การคลัง | น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการเงินของบุคคล เช่น บริษัท |
การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. |
กรม ๓ | แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็นกระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). |
กรมพระคลัง | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก |
การ ๑ | น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, มักใช้เข้าคู่กับคำ งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทำกริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน. |
เงินทดรองราชการ | น. เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่าย |
ตั๋วเงินคลัง | น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการกู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. |
ธุรกิจหลักทรัพย์ | น. การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรียกโดยย่อว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. |
บริษัทหลักทรัพย์ | น. บริษัทหรือสถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต. |
parity | ๑. ภาวะเสมอกัน (ก. ทั่วไป)๒. ค่าเสมอภาค (ก. การคลัง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public finance | การคลังสาธารณะ, การคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public finance | การคลังสาธารณะ, การคลัง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
administration, financial | การบริหารการคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, finance | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
year, financial | ปีการเงิน, ปีการคลัง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
circulation | ๑. การจราจร (ก. ปกครอง)๒. การปริวรรต (เงินตรา) (ก. การคลัง)๓. การทำให้แพร่หลาย (ซึ่งสิ่งพิมพ์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
civil list | เงินปีพระมหากษัตริย์, ค่าใช้จ่ายในพระองค์พระมหากษัตริย์ (ก. การคลัง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Chancellor of the Exchequer | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Chancellor of the Exchequer | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
deficit financing | การคลังแบบขาดดุล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
fiscal | เกี่ยวกับการเงินการคลัง, เกี่ยวกับภาษีอากร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
finance bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
finance, public | การคลังสาธารณะ, การคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
financial | ทางการคลัง, ทางการเงิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
financial administration | การบริหารการคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
financial year | ปีการเงิน, ปีการคลัง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
financing, deficit | การคลังแบบขาดดุล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Exchequer | กระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Exchequer | กระทรวงการคลัง, ศาลคดีภาษีอากร (อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Exchequer, Chancellor of the | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Treasury | กระทรวงการคลัง (อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
warehousing | การเก็บของในคลังสินค้า, กิจการคลังสินค้า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Fiscal gap | ช่องว่างทางการคลัง [เศรษฐศาสตร์] |
Inter-governmental fiscal relations | ความสัมพันธ์ด้านการคลังระหว่างหน่วยงานของรัฐ [เศรษฐศาสตร์] |
Metropolitan finance | การคลังของมหานคร [เศรษฐศาสตร์] |
Data warehousing | การคลังข้อมูล [TU Subject Heading] |
Finance, Public | การคลังสาธารณะ [TU Subject Heading] |
Fiscal policy | นโยบายการคลัง [TU Subject Heading] |
Intergovernmental fiscal relations | ความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างรัฐ [TU Subject Heading] |
Local finance | การคลังท้องถิ่น [TU Subject Heading] |
Municipal finance | การคลังเทศบาล [TU Subject Heading] |
Fiscal Policy | นโยบายการคลัง, Example: แสดงโดยงบประมาณรายรับ-รายจ่ายของรัฐบาล อันได้แก่ การตัดสินใจเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ หรือการลดลงในการเก็บภาษี เพื่อกระตุ้นให้เกิด การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์รวม ถือเป็นนโยบายการคลังแบบหลวม ส่วนการเพิ่มการเก็บภาษีหรือลดการใช้จ่ายภาครัฐ ถือเป็นนโยบายการคลังแบบเคร่งครัด [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Finance and Central Bank Deputies Meeting | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Finance and Central Bank Deputies + 3 (China, Japan and Republic of Korea) | การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียนกับผู้แทนจาก จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี [การทูต] |
ASEAN Finance Ministers Meeting | การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน จัดขึ้นปีละครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้มีการจัดการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับญี่ปุ่น (AFMM + Japan) เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและความช่วยเหลือที่ ญี่ปุ่นให้แก่อาเซียน อาทิ แผนมิยาซาวา ควบคู่กันไปด้วย [การทูต] |
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] |
Buakaew | ตราบัวแก้ว ตราบัวแก้วซึ่งเป็นรูปเทพยดานั่งในดอกบัว ถือดอกบัวข้างขวา ถือวชิระข้างซ้ายนั้น เป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งใช้มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบัวแก้วเป็นตราซึ่งเจ้าพระยาพระคลังใช้ประทับในเอกสารของกรมท่า และที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ [การทูต] |
Coordinating Committee on the Implementation of the CEPT Scheme for AFTA | คณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานตามพันธกรณีภายใต้ CEPT ของ AFTA เป็นกรอบการหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการคลัง เพื่อ ติดตามและประสานงานการดำเนินการตามพันธกรณีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากัน ของเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งปกติจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง [การทูต] |
Council of Economic and Finance Ministers | คณะมนตรียุโรปด้านเศรษฐกิจและการคลัง " เป็นองค์กรในสหภาพยุโรปประกอบด้วยรัฐมนตรีเศรษฐกิจและ การคลังจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป " [การทูต] |
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
Government Fiscal Management Information System | Government Fiscal Management Information System, ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
chancellor of the exchequ | n. รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ |
chest | (เชสทฺ) n. หีบ, กล่องขนาดใหญ่, ลังขนาดใหญ่, ทรวงอก, หน้าอก, เต้านม, คลัง, เงินทุน, เงินแผ่นดิน, กรมคลัง, กระทรวงการคลัง, สิ่งที่เก็บอยู่ในหีบ |
exchequer | (เอคซฺ'เชคเคอะ) n. กระทรวงการคลัง, คลัง, เงินทุน |
finance | (ไฟ'แนนซฺ) n. การเงิน, การคลัง, แหล่งเงิน, เงินทุน. vt., vi. จัดเงินทุนให้แก่, ให้เครดิตแก่, ชำระเงิน. -financial adj., Syn. fund |
financier | (ฟินเนินเซียร์') n. ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเงิน, นักการคลัง. vt. ให้เงินทุน, จัดหาเงินทุนให้. vi. ทำหน้าที่เป็นนักการเงิน |
treasurer | (เทรช'เ?อะเรอะ) n. ผู้รักษาทรัพย์สมบัติ, เหรัญญิก -Phr. (Lord High Treasurer เสนาบดีฝ่ายการคลัง, ขุนคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง), See also: treasurership n. |
treasury note | n. ธนบัตรกระทรวงการคลัง (มักเป็นชนิดระยะยาว) |
financiate | [ไอเดินเชิท] (vt) สร้างการเงิน, สร้างการคลัง, สร้างกองทุน |
financiation | [ไฟเนินเชอะเชิน] (n) การสร้างการเงิน, การสร้างการคลัง, การสร้างกองทุน |
financiative | [ไฟเนินเชอะทิฟว] (adj) ซึ่งสร้างการเงิน, ซึ่งสร้างกองทุน, ซึ่งสร้างการคลัง |
financiature | [ไฟเนินเชอะเชอะ] (n) วัตถุการเงิน, วัตถุการคลัง |
financiature | [ไฟเนินเชอะเชอะ] (n) วัตถุการเงิน, วัตถุการคลัง |
finantist | [ไฟเนินทิสทฺ] (n) บุคคลในระบบการเงิน, บุคคลในระบบการคลัง, บุคคลในระบบกอนทุน |
fiscal cliff | หน้าผาทางการคลัง (ใช้เรียกสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงปลายปี 2012 เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีเหตุการณ์สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญ โดยเหตุการณ์ที่สำคัญ 2 เหตุการณ์ได้แก่ การสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีหลายๆมาตรการ และการเริ่มต้นของมาตรการการปรับลดงบประมาณของภาครัฐฯ) |