Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] |
Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] |
Common Ground, Obtaining | การทำความตกลงร่วมกัน [การแพทย์] |