กามคุณ | น. สิ่งที่น่าปรารถนา มี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส |
กามคุณ | ความปรารถนาในเมถุน. |
เบญจกามคุณ | น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. |
กามฉันท์ | น. ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕. |
กามตัณหา | น. ความอยากในกามคุณทั้ง ๕. |
กามสมังคี | ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกามสมังคีศรีสุขุมสุข (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
กามารมณ์ | น. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. |
กำหนัด | (-หฺนัด) น. ความใคร่ในกามคุณ. |
กำหนัด | (-หฺนัด) ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกำหนัดใน (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ง่าน ๑ | ก. ดิ้นรนกระวนกระวาย (มักใช้แก่ของเสพติดและกามคุณ). |
เงี่ยน | ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกำลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). |
นิวรณ์ | น. สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ ประการ คือ ความพอใจในกามคุณ ๑ ความพยาบาท ๑ ความหดหู่ซึมเซา ๑ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. |
มักมาก | ก. โลภมาก, ปรารถนามาก (ใช้เฉพาะในทางกามคุณ). |
ราค-, ราคะ | น. ความกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. |
ราคจริต | (ราคะจะหฺริด) น. ความประพฤติที่หนักไปทางความใคร่ในกามคุณ เช่น เขามีราคจริตมากจึงก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ, ความประพฤติที่มีพื้นนิสัยหนักไปในทางรักสวยรักงาม, เป็นจริต ๑ ในจริต ๖. (ป.) (ดู จริต). |