน, ภาระกิจ, งาน, พิธี, บทบาท, ประสิทธิภาพ, การชุมนุมใหญ่, (คณิตศาสตร์) จำนวนที่ขึ้นอยู่กับจำนวนอื่น, ฟังค์ชัน. vi. ปฏิบัติหน้าที่, กระทำ, ใช้ตำแหน่งหน้าที่, Syn. perform, work, do
ide(ไอดีอี) ย่อมาจาก integrated drive electronics ซึ่งก็คือตัวประสานอีกตัวหนึ่งที่ใช้ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีมีหลายรูปแบบ เช่น SCSI, ESDI และ ST 506
inactivate(อินแอค' ทะเวท) vt. ทำให้เฉื่อยชา, ทำให้ขี้เกียจ, หยุดยั้งการปฏิบัติงานของ., See also: inactivation n.
machine(มะชีน') n. เครื่องจักร, เครื่อง, จักร, อุปกรณ์, ระบบที่ซับซ้อน, ระบบการทำงาน, การปฏิบัติงาน, กิจกรรมของพรรคหรือองค์การ. vt. กระทำด้วยเครื่อง, เตรียมด้วยเครื่อง.
master-slave arrangementการจัดแบบ "นาย-บ่าว"หมายถึง การจัดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในลักษณะที่เรียกว่า "นาย-บ่าว" กล่าวคือให้อุปกรณ์ตัวหนึ่งเป็นนาย ควบคุมการปฏิบัติงานของอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบ่าว
operating systemระบบปฏิบัติการใช้ตัวย่อว่า OS หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เปรียบเสมือนเป็นแม่บ้าน ที่คอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานประสานกัน ระบบปฏิบัติการของโมโครคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน (disk operating systemหรือที่ใช้ตัวย่อว่า DOS) ที่มีชื่อโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ก็คือ MS DOS (ใช้กับพีซี) และ System 7 (ใช้กับแมคอินทอช) หลังจากดอสแล้ว ก็มานิยมใช้ระบบวินโดว์แทน
os(โอเอส) ย่อมาจาก operating system (ระบบปฏิบัติการ) หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เปรียบเสมือนเป็นแม่บ้าน ที่คอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานประสานกัน ระบบปฏิบัติการของโมโครคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน (disk operating systemหรือที่ใช้ตัวย่อว่า DOS) ที่มีชื่อโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ก็คือ MS DOS (ใช้กับพีซี) และ System 8 (ใช้กับแมคอินทอช) หลังจากดอสแล้ว ก็มานิยมใช้ระบบวินโดว์ (Windows) แทน ระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น ขณะนี้ ในขณะที่แมคใช้ System 8 หรือ 8.5 พีซีกำลังนิยมใช้ วินโดว์ 95 และ98
printoutหมายถึงผลที่ได้จากการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งที่สั่งให้พิมพ์ ลงในกระดาษหรือวัสดุอื่น
privileged instructionคำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode)
purview(เพอ'วิว) n. ขอบเขต (อำนาจ, การปฏิบัติงาน) , บทบัญญัติ, บทบัญญัติของกฎหมาย, ตัวบทกฎหมาย, Syn. scope, overview
real modeภาวะจริงหมายถึง แบบวิธีการปฏิบัติงานของไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) 80286 ขึ้นไป ที่สามารถทำการได้เหมือนกับรุ่น 8088 ของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ
rebootปลุกเครื่องอีกครั้งหมายถึง การเริ่มเครื่องใหม่อีกครั้งหนึ่ง (การเปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเริ่มการปฏิบัติงานครั้งแรกนั้น เรียกว่า "boot") ทำได้ 2 วิธี คือปิดแล้วเปิดสวิตซ์ใหม่ เรียกว่า "cold boot" ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า "warm boot" คือการกดแป้น Ctrl, Alt, Del พร้อม ๆ กัน หรือกดปุ่ม Reset ที่ตัวเครื่อง (เฉพาะเครี่องพีซี) มักใช้เมื่อเครี่องหยุดชะงัก (hang) การทำเช่นนี้จะลบล้างทุกอย่างที่สร้างไว้แล้วให้หมดไปด้วย
warm bootหมายถึง การสั่งให้เครื่องเริ่มปฏิบัติการใหม่โดยที่ไม่ปิดสวิตช์ดับไฟที่เครื่องก่อน ในระบบดอส มีวิธีทำ คือ กดแป้น CTRL+ALT+DEL พร้อมกันทั้ง 3 แป้น วิธีการทำเช่นนี้ มักจะใช้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดบางประการ จนทำให้เครื่องค้างหรือหยุดการปฏิบัติงานไปเลย (hang) จึงต้องเริ่มเครื่องใหม่ การกดแป้นสามแป้นนี้ จะสามารถเริ่มต้นเครื่องใหม่ได้เร็วกว่าการปิดสวิตช์แล้วเปิดใหม่ ซึ่งเรียกว่า "cold boot " หรือ "cold start " ปัจจุบันเครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะมีปุ่ม Reset ไว้ให้ด้วย จะกดที่ปุ่มนี้ก็ได้ ถือเป็นการ "warm boot" เช่นเดียวกัน มีความหมายเหมือน warm startดู cold boot เปรียบเทียบ

Nontri Dictionary
working(n) การปฏิบัติงาน, การใช้แรงงาน, ชุดทำงาน

Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ゴッグル[ごっぐる, gogguru] (n) แว่นตาแบบปิดลงมาด้านข้างใส่ในการปฏิบัติงานสำหรับป้องกันเศษผงกระเด็นเข้าตา
勤務[きんむ, kinmu] 1.การปฏิบัติงาน 2.การปฏิบัติหน้าที่

Time: 0.04 seconds, cache age: 0.923 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/